7 วิธีลดน้ำหนักสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์

ถ้าพูดถึงภาวะไฮโปไทรอยด์ หรือเรียกอีกชื่อคือ ไทรอยด์แบบอ้วน เป็นภาวะที่เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง จนส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญ นั่นจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไฮโปไทรอยด์มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือมีรูปร่างที่อ้วนขึ้นจากเดิม อีกทั้งยังมีอาการหน้าบวมและตัวบวมอีกด้วย วันนี้เราจึงรวม 7 วิธีลดน้ำหนักสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์แบบอ้วนมาแชร์ให้ได้ทราบกันค่ะ


1.หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีกลูเตน
เนื่องจากกลูเตนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีสารกอยโตรเจน เป็นสารที่ยับยั้งการสังเคราะห์ไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งคอยทำหน้าที่ในการยับยั้งการส่งผ่านไอโอดีน ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคคอพอกได้ ในส่วนของโปรตีนกลูเตนจะพบได้ในอาหารจำพวกข้าวสาลี ข้าวไรซ์ ข้าวบาร์เลย์ เค้ก พาย เนื้อปูเทียม ปลากระป๋อง น้ำมันหอย ซอสถั่วเหลือง มัสตาร์ด และกะทิสำเร็จรูป


2.เพิ่มการกินคาร์บเชิงซ้อนและลดคาร์บเชิงเดี่ยว
คาร์บเชิงซ้อนจะพบได้ในข้าวกล้อง โฮลวีท โฮลเกรน และแป้งไม่ขัดสี ซึ่งจัดเป็นกลุ่มอาหารลดน้ำหนักที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นสารอาหารที่ช่วยป้องกันร่างกายจากกลูเตน ช่วยเพิ่มไฟเบอร์ให้กับร่างกาย กินในปริมาณน้อยแต่ช่วยให้อิ่มนาน และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี


3.เลือกกินอาหารที่ช่วยต้านการอักเสบ
ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์มักจะเจอกับภาวะอักเสบอยู่บ่อยๆ เพราะการทำงานของต่อมไทรอยด์จะน้อยกว่าปกติ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง จึงส่งผลให้เกิดอาการป่วยง่าย อ่อนเพลียบ่อยๆ เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดภาวะเนื้อเยื่ออักเสบ และก่อให้เกิดอาการตัวบวมได้ง่ายอีกด้วย


4.หมั่นดื่มน้ำให้มากๆ
แน่นอนว่าการดื่มน้ำมีส่วนช่วยลดน้ำหนัก และน้ำยังถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย เนื่องจากเป็นสารที่ช่วยหล่อเลี้ยงการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้เป็นปกติ ที่สำคัญการดื่มน้ำยังช่วยลดความหิวได้ดีเลยทีเดียว


5.กินอาหารปริมาณน้อย แต่เน้นกินบ่อยๆ
เนื่องจากระบบเผาผลาญของผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ทำงานได้ช้า ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินใหม่ โดยเน้นกินในปริมาณน้อย แต่กินบ่อยๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ ประมาณ 5-6 มื้อต่อวันก็ได้เช่นกัน วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ และยังช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ด้วยเช่นกัน


6.นอนให้เพียงพอ
การนอนให้เพียงพอถือเป็นสิ่งที่ช่วยลดน้ำหนักให้กับผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ได้ เพราะหนึ่งในปัญหาใหญ่ของผู้ป่วยภาวะนี้คือการนอนไม่หลับ ซึ่งการนอนมีส่วนช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ในขณะที่การนอนไม่หลับจะส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ฮอร์โมนแห่งความหิว ฮอร์โมนความเครียด รวมทั้งฮอร์โมนชนิดอื่นๆ ในร่างกายอาจแกว่งไปด้วย


7.ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายสามารถดึงพลังงานจากอาหารที่กินเข้าไปเอาออกมาใช้ แถมยังเป็นการกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญได้อีกทางเลยก็ว่าได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ป่วยภาวะนี้หมั่นออกกำลังกายทุกวัน จะช่วยลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการลดน้ำหนักจะถือเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีหุ่นที่ดีขึ้นอีกครั้ง แต่ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการรักษาเป็นอันดับต้น อย่าเพิ่งเป็นกังวลกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เพราะเมื่อใดที่รักษาโรคได้แล้ว ก็ยังไม่สายที่ผู้ป่วยจะเริ่มให้ความสำคัญกับการลดน้ำหนักเป็นลำดับต่อไป

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.