คลัง ส่งสัญญาณแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยโลกขาลง

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณี ที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง 0.5% จาก 5.3% เหลือ 4.8% เป็นการปรับลดครั้งใหญ่ครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปีว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายโลกอยู่ในทิศทางขาลง ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นในเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของวงจรเศรษฐกิจโลก สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยของไทย เราต้องทําให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยสอดคล้อง และเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโนบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงค์ชาติ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีอิสระในเรื่องของการที่จะกําหนดทิศทางดอกเบี้ย แต่กระทรวงการคลัง กับแบงก์ชาติต้องมีการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้รับผลลัพธ์ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสมที่สุด ทั้งนี้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง จะมีการนัดหารือกับผู้ว่าแบงก์ชาติต่อไป

“สุดท้ายแล้วนโยบายการเงินกับการคลัง ต้องมีการแลกเปลี่ยนระหว่างทางคลัง ก็ปัจจุบันแม้เราเห็นเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มที่ดูดีขึ้นในระดับหนึ่ง ในเรื่องของภาคการผลิตซึ่งเราเริ่มเห็นสัญญาณสัญญาณบวกขึ้นบ้าง จากที่เคยติดลบหนักมาเป็นหลายหลายเดือน ภาคการบริโภคก็อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้แต่สิ่งที่เราอยากเห็นก็ คือโมเมนตัมทางเศรษฐกิจในการที่จะช่วยผลักแรงส่งทางเศรษฐกิจสอดคล้องกันระหว่างนโยบายทางการ” นายเผ่าภูมิ กล่าว

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า นโยบายทางการคลังได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมีการใส่เม็ดเงินไปกว่า  140,000 ล้านบาท เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบผ่านเรื่องของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้พิการภายในปลายเดือนนี้ หมายถึงว่าเม็ดเงินจะลงไป ดังนั้นหากมีแรงส่งผสานกันระหว่างทางนโยบายทางการเงินและนโยบายทางการคลังก็จะเป็นสิ่งที่ดี เพราะตัวเลขของถึงแม้ภาคการผลิตยังดี แต่ก็ยังมีตัวเลขที่เรากังวลอยู่ ขณะที่เงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำไป ยังไม่เข้ากรอบที่ 1-3% แล้วยังไม่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำให้หลายๆเรื่องยังมีจุดที่น่าเป็นห่วง
 

ส่วนสถานการณ์ค่าเงินบาทที่อยู่ในทิศทางแข็งค่านั้น แน่นอนย่อมมีผลต่อเรื่องของการส่งออกซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ ซึ่งการดูแลค่าเงินให้ไม่อ่อนเกินไป หรือไม่ค่าแข็งเกินไป และที่สําคัญที่สุดต้องเป็นค่าเงินที่ไม่ผันผวนเร็วจนเกินไปเพราะจะส่งผลต่อผู้ส่งออกภาคธุรกิจของไทยวางแผนได้ยาก 

 

“เราเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปถึง 36.37 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ แล้วค่าเงินบาทก็แข็งค่ามาจนถึง 33  มันแข็งค่าขึ้น 10% ซึ่งช่องว่างตรงนี้กว้างไป ดังนั้นต้องเข้าไปดูแลเพื่อไม่ให้กระทบผู้ส่งออกไทย”นาย เผ่าภูมิ กล่าว
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.