"อาหารติดคอ" ช่วยเหลืออย่างไร?
อ.พญ.กษมณฑ์ อร่ามวาณิชย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การมีความรู้ในเรื่องของการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการติดคอเป็นเรื่องสำคัญที่คนทั่วไปทุกคนควรรู้ เพราะหากอาหารติดคอแบบอุดกั้นสนิท เพียงเวลาไม่กี่นาที อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนเดินทางมาถึงโรงพยาบาลได้
อาหารติดคอแบบอุดกั้นสนิท VS ไม่สนิท
วิธีสังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการอาหารอุดกั้นแบบสนิท หรือไม่สนิท
อาหารติดคอแบบอุดกั้นสนิท ผู้ป่วยจะไม่มีเสียงพูด (พูดไม่มีเสียง) หรือเสียงร้องเพื่อขอความช่วยเหลือ และอาการจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที ผู้ป่วยจะเริ่มมีลักษณะเหมือนขาดอากาศหายใจ จนอาจเริ่มหน้าเขียวได้
อาหารติดคอแบบอุดกั้นไม่สนิท ผู้ป่วยจะยังมีเสียงพูดอยู่ โดยหลอดลมจะยังไม่ถูกปิดกั้นสนิท
อาหารติดคอเด็กเล็ก อาจสังเกตได้จากอาการเหนื่อย หายใจไม่ออก และใบหน้าหรือลำตัวเริ่มมีอาการเขียว
วิธีช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอาหารติดคอแบบอุดกั้นสนิท
เมื่อมีอาหารอุดกั้นหลอดลมแบบสนิท จะทำให้ร่างกายไม่มีอากาศหรือออกซิเจนไหลผ่านเข้าออกตามปกติได้ อาจทำให้ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาทีได้ โดยงานวิจัยพบว่า สมองของเราสามารถทนต่ออาการขาดอากาศได้นานราวๆ 4 นาทีเท่านั้น มิฉะนั้นเซลล์สมองอาจจะตาย ส่งผลให้พิการหรือเสียชีวิตได้
วิธีช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอาหารติดคอ มีขั้นตอนดังนี้
- โทรขอความช่วยเหลือที่เบอร์ 1669 ก่อนเป็นอันดับแรก โดยจะเป็นเราเอง หรือให้คนอื่นช่วยโทรให้ก็ได้ เพราะมีความเสี่ยงว่าที่เรากำลังจะปฐมพยาบาลต่อไปนี้ อาจจะได้ผล หรือไม่ได้ผล หากไม่ได้ผลจนผู้ป่วยหมดสติ จะได้มีทีมช่วยเหลือเข้าไปช่วยได้ทัน หรือถึงต่อให้อาหารออกมาได้ ก็ต้องมีการรักษาต่อไปอยู่ดี
- 2.1 สำหรับเด็กเล็ก ให้นำเด็กนอนคว่ำหน้าไว้บนขา
2.2 ให้ศีรษะต่ำกว่าลำตัว ตบบริเวณสะบักแรงๆ ด้วยส้นมือ 5 ครั้งด้วยความเร็วและแรง
2.3 พลิกตัวเด็กให้นอนหงายขึ้น ใช้นิ้ว 2 นิ้วกดลงกึ่งกลางบริเวณหน้าอกแรงๆ 5 ครั้ง
2.3 ทำทั้ง 2 อย่างสลับไปมาเรื่อยๆ จนกว่าเศษอาหารจะหลุดออกมา หรือจนกว่าเด็กจะหมดสติ จะเปลี่ยนเป็นวิธีทำ CPR แทน
เคล็ดลับคือ ต้องทำด้วยความเร็ว และแรง มิฉะนั้นแรงดันในช่องอกจะไม่มากพอให้เศษอาหารหลุดออกมาได้ ห้ามจับขาเด็กยกสูง ให้เด็กห้อยหัวลงแล้วเขย่าตัวเด็กเด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้อาหารออกมาได้แล้ว ยังอาจเสี่ยงทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ หรือเสี่ยงเลือดออกในสมองได้อีกด้วย - 3.1 สำหรับเด็กโต และผู้ใหญ่ ให้เข้าช่วยเหลือทางด้านหลัง
3.2 โอบรอบตัวผู้ป่วยบริเวณใต้รักแร้มาทางหน้าท้อง
3.3 กำมือข้างหนึ่งของเรา โดยกำเอานิ้วโป้งเก็บเอาไว้ หันด้านนิ้วโป้งเข้าบริเวณลิ้นปี่
3.4 ใช้มืออีกข้างหนึ่งช้อนท้ายด้านนิ้วก้อย
3.5 ผู้เข้าช่วยออกแรงกระทุ้งเข้าหาตัวเองในแนวเฉียงด้วยความเร็วและแรง
3.6 ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมาจากปากของผู้ป่วย หรือจนกว่าผู้ป่วยจะพูดมีเสียงออกมาได้ หรือทำจนกว่าผู้ป่วยจะหมดสติ และต้องเปลี่ยนไปทำ CPR แทน
ไม่ควรใช้วิธีเอามือทุบหลัง เพราะไม่ได้ช่วยให้อาหารหลุดออกมา ซึ่งเป็นวิธีที่ต่างกันกับเด็ก
ทั้งหมดควรทำด้วยความเร็ว และใช้แรงมากพอ ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากแรงที่ใช้ เพราะหากใช้แรงไม่มากพอ โอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากอาหารติดคอมีมากกว่า
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.