“นอนไม่หลับ” บ่อยๆ เสี่ยง "อัลไซเมอร์"

ใครที่มักมีปัญหานอนไม่ค่อยหลับ อย่ามองข้ามเป็นอันขาด เพราะผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย University of Wisconsin-Madison ในสหรัฐอเมริกา พบว่าคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ มักมีสัญญาณทางชีววิทยาที่ชี้ให้เห็นว่าพวกเขาเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้มากที่สุด

จากการทดสอบเจาะน้ำไขสันหลังในกลุ่มผู้สูงวัยอายุเฉลี่ย 63 ปี ซึ่งมีคนในครอบครัวเป็นอัลไซเมอร์ หรือมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมที่จะพัฒนาไปสู่อัลไซเมอร์ จำนวน 101 คน พบว่า ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ จะมีสัญญาณทางชีววิทยาที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์มากกว่าคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

โดยสัญญาณที่บ่งชี้คือ การรวมตัวกันอย่างผิดปกติของโปรตีน  “Beta-amyloid”  และการพันกันอย่างยุ่งเหยิงของใยประสาทเซลล์สมองที่เรียกว่า “Tau Tangles”

ดอกเตอร์ Barbara Bendlin นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำการวิจัยครั้งนี้ เผยว่า ภาวะการนอนไม่หลับไปแทรกแซงระบบการทำงานของสมองที่จะเริ่มทำงานในระหว่างที่เรานอนหลับ จนทำให้เกิดการสร้างแผ่นโปรตีน Amyloid ในเซลล์สมอง จากการรวมตัวกันที่ผิดปกติ ขณะที่การพันกันอย่างยุ่งเหยิงของใยประสาทเซลล์สมอง จะไปขัดขวางการสื่อสารของเซลล์ประสาท  จนนำไปสู่สภาวะเสื่อมของระบบประสาท

อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์เบนด์ลิน ระบุว่าการศึกษาดังกล่าวยังไม่สามารถฟันธงได้ชัดเจนว่า การนอนหลับส่งผลต่อการพัฒนาไปสู่โรคอัลไซเมอร์ หรือว่าอัลไซเมอร์ส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับของผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสนับสนุนในเรื่องนี้ต่อไป

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.