เปิดข้อมูล"เศรษฐา"สู้คดี40สว. ลุ้นมติชี้ขาด สุจริตผิดจริยธรรมหรือไม่

นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เรียกคณะกรรมการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยนายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท์ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ  รอยกุลเจริญ เวลา 09.30 น. เพื่อนัดลงมติ กรณีประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภา (สว.)  จำนวน 40 คน ขอให้ศาลชี้ขาด ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5 ) หรือไม่ 

กรณี นายกฯเศรษฐา นำความขึ้นกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้ หรือ ควรรู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติ หรือ มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง  ก่อนนัดอ่านคำวินิจฉัยช่วงเวลา 15.30น.เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา สิ้นสุดลงหรือไม่

โอกาสรอดหรือไม่รอดของนายกฯเศรษฐา มติชี้ขาดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ น่าอยู่ระหว่าง 5ต่อ4เสียง หรือ 6ต่อ3เสียง หรือ 7ต่อ2เสียง ซึ่งจะมีโอกาสรอดสูงมากกว่าไม่รอด แต่ตัวเลขที่ชัดเจนต้องรอไม่กี่อึดใจ ซึ่งโอกาสรอดหรือไม่รอด ต้องย้อนกลับไป วันที่นายกฯเศรษฐาส่งพยานบุคคล2รายขึ้นต่อสู้คดี40สว.ประกอบด้วย

 

-นพ.พรหมมินทร์  เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในประเด็นที่ว่า นายกฯเศรษฐา ประสงค์ให้มีตำแหน่งรมต.สำนักนายกรัฐมนตรี อยากได้นักกฎหมาย เพื่อมารับผิดชอบงานด้านกฎหมายของรัฐบาล ซึ่งนพ.พรหมมินทร์ได้มีการตรวจสอบและเสนอชื่อให้นายกฯ

-นายธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ได้อ้างถึงความไม่เป็นสัดส่วน เนื่องจากเหตุการณ์ กรณีนายพิชิต  เกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ขณะที่ถูกศาลฎีกาคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งระยะเวลาเกิน 10 ปีมาแล้ว

ขณะที่พยานหลักฐานสำคัญซึ่งนายกฯเศรษฐายกขึ้นต่อสู้คือความเห็นของสำนักเลขาธิการครม.  

1.สลค.ระบุความผิดจริยธรรมร้ายแรงมาตรา 160 ( 4 ) และ ( 5 ) เป็นนามธรรมไม่ควรมีใครมาชี้ขาดจริยธรรม

"สลค.ยื่นหนังสือเป็นทางการต่อศาล รธน.ว่า ความผิดจริยธรรมร้ายแรง ตาม รธน.มาตรา 160( 4 ) ( 5 ) เป็นขอบเขตอำนาจของ ป.ป.ช. ที่ใช้กับ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" 

(ซึ่งประเด็นชี้แจงนี้ อาจมีผลทำให้ศาลรธน.จำหน่ายคดีหรือไม่)

2.นายกฯเศรษฐาและสลค.ไม่ได้มีการหมกเม็ด เพราะมีการหารือกันภายในแล้ว ว่าเป็นการผิดจริยธรรมหรือไม่  ซึ่งมีการสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ไม่สามารถตอบได้ เพราะการตีความวินิจฉัย เป็นอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

3.คำชี้แจง สำนักเลขาธิการครม.  อ้างถึงการตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรีไม่ได้แค่ตรวจสอบ นายพิชิต หรือกรณีนายไผ่ ลิกค์ เท่านั้นยังมีการร้องให้ตรวจสอบบุคคลอื่นที่อาจเข้าข่ายขัดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งรมต. ได้แก่ 
นายอนุทิน  ชาญวีรกูล
ร.อ. ธรรมนัส  พรหมเผ่า
พล.ต.อ.พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ
นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ 
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน

(เพื่อแสดงให้เห็นสลค.ได้ตรวจสอบไม่เลือกปฏิบัติ)

4. แย้ง คำร้อง 40 สว. กรณีคำสั่ง‘ทักษิณ’

คำร้อง 40 สว.อ้างถึงการแต่งตั้งนายพิชิต เป็นรมต.มาจากการรับคำสั่งจากอดีตนายกฯทักษิณ ไม่เป็นความจริง คำบรรยายระบุตอนหนึ่งว่า

"ก่อนที่จะแต่งตั้งนายพิชิต เป็นรมต. นายพิชิต เป็นที่ปรึกษาของนายกฯเพียงคนเดียวที่ได้เข้าร่วมประชุมครม. ได้ติดตามตรวจวาระการประชุมครม.ผมจึงอยากให้นายพิชิตมาเป็นรมต. ตรวจสอบกฎหมายให้รัฐบาล ซึ่งรัฐบาลยังขาดส่วนนี้อยู่ ไม่มีคำสั่งใดจากนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ"

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.