วิตามิน-อาหารเสริม จำเป็นแค่ไหน เสียเงินฟรีหรือเปล่า?

เหตุผลหลักของอาหารเสริมวิตามิน คือกินแล้วช่วยบำรุงร่างกายและหัวใจ แต่อันที่จริงแล้วอาหารเสริมและวิตามินเหล่านี้ช่วยบำรุงร่างกายได้ตามที่คิดหรือเปล่า?

ในช่วงต้นปี 2021 ที่ผ่านมา วารสาร American College of Cardiology (JACC) ตีพิมพ์ชุดรีวิวอาหารเสริมและวิตามินที่อ้างสรรพคุณบำรุงหัวใจเอาไว้ โดยระบุว่าผู้ที่กินอาหารเสริมและผู้ที่กินอาหารเสริมหลอก ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อหัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจ หรือสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคหัวใจอื่นๆ ให้น้อยลงเลย และยังระบุว่าการเลือกกินอาหารที่วิตามินจากพืชผักผลไม้ต่างๆ ยังดูมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ระบบร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมวิตามินต่างๆ อาจจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมวิตามินตามที่แพทย์แนะนำ

สำหรับอาหารเสริมวิตามินที่อ้างว่ามีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงโรคระบบหัวใจหลอดเลือด เช่น โอเมก้า-3 (omega-3 หรือ น้ำมันปลา) ข้าวยีสต์แดง และโคเอนไซม์ คิวเทน (coenzyme Q10) Dr. Pieter Cohen รองศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ ประจำ Harvard Medical School ระบุว่า 

โอเมก้า-3 หรือน้ำมันปลา

โอเมก้า-3 คือ กลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต่อระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกาย ในเม็ดอาหารเสริมจะบรรจุกรดไขมันโอเมก้า-3, DHA และ EPA ที่ช่วยลดอาการบวมอักเสบได้ ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และอาจป้องกันการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าอาหารเสริมโอเมก้า-3 หรือน้ำมันปลาจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจวายกับผู้ที่มีความเสี่ยงได้

อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ได้เป็นโรคหัวใจ สามารถบริโภคน้ำมันปลา 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และกินอาหารประเภทถั่ว พืชตระกูลถั่ว และไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก ก็สามารถช่วยให้หัวใจแข็งแรงโดยไม่ต้องกินอาหารเสริมโอเมก้า-3

ข้าวยีสต์แดง

ข้าวยีสต์แดง คือ ข้าวที่หมักกับยีสต์สีแดงที่มีชื่อว่า Monascus purpureus ในสีแดงของยีสต์มี โมนาโคลิน เค (monacolin K) ที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของยาลดคอเลสเตอรอลที่ชื่อว่า โลวาสแตติน การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกหลายชิ้นระบุว่า อาหารเสริมข้าวยีสต์แดงที่มีปริมาณโมนาโคลิน เค ราว 4-10 มิลลิกรัม สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้

แต่อาหารเสริมข้าวยีสต์แดงส่วนใหญ่มีปริมาณโมนาโคลิน เค ราว 600 มิลลิกรัมต่อแคปซูล และมักระบุให้กิน 2 แคปซูลต่อวัน แต่ก็ไม่สามารถรู้ได้จริงว่าในแคปซูลแต่ละเม็ดมีปริมาณโมนาโคลิน เคมากน้อยแค่ไหน และตามกฎหมายอเมริกัน หากยาตัวไหนระบุว่ามีปริมาณส่วนประกอบอะไรเท่าไร จะไม่ใช่อาหารเสริม แต่เป็นยา ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเหมือนซื้อเบียร์มา 1 กระป๋องแล้วลองคาดเดาดูว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่เท่าไร ซึ่งเบียร์ส่วนใหญ่มักมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 3.2-8% เป็นต้น ในอาหารเสริมข้าวยีสต์แดงก็มีปริมาณโมนาโคลิน เคในแต่ละแคปซูลไม่เท่ากันเช่นกัน

ถ้าอยากลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายจริงๆ แนะนำยาที่ให้ผลโดยตรง และราคาถูกกว่าอย่างยาสแตตินจะดีกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องตรวจร่างกายและปรึกษาแพทย์ก่อนกินยานี้ด้วยเช่นกัน

โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10)

จริงๆ แล้วโคเอนไซม์ คิวเทนเป็นสารที่ร่างกายสร้างเองได้ และเป็นแหล่งพลังงานระดับเซลล์ที่สำคัญ ช่วยสร้างพลังงานให้กับเซลล์กล้ามเนื้อ แพทย์ผู้ชำนาญโรคหัวใจบางรายแนะนำให้กินอาหารเสริมโคเอนไซม์ คิวเทนเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อบาดเจ็บที่อาจเป็นผลมาจากการกินยาสแตติน เนื่องจากราว 10% ของผู้ที่กินยาสแตตินพบว่ามีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ แต่สาเหตุที่แท้จริงของอาการกล้ามเนื้อบาดเจ็บยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เพราะกล้ามเนื้อบาดเจ็บเป็นอาการที่พบได้ในผู้สูงอายุ และยังมีอีกหลายๆ สาเหตุที่อาจเป็นไปได้

หากใครที่กินยาสแตตินแล้วมีอาการกล้ามเนื้อบาดเจ็บ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเช็กให้ละเอียดว่าอาการมาจากการกินยาจริงหรือไม่ โดยอาจหยุดยาไป 1-2 เดือนแล้วลองกลับไปกินยาใหม่ (ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับพิจารณาของแพทย์เท่านั้น อย่าหยุดยาเอง) หากเป็นผลมาจากการกินยาจริงๆ แพทย์อาจพิจารณาให้ลดจำนวนการกินยาลง หรือลองเป็นยาตัวอื่น หรือจะลองกินโคเอนไซม์ คิวเทนระหว่างที่กินยาสแตตินไปด้วยและเช็กร่างกายเรื่อยๆ เพราะอาหารเสริมโคเอนไซม์ คิวเทนราคาไม่แพงมาก แต่หากกินแล้วไม่ได้ผลอะไร ก็ไม่มีความจำเป็นต้องกิน

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.