"มาริษ"ชี้MOU44 ทำให้กลไลเจรจาใช้ประโยชน์ปิโตรเลียมเดินหน้า
นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การเจรจาอ้างสิทธิพื้นที่ในไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา จะยุติได้ต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้ง2ฝ่าย รัฐสภาของทั้ง2ประเทศ ต้องให้ความเห็นชอบ
ผ่านการเสนอจากคณะรัฐมนตรี เข้าสู่กระบวนการรัฐสภาว่า เห็นชอบกับการเจารจาหรือไม่ และข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะให้มีการเจรจาเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งได้ตามที่มีการกล่าวอ้างกัน
ส่วนการใช้ประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า ยังไม่สามารถกระทำได้จนกว่าการเจรจาดังกล่าวจะมีข้อยุติ ผลการเจรจาจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ของประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่ง MOU44 กำหนดให้จะต้องเจรจา 2 เรื่องทั้ง"เขตทางทะเล"และ"การพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน" ไปพร้อมกันไม่อาจแบ่งแยกได้ซึ่งหากการเจรจาสำเร็จ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดต้องเป็นประเทศชาติ และพี่น้องประชาชนคนไทย ที่จะมีเขตทางทะเลที่ชัดเจนกับประเทศเพื่อนบ้าน และได้ใช้พลังงานที่มีราคาถูกลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
นายมาริษ กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้มีการยกเลิก MOU44 เพราะถือเป็นการยอมรับเส้นอ้างสิทธิของกัมพูชา และทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนว่า MOU44 ไม่ได้เป็นการยอมรับเส้นอ้างสิทธิในไหล่ทวีปของกัมพูชา และไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดนเพราะเกาะกูดอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย 100 เปอร์เซ็นต์ และจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เพราะสาระสำคัญ ใน MOU44 เป็นเพียงการตกลงร่วมกัน “เพื่อที่จะเจรจา”โดยแผนผังแนบท้ายเป็นเพียง“ภาพประกอบของพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปของแต่ละประเทศ” ซึ่งเส้นอ้างสิทธิในข้อตกลงนี้ ไม่ใช่เส้นเขตทางทะเล ตามที่มีการเข้าใจผิดแต่อย่างใด และการคงไว้ซึ่ง MOU44 เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะข้อตกลงนี้ทำให้ ทั้งสองฝ่าย มีพันธกรณีที่จะต้องมาเจรจากันทั้งในเรื่อง"เขตทางทะเล"และ"พื้นที่พัฒนาร่วม"ไปพร้อม ๆ กัน
ส่วนกรณีที่รัฐบาลเมื่อปี 2552 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU44 โดยให้ไปศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รอบคอบก่อนนำเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า ในกระบวนการศึกษาข้อมูล กระทรวงการต่างประเทศได้ประชุมหารือ และรับฟังข้อคิดเห็นจากคณะที่ปรึกษากฎหมายต่างประเทศ ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง และด้านกฎหมาย จนได้ข้อสรุป เสนอเป็นมติคณะรัฐมนตรีในปี 2557 ว่า การคง MOU44 ไว้ เป็นผลดีมากกว่าเสีย และที่สำคัญการมีเขตทางทะเลที่ชัดเจน จะนำไปสู่การเจรจาการใช้ประโยชน์เหนือแหล่งปิโตรเลียมได้อย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน
"ขอให้เชื่อมั่นว่าการเจรจาจะคำนึงถึงอธิปไตยและผลประโยชน์ของคนไทยเป็นที่ตั้งยืนยันว่ากระทรวงการต่างประเทศ จะทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพสูงสุด" นายมาริษ กล่าว
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.