"คลัง" พร้อมให้ความร่วมมือ DSI สาวคดี "ดิไอคอน กรุ๊ป"
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยถึง กรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ระบุว่า อยู่ระหว่างรอความเห็นจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เพื่อพิจารณาการเอาผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกลประชาชน(แชร์ลูกโซ่) ผู้บริหารบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัดว่า ในส่วนของกระทรวงการคลังพร้อมให้ความร่วมมือกับ DSI อย่างเต็มที่เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน
DSI ขอความเห็นมายังกระทรวงคลัง เราก็พร้อมให้ความร่วมมือเต็มที่ ซึ่งการพิจารณาเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของสศค.เพราะเป็นผู้ถือกฎหมายต้องดำเนินการ
ด้านนายพรชัย ฐีระเวช. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ทาง DSI ได้ประสานมายังกระทรวงการคลังถึงการพิจารณาว่า มีลักษณะเข้าข่ายความผิดคดีฉ้อโกงหรือไม่ รวมถึงขอความร่วมมือทางกระทรวงการคลังให้ส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมอยู่ในคณะสอบสวนคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งทางกระทรวงการฯ ก็ต้องพิจารณาตามข้อมูลต่างๆ และต้องอยู่บนข้อเท็จจริง รวมถึงของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ซึ่งในส่วนนี้มีเงื่อนไขสำคัญพร้อมกันในการพิจารณาอยู่ 3 ประการ ประกอบด้วย
1.การโฆษณาชวนเชื่อเป็นจำนวนเท่าไร
2.การกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
3.ไม่ได้ประกอบอาชีพการซื้อขายจริง แต่นำเงินมาจากที่อื่นมาจ่ายให้กับผู้เสียหาย
ซึ่งความผิดกฎหมายฉ้อโกง หรือพิจารณาว่าเป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่นั้น ต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ประการ ซึ่งส่วนนี้ สศค.จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ ที่มีความเชียวชาญ น่าเชื่อถือ และมีประสบการณ์ในเรื่องตรวจสอบไปช่วยDSI ในการสอบสวนต่างๆ เราก็ยินดีที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อดูแลเรื่องนี้ให้กับรัฐบาล
สำหรับการเอาผิดแม่ข่ายระดับกลาง ไปจนถึงระดับร่างนั้น ซึ่งที่ผ่านมาค่อยข้างเอาผิดได้ยากนั้น ต้องยอมรับว่า เป็นการทำธุรกิจในปัจจุบัน มีรูปแบบใหม่ๆ มีความซ้ำซ้อนมากขึ้น ขณะที่ตัวพ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน นั้นออกใช้ตั้งแต่พ.ศ. 2527 จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาแก้ไขตัวบทกฎหมายกันใหม่ เพื่อให้ทันสมับ ครอบคุลม และสอดคล้องทันสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น
ในส่วนของการแก้ไขกฎหมายทางรมว.คลังก็ได้ให้นโยบายมาแล้วว่าให้ทบทวนเพื่อให้เป็นปัจจุบันและทันท่วงทีเพื่อดูแลผู้เสียหายได้สูงสุด ซึ่งอีกส่วนหนึ่งในทางกฎหมายก็ได้มีการพูดคุยกับทางกฤษฎีกา DSI สคบ. ว่าPain Point คืออะไร และตรงไหนที่จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงบ้าง โดยจะเสนอให้เป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการดูแลพี่น้องประชาชน ในความเห็นส่วนตัวมองว่า การออกเป็นพ.ร.ก.การกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงฯ ยังมีความเหมาะสมมากกว่าการออกเป็นพ.ร.บ. ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ทันท่วงที ส่วนการกำหนดบทลงโทษจะขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทบกับประชาชน ซึ่งการยกร่าง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฉบับใหม่นี้ กระทรวงจะเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดผลบังคับใช้ให้เร็วที่สุด
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.