100วัน เข็น เศรษฐา ชิงนายกฯ ก้าวเดิน เพื่อไทย ครั้งเดียวผ่าน หรือ วันเดียวจอด

หากไม่เกิด ปรากฎการณ์ ฟ้าผ่าลงกลาง พรรคเพื่อไทย ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก้าวเข้าสู่ สนามการเมืองเพียงแค่ครั้งแรก วาสนาดี ได้เป็น 1ใน3 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย   

ในวันที่ พรรคก้าวไกล ไม่ได้อยู่ในสมการการเมือง พรรคเพื่อไทย เดินหน้าทาบทาม ขอเสียง ตั้งรัฐบาล จากพรรคการเมือง มีทั้งพรรคเคยร่วมงานการเมืองกันมา และพรรคคู่ขัดแย้งทางการเมือง พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ โผล่เข้ามาอยู่ในสมการการเมืองเพื่อไทย รวบรวมเสียงได้แล้วเกินกึ่งหนึ่ง เพื่อตั้ง รัฐบาลพิเศษ แก้วิกฤตเศรษฐกิจ รัฐธรรมนูญ ให้กับประชาชน 


การรวมเสียง เป็นไปด้วยดี ทิศทางการเมือง สถานการณ์ต่างๆ ล้วนเป็นใจ ไหลเข้าทาง พรรคเพื่อไทย

 

-เศรษฐา ได้รับการสนับสนุนจาก พรรคเพื่อไทย และ พรรคร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล เสนอชื่อ โหวตนายกฯ

-เพื่อไทย มีเสียงตั้งต้น โหวตนายกฯ  315 เสียง

-สมาชิกวุฒิสภา(สว.) คลายความกังวลใจ หลัง เพื่อไทย ไม่จับมือ พรรคก้าวไกล มาเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล มีจุดยืนแข็งกร้าว การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา112  

- เพื่อไทย พรรคร่วมตั้งรัฐบาล ร่วมกันเดินหน้าหาเสียง สว. ขาดประมาณ 61 เสียง เป็นไปในทิศทางที่ดี เนื่องจาก หนึ่งในพรรคพลังประชารัฐ ส่งสัญญาณร่วมรัฐบาลกับเพื่อไทย สว.หลายคน มีสายสัมพันธ์อันดีกับ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ 

-วันที่16ส.ค. นักวิเคราะห์การเมือง คาดว่า ศาลรัฐธรรมนูญ น่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาใน มุมบวก ต่อสถานการณ์การเมือง

ปัจจัย เงื่อนไข อุปสรรค โดยเฉพาะ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) มาร่วมโหวต นายกรัฐมนตรี เป็นด่านหินเคยขวางกั้น ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ไม่สามารถรวมเสียงทั้งสองสภาฯ 376 เสียง แต่สถานการณ์ในวันนั้น กับ ปัจจุบัน  คลายเงื่อนไข แห่งความกังวล ลงไปมาก 

 

เหลือเพียงแค่ อุปสรรคขวางกั้น ในมุมมอง ประเด็นส่วนตัว ข้อกล่าวหาที่มีต่อ เศรษฐา และเงื่อนไขเจรจาของ เพื่อไทย การเกลี่ย เก้าอี้รัฐมนตรีกับพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล  

-เรื่องในอดีต สมัยยังเป็นผู้บริหาร แสนสิริ จำกัด(มหาชน) มีข้อสงสัย ถูกตั้งข้อกล่าวหา การซื้อขายที่ดิน ประเด็นข้อกฎหมาย เรื่องภาษี เรื่องจริยธรรม ความสง่างามของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 


-เงื่อนไข การแบ่งโควตา เกลี่ยตำแหน่ง รัฐมนตรี ตามโควตา พรรคร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล 
‘ภูมิธรรม เวชยชัย’ แกนนำคนสำคัญพรรคเพื่อไทย ระบุว่า รอให้ การโหวตนายกรัฐมนตรี จบสิ้นก่อน มั่นใจ การโหวตจะผ่านไปได้ในครั้งเดียว จากนั้นค่อยมาพูดคุย กระทรวงต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะจบสิ้นได้ในเดือน กันยายน นี้ 

ทว่า มีข้อมูลจาก แวดวงเจรจา บ่งชี้ มีการพูดคุย โควตา จำนวนกระทรวงที่แต่ละพรรคจะได้รับกันไปเบื้องต้นแล้ว พร้อมกับวางกรอบ พรรคเดิมที่เคยได้กระทรวงเดิมจากรัฐบาลที่แล้ว อาจจะไม่ได้นั่งเก้าอี้ตัวเดิมอีก เป็นเพียง ตุ๊กตาเบื้องต้น ฝั่งเพื่อไทย  ในมุมต่อรอง จากบางพรรค ยื่นเงื่อนไขกลับ หากมีความจำเป็น จึงไม่อยากให้มีการผูกมัดตายตัว และขอเปิดช่องเล็กๆเอาไว้  

-เงื่อนไขที่ต้องรอ ตัวเลขจำนวนเสียง จากพรรคร่วมกันตั้งรัฐบาล จะมีการปรับเปลี่ยนอะไรอีกหรือไม่ บางพรรคที่ยังอยู่ระหว่างการเจรจา จะยกกันมา ทั้งพรรค หรือ กลุ่มบุคคล ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน ย่อมส่งผลต่อการ เกลี่ยจำนวนเก้าอี้ ตามที่พูดคุย วางกรอบกันไว้หลวมๆ อาจจะถูกขยับปรับเปลี่ยนอีกรอบ

-ยังไม่นับเงื่อนไข ดีลพิเศษ บางพรรคที่เป็น สารตั้งต้นรัฐบาล บางพรรคที่ยังมีปัญหาภายใน คาราคาซัง อนุญาติให้นับรวม 21สส. ในการไปเจรจาต่อรอง ร่วมรัฐบาล ได้เลย 

เป็นอันว่า  เก้าอี้รัฐมนตรี การแบ่งโควตาต่างๆ ลงล็อก คืบหน้าไปมาก แม้จะยังไม่100 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม   

‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานรัฐสภา รอดู ศาลรัฐธรรมนูญ16ส.ค. หากเป็นไปในทางบวก อาจจะ นัดประชุมร่วมรัฐสภา โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี วันที่ 22ส.ค.นี้เลย หรือ อาจจะถูกขยับไปได้อีกเล็กน้อย ปลายเดือนสิงหาคม

นับจาก วันเลือกตั้ง 14พ.ค. ปฏิบัติการณ์ รวมเสียง หาพันธมิตรการเมืองจากพรรคอันดับหนึ่ง ก้าวไกล การโหวตนายกฯ ไม่ผ่านความเห็นชอบ นำมาสู่ การส่งไม้ต่อ เพื่อไทย พรรคอันดับสอง ตั้งรัฐบาล อุปสรรค เงื่อนไข ความกังวลใจ จากกลุ่มผู้มีอำนาจ กลุ่มสว.ที่มีส่วนตัดสินใจ ปลดล็อกเงื่อนไข ความกังวล ลงไปมาก

 
เข้าสู่ การตั้งรัฐบาลพิเศษ กับ ต้นทุนเพื่อไทย ยอมแลก ผนึกกำลัง พรรคการเมืองที่ครั้งหนึ่งเคยหาเสียง จะไม่จับมือร่วมกันตั้งรัฐบาล นำมาสู่ ความเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่ อารมณ์ความรู้สึกมวลชน มีทั้งเห็นด้วย คัดค้าน พร้อมฝากรอยแค้นเอาไว้มากมาย แม้แต่ พรรคก้าวไกล ที่เป็นพันธมิตรการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ออกมาประกาศชัดเจน 'ไม่โหวตให้แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคเพื่อไทย'   

จบศึกเลือกตั้ง14พ.ค. โหวตนายกฯ ครั้งแรก 13ก.ค. ใช้เวลา 60 วัน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ 22ส.ค. ครบกำหนด100วัน อาจกลายเป็นอีกวัน ในการเดิมพัน ตัดสิน ชะตากรรม เศรษฐา-เพื่อไทย-พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล 


วันเวลาผ่านมา 100 วัน ถึงเวลาที่ ประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ได้แล้วหรือยัง 
 

จังหวะก้าวเดิน เพื่อไทย ในฐานะพรรคหลัก ขับเคลื่อน เดินเกมการเมือง ฉากสุดท้ายจะลงเอย 'ครั้งเดียวผ่าน' หรือ 'วันเดียวจอด' บางทีเป็นเหมือน เส้นบางๆขวางกั้น กับเกมการเมือง ที่หมุนเวียนเปลี่ยนผันได้ รวดเร็วเหลือเกิน 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.