5 สัญญาณอาการเตียงดูด เสี่ยงซึมเศร้า

เคยไหมคะ? อยากนอนนิ่งๆ เป็นผักอยู่บนเตียงนุ่มๆ ทั้งวัน ไม่อยากทำอะไรที่ไหนกับใครทั้งสิ้น ใครที่มีอาการคล้ายๆ แบบนี้บ่อยๆ ระวังให้ดี เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพ โดยที่คุณไม่รู้ตัว

ว่าแต่... อาการอยากนอน ใครๆ ก็อาจจะเป็นได้ ทำงานหนักก็ต้องอยากพักผ่อน แต่ติดเตียงขนาดไหนถึงจะเรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤต เราลองมาวัดกันค่ะ

 

อยากนอนทั้งวัน

อาการอยากนอนทั้งวัน หรือ Colinomania (อีกชื่อหนึ่งคือ Dysania) เป็นอาการของคนที่ชอบนอนเป็รชีวิตจิตใจ เสพติดการนอนเฉยๆ นานๆ หรือที่หลายคนเรียกว่าโดน "เตียงดูด" จนเกิดเป็นอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง 

 

5 สัญญาณอาการเตียงดูด

  1. ทุกครั้งที่เหนื่อยๆ ไม่ว่าจะเรียนหนัก ทำงานหนัก หรือเหนื่อยเครียดจากเรื่องอื่นๆ มักนึกถึง “เตียง” เป็นอันดับแรก

  2. เห็นเตียงเมื่อไร ง่วงเมื่อนั้น แม้ว่าจะไม่ใช่เวลานอนปกติก็ตาม

  3. รู้สึกมีความสุขสุดๆ ที่ได้นอนบนเตียง

  4. ไม่ว่าจะกำลังทำอะไรที่ไหนอย่างไรกับใคร ก็นึกถึงเตียงอยู่ตลอดเวลา อยากให้มีเตียงในทุกๆ ที่ที่ไป

  5. สามารถทำทุกกิจกรรมได้เมื่ออยู่บนเตียง นอนเล่นมือถือ อ่านหนังสือ เปิดคอมทำงานหรือดูซีรี่ยส์ นอนดูทีวี กินข้าว ฯลฯ

 istockphoto


อันตรายจากอาการเตียงดูด

เห็นอย่างนี้แล้ว อย่าคิดว่าอาการเตียงดูด ติดเตียงนอนสุดๆ แบบนี้จะมีแต่ข้อดี ไม่มีข้อเสียเสมอไป เพราะอาการติดเตียงทำให้คุณไม่ได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ได้อย่างสะดวก ใช้พลังงานในแต่ละวันน้อย เสี่ยงอ้วน ขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ จนอาจทำให้เราเนือยๆ ขาดแรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ หากนานวันเข้าอาจตัดขาดจากสังคม จนเป็นโรคซึมเศร้า หรืออนู่ในสาวะเครียดโดยไม่รู้ตัว

 

3 เคล็ดลับขจัดอาการเตียงดูด

  1. ออกกำลังกาย

การลุกขึ้นมาออกกำลังกาย ทำให้ทั้งร่างกาย และจิตใตสดใสร่าเริง ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เรามีความสุข ร่างกายกระฉับกระเฉงว่องไว ปลุกพลังให้กับตัวคุณ ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี่กระเปร่า ไม่เนือยๆ ง่วงๆ อยากนอนตลอดเวลาเหมือนเคย

 

  1. เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

หากคุณเป็นคนติดเตียง มีความเป็นไปได้ว่าอาหารที่คุณทานอาจไม่ได้รับการปรุง หรือคัดสรรวัตถุดิบที่ดีพอ เพราะโดยส่วนใหญ่คนที่ติดเตยงจะหาอะไรทานง่ายๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงสารอาหาร หรือความอร่อยมากนัก นอกจากจะต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว การทานผลไม้ หรือน้ำผลไม้ปั่นเย็นๆ หวานๆ เปรี้ยวๆ ก็ช่วยเรียกความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้เหมือนกัน

 

  1. รักษาด้วยยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หากอาการเข้าขั้นวิกฤติ ไม่มีกระจิตกระใจจะทำอะไรโดยแท้จริง ควรต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี อาจต้องได้รับยา หรือทำจิตบำบัด โดยทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

 

ใครที่เริ่มมีสัญญาณเนือยๆ อยากนอนตลอดเวลา ก็ให้ลองหาเวลาออกกำลังกาย พบปะเพื่อนฝูง ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ไปเที่ยว กินข้าว ดูหนังบ้างในเวลาว่างวันหยุด อาจช่วยให้คุณสดชื่น กระปรี้กระเปร่า จนเลิกติดเตียงได้ในที่สุดค่ะ

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.