"ภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง" คืออะไร? สาเหตุ และวิธีป้องกัน
ภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm) คืออะไร?
ภาวะหลอดเลือดโป่งพอง เกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดที่อ่อนแอ ซึ่งโดยทั่วไปจะขยายพองขึ้น บ่อยครั้งเรียกว่าเป็น "ภาวะการโป่งพอง" ของหลอดเลือด ภาวะหลอดเลือดโป่งพองตามปกติเกิดขึ้นตามหลอดเลือดแดงที่สำคัญที่อยู่ลึกภายในโครงสร้างสมอง ในระหว่างการผ่าตัดเมื่อเข้าใกล้บริเวณที่เกิดหลอดเลือดโป่งพอง เนื้อเยื่อสมองที่เป็นปกติจะต้องถูกผ่าแยกอย่างระมัดระวังเพื่อเปิดออก ภาวะหลอดเลือดโป่งพองอาจเกิดขึ้นได้ในสมองส่วนหน้า (ระบบไหลเวียนส่วนหน้า) หรือส่วนหลังของสมอง (ระบบไหลเวียนส่วนหลัง)
ภาวะหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysms) พบได้บ่อยเพียงใด
ประมาณร้อยละ 1.5 ถึง 5 ของประชากรทั่วไปมีอาการหรือจะเกิดอาการภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง คนระหว่างร้อยละ 0.5 และ 3 ที่มีภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพองอาจเกิดอาการเลือดไหลได้
ภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพองมีความแตกต่างกันออกไป ตามขนาดของบริเวณหลอดเลือดที่มีอาการ ภาวะหลอดเลือดโป่งพองมีขนาดแตกต่างกันออกไป เช่น
- ภาวะหลอดเลือดโป่งพองขนาดเล็กมีขนาดเล็กกว่า 5 มม. (1/4 นิ้ว)
- ภาวะหลอดเลือดโป่งพองแบบปานกลาง มีขนาด 6–15 มม. (1/4 ถึง 3/4 นิ้ว)
- ภาวะหลอดเลือดโป่งพองขนาดใหญ่ มีขนาด 16–25 มม. (3/4 ถึง 1 1/4 นิ้ว)
- ภาวะหลอดเลือดโป่งพองขนาดยักษ์ มีขนาดใหญ่กว่า 25 มม. (1 1/4 นิ้ว)
ภาวะหลอดเลือดโป่งพองมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง
โดยทั่วไป การรักษาภาวะหลอดเลือดโป่งพอง สามารถทำได้ใน 3 แนวทาง ได้แก่
- การรักษาทางการแพทย์
- การผ่าตัดสมอง
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาระบบประสาท (Neurointerventionalist) หรือประสาทรังสีแพทย์ (neuroradiologist)
การรักษาขึ้นอยู่กับขนาดของภาวะหลอดเลือดโป่งพอง ตำแหน่งและรูปร่าง และแม้แต่ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคลด้วย อาการนี้อาจสามารถรักษาได้จากภายในหลอดเลือด อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อเปิดหลอดเลือด โดยขึ้นอยู่กับขนาดของสภาวะการโป่งพอง ตำแหน่งที่เกิดและรูปร่าง และแม้แต่ปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย อาจใช้วิธีการรักษาแบบภายใน (ภายในหลอดเลือด) อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อเปิดหลอดเลือดด้วย ขึ้นกับประเภทการรักษา มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ต้องทำสองประการ เพื่อติดตามผลหลังการรักษาสภาวะหลอดเลือดโป่งพอง
- การผ่าตัดแล้วใช้คลิปหนีบ (clipping)
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาระบบประสาท (Neurointerventionalist) หรือประสาทรังสีแพทย์ (neuroradiologist)
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในการรักษาภาวะหลอดเลือดโป่งพอง
กว่าที่ภาวะหลอดเลือดโป่งพองจะได้รับการรักษาอย่างปลอดภัยมักจะเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกซ้ำ และทำให้สมองเสียหายเพิ่มขึ้น ถ้าหลอดเลือดปกติได้รับความเสียหาย อาจทำให้เกิดความเสียหายกับสมองมากขึ้น กรณีนี้ อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตที่แขนหรือขา พูดหรือเข้าใจลำบาก สูญเสียการมองเห็น สับสน สูญเสียความทรงจำและ/หรืออาการชัก และยังอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสูญเสียความรู้สึก การติดเชื้อ เลือดออก รวมทั้งไตได้รับความเสียหายจากสีย้อมเอ็กซเรย์ และปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ความเสี่ยงเหล่านี้จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างระมัดระวังเมื่อตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา และถ้าภาวะหลอดเลือดโป่งพองไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดเลือดออกหรือก้อนเลือดมีขนาดโตขึ้นได้
ตามปกติ สภาวะหลอดเลือดโป่งพองไม่ได้มีมาแต่กำเนิด คนส่วนมากมักมีอาการนี้หลังอายุ 40 ปี ไปแล้ว ในบางกรณี ซึ่งไม่บ่อยนักภาวะหลอดเลือดโป่งพองอาจเป็นภาวะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านสมาชิกในครอบครัว
ในกรณีอื่นๆ ภาวะหลอดเลือดโป่งพองอาจเกิดจากการติดเชื้อ การใช้ยาเสพติด เช่น แอมเฟตามีน และโคเคนที่ทำลายหลอดเลือดสมอง หรือการได้รับบาดเจ็บที่สมองโดยตรงจากอุบัติเหตุ Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.