เปิดไทม์ไลน์"เขากระโดง" สมบัติของแผ่นดินหรือที่เอกชน

15 สิงหาคม 2464   พระราชบัญญัติจัดวางทางรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464

27 กันยายน 2465 ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีการจัดทำแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟ ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กม.375-650

ปี 2542-2548 การรถไฟฯ ติดตามตรวจสอบ และดำเนินการขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินบริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

13 กุมภาพันธ์ 2552  "ชวรัตน์ ชาญวีรกุล" รมว.มหาดไทยขณะนั้นและ"อนุวัฒน์  เมธีวิบูลวุฒิ"อธิบดีกรมที่ดิน มีหนังสือตอบ รฟท.ว่า ที่ดินเขากระโดงไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์เป็นที่ดินการรถไฟ ที่สงวนหวงห้ามตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยไว้ 

 

16 กุมภาพันธ์ 2553 การรถไฟฯมีหนังสือเลขที่ 1/1021/2553 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน เพื่อขอยืนยันกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง 

10 มิถุนายน 2553 กรมที่ดินมีหนังสือที่ มท.1516.2(4)/17926 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2553 ถึงการรถไฟฯแจ้งว่า กรมที่ดินได้พิจารณาเป็นที่ยุติแล้ว จึงไม่อาจนำมาพิจารณาใหม่ได้ 

14 กันยายน 2554 ประธาน ป.ป.ช.มีหนังสื่อที่ ปช.0081/1085 ลงวันที่ 15 กันยายน 2554 ถึงผู้ว่าการรฟท.ให้ดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ

8 กุมภาพันธ์ 2555 การรถไฟฯได้ทำหนังสือ ลับ ที่ 1/665/2555 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 แจ้งให้กรมที่ดิน ออกคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ ตามมติ ป.ป.ช.

12 เมษายน 2555 กรมที่ดินได้มีหนังสือ ที่ มท 0516.2(3)/ 593 ลงวันที่ 12 เมษายน 2555 ถึงการรถไฟฯ แจ้งว่า การรถไฟฯไม่สามารถจัดส่งรูปแผนที่กำหนดแนวเขตทางรถไฟฯมาประกอบการพิจารณาได้ และพยานหลักฐานอื่นๆที่การรถไฟฯส่งมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ไม่อาจรับฟังได้ แต่เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้กรมที่ดินพิจารณาเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลง กรมที่ดินจะได้นำเรื่องส่งให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนโฉนดที่ดิน  

13 มีนาคม 2557  ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ พิพากษายกฟ้องราษฎร 35 ราย ฟ้องการรถไฟฯและกรมที่ดิน เพื่อขอออกโฉนดให้โจทก์ทั้ง 35 ราย รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไป และส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้การรถไฟฯ ทั้งให้ชำระค่าเสียหายกับการรถไฟฯเป็นรายเดือนจนกว่าจะรื้อถอนและขนย้ายออกไป
 

24 กันยายน 2558 ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ พิพากษายกฟ้องคดีราษฎร ฟ้องการรถไฟฯและกรมที่ดิน เพื่อขอออกโฉนดโดยอ้างว่า มี หนังสือรับรองขอทำประโยชน์ (น.ส.3ข.) ที่ซื้อมาจากนายช. โดยพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของการรถไฟฯ ให้โจทก์ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง พร้อมย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน และส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้การรถไฟฯ ทั้งให้ชำระค่าเสียหายกับการรถไฟฯเป็นรายเดือนจนกว่าจะรื้อถอนและขนย้ายออกไป

13 มีนาคม 2559 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีราษฎร 35 ราย เป็นโจทก์ ยืนตามศาลชั้นต้น ที่ดินเป็นของการรถไฟฯ ให้เพิกถอนสิ่งก่อสร้าง และขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน

25 กรกฎาคม 2559 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีราษฎรอ้าง น.ส.3 ข.ของนายช. ไปขอออกโฉนด โดยศาลพิพากษา ยืนตามศาลชั้นต้น ว่าที่ดินเป็นของการรถไฟฯ ให้เพิกถอนสิ่งก่อสร้าง และขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน

6 กุมภาพันธ์ 2560 ศาลฎีกาพิพากษาคดีราษฎร 35 ราย เป็นโจทก์ฟ้องเพื่อขอออกโฉนดว่าที่ดินเป็นของการรถไฟฯ ไม่สามารถออกโฉนดได้ ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และขนย้ายสิ่งของทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน

22 พฤศจิกายน 2561  ศาลฎีกาพิพากษาในคดีที่ราษฎร นำ น.ส.3 ข. ที่ซื้อจากนายช. ขอให้ออกโฉนด โดยพิพากษายืนที่ดินเป็นของการรถไฟฯ ไม่สามารถออกโฉนดได้ ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และขนย้ายสิ่งของทรัพย์สินกับบริวารออกจากที่ดิน

ต่อมา รฟท.ได้เข้าไปสำรวจที่ดินบริเวณแยกเขากระโดง และพบว่า ที่ดินบริเวณส่วนกิโลเมตรที่ 4+540 ถึงกิโลเมตรที่ 8+000 มีชาวบ้านเข้ามาปลูกที่อยู่อาศัย และบางส่วนได้จัดทำเป็นสนามฟุตบอล และสนามแข่งรถ รวมทั้งมีหน่วยงานของรัฐได้มีการขอเอกสารสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน โดยปัจจุบัน กรมที่ดิน มีการออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ในที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดงเต็มพื้นที่เป็นจำนวน 4,150 ไร่ 47 ตารางวา จากที่ดินทั้งหมด 5,083 ไร่ 80 ตารางวา

23 มิ.ย.2564 รฟท. ได้มีหนังสือถึงกรมที่ดิน และอธิบดีกรมที่ดิน โดยขอให้กรมที่ดินดำเนินการตรวจสอบที่ดินบริเวณพื้นที่ทางแยกเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ เนื่องจากพบว่ามีการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนที่ดินของ รฟท. และศาลยุติธรรมเองได้มีการวินิจฉัยรับรองว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท. ทั้งหมด แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ

เดือน ธ.ค.2564 รฟท. ได้ยื่นฟ้องกรมที่ดิน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และอธิบดีกรมที่ดิน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ต่อศาลปกครองกลาง กรณีไม่ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกทับที่ดินรถไฟฯ ‘เขากระโดง’

30 มี.ค. 2566 ‘ศาลปกครองกลาง’ สั่ง ‘อธิบดีกรมที่ดิน’ ตั้ง ‘คณะกรรมการสอบสวน’ ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน 772 แปลง ที่ออกทับที่ดินรถไฟ ‘เขากระโดง’ ภายใน 15 วัน

28 พค. 2566 นายชยาวุธ จันทร ‘อธิบดีกรมที่ดิน’ แจงศาลปกครองเซ็นคำสั่งตั้ง ‘คณะกรรมการสอบสวนฯ’ 2 ชุด เดินหน้าเพิกถอน โฉนด-เอกสารสิทธิ ที่ออกทับที่ดินรถไฟ แล้ว

ตุลาคม 2566 ทนายความของตระกูลชิดชอบ ยื่นข้อมูลคัดค้านการเพิกถอนโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวต่อคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดิน โดยยกข้อต่อสู้ว่า ข้อกล่าวอ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นความเท็จทั้งสิ้น และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นคำวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อนต่อเหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

22 ตุลาคม 2567 ‘คณะกรรมการสอบสวนฯ’ มีมติไม่เพิกถอนโฉนดที่ดิน ‘เขากระโดง’ 5,000 ไร่ เหตุ ‘รฟท.’ ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันเป็นที่ยุติว่า ที่ดินบริเวณแยกเขากระโดง เป็นของ ‘รฟท.’ ชี้หากเห็นว่ามีสิทธิ์ในที่ดินดีกว่า ก็ให้ไปพิสูจน์สิทธิ์ในศาลฯ

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.