เคล็ดไม่ลับสำหรับผู้สูงอายุ ออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสม

เคล็ดไม่ลับสำหรับผู้สูงอายุ ออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสม

การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือแม้กระทั่งวัยผู้สูงอายุ สำหรับวัยสูงอายุการออกกำลังกาย จะช่วยชะลอความเสื่อมของระบบต่าง ๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุล 

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ประโยชน์ต่าง ๆ และวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุกัน เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่ดียิ่งขึ้น

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ

  1. การออกกำลังกายแบบแอโรบิก : เช่น การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน และการว่ายน้ำ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจและปอด
  2. การฝึกความแข็งแรง : เช่น การยกน้ำหนักเบา การใช้อุปกรณ์ยางยืด ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก
  3. การฝึกความยืดหยุ่น : เช่น การโยคะและการยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยให้ข้อต่อต่าง ๆ เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
  4. การฝึกสมดุล : เช่น การยืนบนขาข้างเดียว การเดินบนเส้นตรง ช่วยลดความเสี่ยงของการหกล้ม

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

  1. ช่วยชะลอความชรา
  2. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี
  3. กล้ามเนื้อแข็งแรงและทนการทำงานได้นานขึ้น
  4. กล้ามเนื้อและข้อต่อยืดหยุ่นดีขึ้น
  5. การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ มีการประสานกันดีขึ้น
  6. ช่วยเรื่องการทรงตัว
  7. เพิ่มภูมิต้านทาน
  8. ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
  9. ช่วยลดน้ำหนักตัว
  10. ช่วยลดความเครียด
  11. ทำให้นอนหลับพักผ่อนดี

ท่าออกกำลังกายง่ายๆ สำหรับผู้สูงอายุ

  1. ท่าย่ำเท้าอยู่กับที่ : ยืนตรง ยกมือเท้าเอว จากนั้นย่ำเท้าสลับซ้าย-ขวา ต่อเนื่องกันไปประมาณ 1-2 นาที
  2. ท่าวาดมือขึ้น เท้าแตะข้าง : ยืนตรง กางขาออกเล็กน้อย จากนั้นออกแรงยกมือขึ้นเหนือศีรษะ ระหว่างยกมือขึ้นให้เตะขาซ้ายออกไปด้านข้าง ปลายเท้าแตะพื้น ลดมือลงพร้อมกับดึงขากลับมาสู่ท่าเริ่มต้น จากนั้นสลับข้าง
  3. ท่าโบกแท็กซี่ : ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ จากนั้นก็โบกไปมาตามจังหวะของเพลง สามารถเปิดเพลงที่มีจังหวะเร็วเพื่อสร้างความสนุกสนานได้ตามใจชอบ
  4. ท่ากางศอก หุบศอก : ยืนตรง จากนั้นยกแขนขึ้นตั้งฉากกับลำตัว ตั้งข้อศอกงอ จากนั้นหุบศอกเข้าหากันและกางออก ทำเป็นจังหวะช้า ๆ ตามเพลง
  5. ท่าเท้าเอว หมุนไหล่ : ยืนตรง แยกขาออกจากกันเล็กน้อย นำมือทั้งสองข้างเท้าเอวและหมุนไหล่ไปทางด้านหน้าเบา ๆ จากนั้นก็หมุนกลับไปด้านหลัง ท่านี้ได้บริหารไหล่ ช่วยทำให้หัวไหล่สบาย คลายปวดเมื่อยได้ดีสำหรับผู้สูงอายุ
  6. ท่าบริหารลำตัว : ยืนตรง ยกมือเท้าเอว จากนั้นบิดลำตัวไปทางซ้ายช้า ๆ จนสุด แล้วบิดตัวกลับมาทางขวา สลับกันไปมาประมาณ 15 ครั้ง
  7. ท่าแกว่งแขน : แกว่งไปข้างหน้าเบา ๆ แต่แกว่งกลับไปด้านหลังให้แรงกว่า ทำซ้ำประมาณ 10 นาทีในช่วงแรก แล้วค่อยเพิ่มเวลาหรือทำท่าออกกำลังกายอื่น ๆ

          อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายในผู้สูงอายุให้ได้ผลดีนั้น ผู้สูงอายุต้องออกกำลังกายเป็นประจำ และควรออกกำลังกายตามความเหมาะสมของตนเอง ไม่หักโหมจนเกินไป และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่ดียิ่งขึ้นได้

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.