กางกม.คุมน้ำเมา 'ปดิพัทธ์'เสี่ยงคุกสิ้นสุดสส.หลุดเก้าอี้รองประธานสภาฯ
กรณี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล และรองประธานสภาฯ คนที่ 1 โพสต์เฟซบุ๊ก Padipat Suntiphada - ปดิพัทธ์ สันติภาดา โชว์ภาพคราฟท์เบียร์ยี่ห้อหนึ่ง และมีการดื่มโชว์ จนทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าผิดกฎหมายตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 หรือไม่
เมื่อพลิกกลับไปติดตามในประเด็นข้อกฎหมาย ตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 33 ก หน้า 34 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551
สาระสำคัญกฎหมายนี้มุ่งเน้นการควบคุม 5 มาตรการหลัก ได้แก่ การควบคุมสถานที่ ห้ามดื่มห้ามขาย ควบคุมด้านวันเวลาที่จำหน่าย ควบคุมอายุและพฤติการณ์ของผู้ซื้อ ควบคุมวิธีการหรือลักษณะการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และควบคุมการโฆษณา
โดยเฉพาะมาตรา 32 บัญญัติว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสัญลักษณ์ของ บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ถ้าเป็นการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกจากต่างประเทศกฎหมายอนุโลมยกเว้นให้ (เป็นการถ่ายสดเข้ามาจากต่างประเทศ หากมีการบันทึกเทปไว้แล้วมีการถ่ายทอดอีกครั้งต้องดำเนินการห้ามโฆษณาตามมาตราดังกล่าว)
“โฆษณา” หมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็น ได้ยินหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการสื่อสารการตลาด
“ข้อความ” หมายความว่า การกระทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใดๆที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถ เข้าใจความหมายได้
“การสื่อสารการตลาด” หมายความว่า การกระทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายสินค้า บริการหรือภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข่าวสาร การส่งเสริมการขายการแสดงสินค้า การจัดหรือสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมพิเศษและการตลาดแบบตรง
สำหรับโทษความผิดทางอาญา ฐานโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นการโฆษณาของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะปรับ 500,000 บาท นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 50,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง จึงถือว่ามีบทลงโทษที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบเท่ากับความผิดเมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีอัตราค่าปรับ 60,000 – 200,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ต้องถกเถียงต่อว่า หากการกระทำของนายปดิพัทธ์สุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายแล้ว จะทำให้ต้องพ้นจากความเป็นสส. อันหมายความรวมถึงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่1ด้วยหรือไม่
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้การสิ้นสุดสมาชิกภาพสส.เป็นไปตามมาตรา 101 เมื่อมีลักษณะต้องห้ามการเป็นสส.ตามมาตรา 98 เมื่อต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
นอกจากนี้ หากมีการร้องเรียนพฤติกรรม การโชว์คราฟท์เบียร์แถมดื่มของนายปดิพัทธ์ ในฐานะผู้ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ อาจสุ่มเสี่ยงเข้าข่ายฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง เนื่องจากมีการบัญญัติเอาไว้ใน มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระรวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561ให้นำมาบังคับใช้กับนักการเมืองโดยอนุโลม ตั้งแต่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆด้วย...
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.