กมธ.การเงินฯ ไล่บี้ คดีหมูเถื่อน ขอข้อมูลกรมศุลกากร เก็บรายได้ย้อนหลัง 10ปี
วันที่ 14ส.ค. ที่อาคารรัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายณัฐพงษ์ สุปรียศิลป์ เป็นประธานนัดประชุมกรรมาธิการฯ โดยมีวาระที่น่าสนใจ เพื่อพิจารณา ผลการดำเนินงานด้านการจัดเก็บรายได้ภาษีและผลการดำเนินงานด้านการจับกุมการลักลอบขนสิ่งของผิดกฎหมายเข้ามาภายในประเทศไทยของกรมศุลกากร โดยได้เชิญ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล เช่นตัวแทนจากดีเอสไอ และนายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากร มาชี้แจง
นายณัฐพงษ์ เปิดเผยว่า ในที่ประชุมได้เชิญ ดีเอสไอมาให้ข้อมูล ซึ่งได้รายงานความคืบหน้า เรื่องคดีหมูเถื่อน โดยได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. หมูเถื่อน 161 ตู้ แยกเป็น 10คดี ในส่วนของดีเอสไอ ได้สั่งฟ้อง ส่งข้อมูลให้ป.ป.ช. เอาผิดเจ้าหน้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปแล้ว 8 คดี เหลืออีก 2 คดี คาดว่าจะรายงานผล สรุปได้ในเดือนสิงหาคม
2.มูลค่าความเสียหายมากกว่าพันล้านบาท จะสรุปได้ภายในเดือนนี้เช่นกัน
3. กลุ่มที่เกี่ยวกับซากสัตว์ เกี่ยวพันไปถึงนักการเมือง มูลค่าความเสียหายกว่า 6 พันล้านบาท ดีเอสไอ ได้หาข้อมูลคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน เพราะทางดีเอสไอ ระบุว่า ต้องหาข้อมูลเพิ่ม เช่น แหล่งนำเข้าจากต่างประเทศ
ในการชี้แจง นายธีรัชย์ อธิบดีกรมศุลกากร ได้รายงานผลการดำเนินงานของกรมศุลกากรในหลายๆเรื่อง เช่น การจัดเก็บรายได้ กระบวนการบริหารจัดการ ดำเนินการอย่างไร เพื่อไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้น ส่วนกรณีที่มีการปลอมใบแจ้งหนี้ Invoice การปลอมเอกสารนำเข้า ซึ่งมีความพยายามแก้ไขปัญหานี้ มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการตรวจสอบ
คณะกรรมาธิการฯได้สอบถามการจัดเก็บรายได้ แต่ข้อมูลที่กรมศุลกากร นำมาแสดงเป็นของปี 2567 แต่ทางกรรมาธิการฯได้ขอข้อมูลย้อนหลังเป็นเวลา 10 ปีด้วย เพื่อดูข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับปริมาณนำเข้า ส่งออกด้วย เพราะบางปี นำเข้าเยอะมากกว่าปีอื่น แต่การจัดเก็บรายได้เท่าเดิม ขณะเดียวกัน กรมศุลกากร ชี้แจ้ง การจัดเก็บรายได้เป็นภาษีอากร ในหลายๆเรื่องดูจากปริมาณสินค้านำเข้าอย่างเดียวไม่ได้ เพราะของบางอย่าง มีการยกเว้นภาษี บางอย่างเก็บแค่VAT แต่ไม่ได้เก็บภาษีอากร บางรายการ กรมศุลกากร เก็บแทนกรมสรรพากร
ถามว่าจากการฟังการชี้แจง มาให้ข้อมูล กรรมาธิการยังติดใจประเด็นไหนหรือไม่ นายณัฐพงษ์กล่าวว่า การปฏิบัติงาน เรื่องที่สังคมอาจจะสงสัย เรื่องทุจริต ก็ให้เป็นเรื่องของบุคคลว่ากันไปตามกระบวนการ แต่ที่มีปัญหาเห็นควรแก้ไขคือ พรบ.ศุลกากร ควรไปแก้ไข ให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่านี้
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.