ดัชนีวัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย ภารกิจ AIS ยกระดับทักษะดิจิทัลสู่ความยั่งยืน
นับเป็นปีที่ 2 ที่ AIS ได้ทำผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index 2024 นับเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานดิจิทัลอย่างปลอดภัย และที่ผ่านมา AIS ก็มุ่งทำเรื่องนี้อย่างจริงจังในหลากหลายเรื่องราว ทั้งการสร้างองค์ความรู้ และสร้างเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยในการปกป้องการใช้งานของลูกค้ามากมาย ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา AIS ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการ เปิดตัวดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index ฉบับแรกของไทย ที่ทำให้เห็นถึงระดับทักษะการรับรู้และความเข้าใจการใช้งานดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่คนไทยยังคงต้องพัฒนาทักษะความรู้เพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถหยิบผลการศึกษาของ AIS ไปต่อยอดในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้ได้ตรงกลุ่มอายุ อาชีพ หรือแม้แต่พื้นที่ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน
สำหรับการวัดผลการศึกษาของดัชนี Thailand Cyber Wellness Index 2024 นั้น มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคนไทยทุกช่วงอายุ ทุกเพศ ทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวม 50,965 ตัวอย่างจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าระดับสุขภาวะทางดิจิทัลของคนไทยเฉลี่ยยังอยู่ในระดับพื้นฐาน และยังสะท้อนให้เห็นว่า แม้คนไทยจะมีการพัฒนาความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นจนผลในภาพรวมอยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ยังมีจุดที่น่ากังวล เพราะคนไทยเกินครึ่ง ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเสี่ยงต่อภัยที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การไม่มีความรู้ความเข้าใจการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งง่ายต่อการคาดเดา แม้แต่การไม่ทราบว่าการเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะเป็น HTTPS เป็นต้น
ดังนั้นในปีนี้ และ ปีหน้า AIS ตั้งเป้าในการยกระดับ และสร้างทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับประชาชน ให้เป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการพัฒนาเครื่องมือ “Digital Health Check” เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง ซึ่งเปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อรู้ผล ระบบก็จะมีการแนะนำช่องทางไปต่อ เพื่อให้เราได้เสริมสร้างความรู้ที่เหมาะกับระดับความรู้ของเรา เช่น การรับชมละครคุณธรรม หรือ ความรู้ในรูปแบบการ์ตูน ที่เข้าใจง่าย”
การพัฒนาดัชนี Thailand Cyber Wellness Index ถือเป็นส่วนสำคัญที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และแผนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ AIS ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับสังคมผ่านการส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสมและปลอดภัย โดยเฉพาะด้านการเข้าถึงดิจิทัลอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ยังมีโครงการอุ่นใจ ไซเบอร์ ที่ช่วยสร้างทักษะด้านดิจิทัลและภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ให้กับประชาชน เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย มุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสมและปลอดภัย ดัชนีนี้ช่วยให้ AIS สามารถประเมินและปรับปรุงการให้บริการด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความปลอดภัยของลูกค้าและคนไทยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ AIS จะเดินหน้าทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มทักษะโดยโดยในวัยเด็ก AIS มีการทำงานร่วมกับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ในการนำหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เข้าไปให้ความรู้ในโรงเรียน ขณะที่กลุ่มวัยเกษียณ AIS ทำงานร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ กรุงเทพมหานคร ในการให้ความรู้ และทำโครงการเสริมสร้างความรู้ร่วมกัน
รวมถึงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) , ตำรวจไซเบอร์ และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในการสกัดกั้นมิจฉาชีพ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การปิดเบอร์มือถือของผู้ถือครองซิมเกิน 5 เลขหมาย โดยไม่มีการยืนยันตัวตน การบล็อกเบอร์มิจฉาชีพ การควบคุมสัญญาณชายแดน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ การปิดกั้นการเข้าถึงลิงก์ของมิจฉาชีพที่ส่งแนบมาพร้อม SMS
AIS ยังคงมุ่งมั่นในการส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ที่ถูกต้องและปลอดภัย พร้อมทั้งผลักดันให้การยกระดับทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กลายเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถใช้ดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.