ใช้ปากดูดพิษงูแบบในหนัง รีดพิษได้จริงหรือไม่?
ฉากหนึ่งในหลัง หรือละครที่ยังคงทำให้เกิดความสงสัยคือเมื่อโดนงูกัดมักจะมีการใช้ปากดูดพิษงู ซึ่งในความเป็นจริงแล้วควรทำเช่นนั้นหรือไม่ นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama มีคำตอบ
ใช้ปากดูดพิษงูแบบในหนัง รีดพิษได้จริงหรือไม่? คำตอบ
เมื่อถูกงูกัด มักจะเกิดบาดแผลใน 2 ลักษณะจากรู ได้แก่
- แผลจากงูไม่มีพิษ ซึ่งจะเป็นรอยงูงับเป็นรอยปาก
- แผลจากงูมีพิษ ซึ่งจะเป็นรอยเขี้ยวงูงับ มักจะพบ 2 รู หากพบเป็นรอยรูปแบบนี้ให้สันนิษฐานไว้ว่าโดนงูพิษกัด
โดยปกติแล้ว เมื่อโดนงูกัด จะต้องระมัดระวังไม่ให้ส่วนที่โดนกัดเคลื่อนไหวมากนัก หรือให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด โดยอาจจะหาสิ่งของใกล้ตัวดามบริเวณอวัยวะที่โดนกัดไว้ป้องกันไม่ให้ขยับแล้วนําตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด หากมีการเคลื่อนไหวมากจะทําให้พิษแพร่กระจายไปยังกระแสเลือดได้เร็วขึ้น เนื่องจากพิษงูจะอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อเพื่อให้พิษเข้าสู่กระแสเลือดได้มากและเร็วขึ้น เมื่อนําตัวส่งโรงพยาบาลแล้ว แพทย์จะทําการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นงูพิษหรือไม่ และงูพิษอะไร หากมีภาวะเป็นพิษ หรือมีข้อบ่งชี้ใน การให้เซรุ่มแก้พิษงูก็จะได้รับการรักษาด้วยเซรุ่มแก้พิษงูต่อไป
กรณีที่ปรากฏในละคร เช่น การดูดพิษงูออกด้วยปาก ซึ่งถือเป็นการรีดพิษงูจากแผลนั้น ในทางการแพทย์ยังไม่มีข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ประโยชน์จริง แต่กลับจะต้องคําานึงถึงความปลอดภัยของผู้ดูด ถ้าปากมีแผล การดูดพิษงูด้วยปากอาจทําให้ได้รับพิษเข้าร่างกายได้ นอกจากนี้ปากของเรายังมีเชื้อโรคมากมายด้วย การดูดแผลก็อาจจะทําาให้มีเชื้อโรคที่แผลและมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น การใช้ปากดูดพิษจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทําเมื่อจะช่วยเหลือผู้ที่ถูกงูกัด และเป็นเพียงแค่ความเชื่อเท่านั้น
Volume: ฉบับที่ 12 เดือน มกราคม 2557
Column: Believe it or not
Writer Name: ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.