ทำ IF ผิดวิธี ลดน้ำหนักไม่ได้ แถมเสี่ยงโรค
Intermittent Fasting หรือ IF เป็นวิธีลดน้ำหนักที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ เพราะเป็นการเริ่มต้นควบคุมอาหารอย่างง่ายๆ โดยการควบคุมแคลอรีและจำกัดเวลาในการรับประทานอาหาร โดยมีหลากหลายวิธีในการปฏิบัติ แต่วิธีที่ได้รับความนิยมก็คือจำกัดเวลาทานอาหาร 8 ชั่วโมง และงดมื้ออาหาร 16 ชั่วโมง
ยกตัวอย่าง ทำ IF ง่ายๆ คือ เราสามารถ รับประทานอาหารได้เวลา 6.00-14.00 น. โดยหลังจาก 14.00 น. เป็นช่วงงดอาหาร ดื่มได้เพียงแต่น้ำเปล่า หรือกาแฟ ชา ที่ไม่ใส่น้ำตาล (งดเว้นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในช่วงงดมื้ออาหาร เพราะจะกระตุ้นให้เกิดความหิวและอยากน้ำตาลได้)
- ลดน้ำหนักให้ได้ผลด้วย Intermittent Fasting (IF)
- ข้อดีของ IF หรือ “งดมื้ออาหาร” ที่มากกว่าแค่ “ลดน้ำหนัก”
แต่วิธี IF อาจทำให้หลายคนเจ็บป่วยจนต้องร้องหาหมอได้ หากทำไม่ถูกวิธี
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ หากทำ IF ไม่ถูกวิธี
- อดอาหารมากเกินไปจนเสี่ยงขาดสารอาหาร
- รับประทานอาหารมากเกินไป เพราะต้องรีบกินก่อนถึงช่วงเวลางดมื้ออาหาร
- เลือกเวลาในการกิน และงดการกินผิดเวลา อาจเสี่ยงโรคที่เกี่ยวกับลำไส้
- นอนดึก ในคนกลุ่มที่เข้านอนดึกมีความเสี่ยงในความอ้วนง่ายอยู่แล้ว เนื่องจากระบบฮอร์โมนที่ซ่อมแซมร่างกาย และระบบความอิ่มในร่างกายจะรวนทำให้คนนอนดึกไม่สามารถงดมื้ออาหารได้ต้องกินอาหารหวาน และนำไปสู่ความอ้วน
- ไม่ออกกำลังกาย เนื่องจากในการลดความอ้วนไม่ใช่แค่การควบคุมแคลอรี แต่ยังรวมถึงการสร้างระบบการเผาผลาญที่ถาวรขึ้นด้วย ในส่วนนี้คือการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อไม่ให้เกิดอาการโยโย่ขึ้นภายหลัง
- ยังติดหวาน หากทำ IF แล้วยังติดกินอาหารหรือขนมหวานๆ อยู่ อาจเสี่ยงติดหวาน ซึ่งเมื่อทำการงดมื้ออาหารจะทำให้เกิดอาการโหยน้ำตาล และอาจทำให้กินของหวานๆ มากกว่าเดิม
ประโยชน์ของ IF
การทำ IF มีประโยชน์ให้กับร่างกายในหลายๆ ด้านนอกจากการลดน้ำหนัก ดังนี้
- อนุมูลอิสระในร่างกายลดลง
- การอักเสบซ่อนเร้นในร่างกายลดลง
- ชะลอวัย อ่อนเยาว์ขึ้น เป็นผลมาจากอนุมูลอิสระ และการอักเสบในร่างกายลดลง
- ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีมากยิ่งขึ้น (ถ้าร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาจเสี่ยงโรคเบาหวาน)
- ช่วยทำให้ยีนส์ที่ดีบางตัวแสดงออกได้ดีขึ้น โดยเฉพาะสารที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง ทำให้เราฉลาดขึ้น ความจำดีขึ้น
- ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
ทำ IF อย่างไรให้ถูกวิธี
- ตั้งระยะเวลาในการกิน และงดมื้ออาหาร ให้เป็นไปตามนาฬิกาชีวิต กล่าวคือ หากเลือกสูตรกิน 8 ชม. งดมื้ออาหาร 16 ชม. ไม่ควรเลือกช่วงเวลากินอาหารตอนดึกๆ ควรเลือกกินอาหาร 8 ชม. ในช่วงเวลาที่ใช้ชีวิตปกติ เช่น ตอนเช้า บ่าย เย็น
- ในช่วงที่กินอาหารได้ ควรกินอาหารให้เพียงพอ แต่เน้นอาหารคลีน โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ผักผลไม้ต่างๆ ให้สารอาหารครบถ้วน รวมถึงคาร์โบไฮเดรตที่ยังต้องกินอยู่ แต่เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต แทนคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว และลดของหวานต่างๆ
- ไม่ลดปริมาณอาหารลงจนมากเกินไปจนกลายเป็นการอดอาหารทั้งตอนที่กินอาหารได้ และช่วงที่ตั้งใจงดมื้ออาหาร
- ช่วงงดมื้ออาหาร ยังสามารถรับประทานอาหารที่ไม่ให้พลังงาน หรือให้พลังงานต่ำมากๆ ได้ เช่น น้ำเปล่า หรือกาแฟดำ แต่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม วันละ 30 นาที - 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.