4 สัญญาณอันตรายที่เสี่ยง "หัวใจวายเฉียบพลัน"
แม้ว่าโรคมะเร็ง เบาหวาน ตับ ไต จะน่ากลัวมากก็จริง แต่ถ้าเทียบกับโรค “หัวใจวายเฉียบพลัน” แล้ว ที่เทียบกันไม่ติดเลยคือ ระยะเวลาที่แสดงอาการของโรค เพราะส่วนใหญ่คนมักไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคหัวใจอยู่ เลยไม่ทราบว่ากำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ดังนั้นจึงไม่มีการเตรียมตัวอะไรทั้งสิ้น และมีเวลาแค่ไม่กี่นาทีก่อนถึงมือหมอ ทำให้โอกาสรอดชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมีน้อยมากเหลือเกิน
ดังนั้น Sanook Health ขอแนะนำวิธีสังเกตง่ายๆ ว่าตัวคุณเอง หรือคนรอบข้างของคุณกำลังอยู่ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลันหรือไม่ เพราะไม่ว่าคุณ หรือใครก็ตาม มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ทั้งนั้น
หัวใจวายเฉียบพลัน หลักการจำง่ายๆ นึกถึงคำว่า F A S T เข้าไว้
F = Face
มุมปากข้างใดข้างหนึ่งตกลงมาโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่สามารถบังคับให้มุมปากกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้
A = Arms
ไม่สามารถยกแขนขึ้นได้พร้อมกันทั้งสองข้าง หรือไม่สามารถยกแขนข้างใดข้างหนึ่งได้
S = Speech
วิธีการพูด การออกเสียงเปลี่ยนไป จู่ๆ ก็เริ่มพูดไม่ขัด พูดจายานคราง ไม่คล่องปาก ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง
T = Tongue
ลิ้นพันกัน ลิ้นคับปาก ลิ้นอาจจจะพลิก หรือบิด โดยที่ร่างกายไม่สามารถบังคับทิศทางของลิ้นได้เอง
พฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันได้
-
อ้วน : บางครั้ง การปล่อยให้ตัวเองมีน้ำหนักที่เกินมาตรฐาน หรือจะเรียกให้เข้าใจว่า อ้วน นั้นแหละ ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ และเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการทำงานของหัวใจ มีสารพัดโรค ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง , ไขมันในเลือดสูง , โรคเบาหวาน , โรคหัวใจ เป็นต้น มีสาเหตุมาจากการมีไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตติดขัด จนกระทั่งหัวใจขาดเลือดและเสียชีวิตอย่างกะทันหัน
-
รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง : อาหารจำพวก เบเกอรี่ เค้ก เนื้อสัตว์ติดมัน ชีส อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารจำพวกปิ้งย่างทำให้เกิดการสะสมของไขมันในเลือดสูง เรียกว่า คอเลสเตอรอล ซึ่งเจ้าไขมันชนิดนี้หากมีการสะสมมากก็จะไปอุดตันอยู่ในหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
-
ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากจนเกินไป : หากร่างกายได้รับคาเฟอีนในจำนวนที่มากจนเกินไป อาจทำให้ร่างกายเสียสมดุลของสารเกลือแร่ เสี่ยงต่อการเกิดอาการชักเกร็ง , หลังแอ่น , ปอดแฟบ , ความดันโลหิตพุ่งสูงอย่างเฉียบพลัน ทำให้หัวใจถูกบีบรัดมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวจนถึงแก่ชีวิตได้ เพิ่มเติม ปริมาณคาเฟอีนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายจะอยู่ที่ราว 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 5,000 - 10,000 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่ แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ความสามารถในการขับคาเฟอีนจากร่างกายของแต่ละคนด้วย
-
ขาดการออกกำลังกาย : เมื่อไม่ออกกำลังกาย ก็จะเป็นที่มาของความอ้วน ซึ่งพออ้วนก็จะเสี่ยงต่อโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิต และโรคเรื้อรังอื่นๆ อีกมาก หากไม่ออกกำลังกายเลย การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตก็อาจไม่คล่องตัว เกิดเป็นตะกรันไขมันขึ้นมาเกาะตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดเดินทางไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ไม่ดี ซ้ำร้ายกว่านั้น อาจเกิดภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด ทำให้หัวใจขาดเลือดได้
-
ออกกำลังกายมากเกินไป : ไม่ออกกำลังกายเลยก็ไม่ดี ออกกำลังกายมากไปก็ยิ่งไม่ดี เรื่องแบบนี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคหัวใจทั้งแบบรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ได้ หากออกกำลังกายมากจนเกินความพอดี ก็จะเป็นการไปเพิ่มภาระให้กับระบบหัวใจและปอดให้ต้องทำงานอย่างหนัก ไปจนกระทั่งสูญเสียความสามารถในการทำงาน และกล้ามเนื้อหัวใจก็ตายลงไปในที่สุด ฉะนั้น หากออกกำลังกายแล้วรู้สึกเหนื่อย เหนื่อยมากจนหอบและพูดคุยไม่ได้แม้จะเป็นคำสั้นๆ แนะนำว่าให้ลดการออกกำลังกายลง (Cool Down) และหยุด จากนั้นให้นอนพัก อย่าฝืนออกกำลังกายต่อ ที่สำคัญมากๆ คือ อย่าหยุดออกกำลังกายกะทันหัน เพราะจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
-
ใช้สารเสพติด : พฤติกรรมที่ชอบเสพยาเสพติด อาทิ โคเคน แอมเฟตามิน อิฟีดริน หรือได้รับยาบางชนิดเกินขนาด ก็อาจส่งผลให้หลอดเลือดมีการหดตัวอย่างรุนแรง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้เช่นกัน
-
ช็อก : การเกิดภาวะช็อก มีสาเหตุมาจากการสูญเสียเลือดในปริมาณมากๆ เช่น ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุแล้วเสียเลือดมาก ส่งผลให้หัวใจไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง หรือเกิดภาวะที่หัวใจขาดเลือด
-
สูบบุหรี่ : บุหรี่ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดการหดตัว มีการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตับลงจนเกิดเป็นภาวะหัวใจขาดออกซิเจน เส้นเลือดหัวใจตีบจนทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ เมื่อเป็นอย่างนั้นก็จะมีอาการจุกเสียด เจ็บหน้าอก อาการจะชัดเจนเมื่อออกกำลังกาย เกิดโอกาสเสี่ยงที่จะมีภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้อย่างไม่รู้ตัว
-
เสียใจอย่างหนัก สะเทือนใจอย่างรุนแรง : ความรู้สึกที่รุนแรงก็อาจส่งผลให้ถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ทางการแพทย์จะเรียกว่า ภาวะหัวใจสลาย หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติทาโคสึโบะ โดยที่ภายในร่างกายของผู้ป่วยจะมีการหลังของฮอร์โมนความเครียดออกมามากกว่าปกติและเฉียบพลัน อีกทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อหัวใจและหลอดเลือด ที่อาจเกี่ยวกับภาวะที่หัวใจด้านซ้ายไม่สามารถทำงานได้อย่างปกตินอกจากนี้ อาการที่เกิดขึ้นก็ยังอาจมีส่วนเกี่ยวข้องมาจากสมองที่มีการหลังสารแคทีโคลามีน หรือสารสื่อประสาท อาทิ อีพินีฟริน , นอร์อีพิเนฟริน และโดพามีน ในขณะที่ผู้ป่วยมีความเครียดสูง หรือมีสิ่งที่มาทำให้เกิดความสะเทือนใจอย่างรุนแรง เหตุการณ์ตัวอย่าง เช่น สูญเสียคนรักอย่างกะทันหัน ไม่ว่าจะเป็น พ่อ , แม่ หรือญาติที่สนิท เหตุการณ์ต่อมา คือ เจอกับความผิดหวังที่ทำให้เสียใจอย่างหนัก ทำให้หลอดเลือดหัวใจเกร็งและแข็งตัว เลือดจึงไม่สามารถที่จะผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้ และยิ่งหากเกิดเป็นเวลานาน หัวใจจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว และอาจร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
- เครียดง่าย : ผู้ที่ต้องทำงานหนักๆ และมีความเครียดสูง นับเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติมากที่สุด เนื่องจากความเครียดจะเข้าไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ตลอดจนเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงมีไขมัน เกิดการอักเสบต่างๆ ตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดง เสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเครียดมากๆ และมีความเครียดอยู่เป็นประจำ
8 อาการที่เข้าข่ายเสี่ยงเป็น "หัวใจวายเฉียบพลัน"
- ใจสั่น : หัวใจเต้นเร็ว ไม่สม่ำเสมอ ใจสั่น บางครั้งอาจมีอาการเหนื่อยหอบจะเป็นลม
- เหนื่อยง่าย : ในความเป็นจริงแล้วอาการเหนื่อยง่ายก็มีอยู่หลายสาเหตุ แต่ก็เป็นหนึ่งในอาการของโรคหัวใจด้วยเช่นกัน จะเป็นอาการเหนื่อยในลักษณะเหนื่อยง่าย หายใจเร็ว บางครั้งหอบจนแทบจะพูดไม่ได้ ต้องสังเกตด้วยว่ามีเสียงขณะที่หายใจด้วยหรือไม่ ถ้ามีอาการเหนื่อยง่ายอยู่เป็นประจำก็เข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและหาทางแก้กันต่อไป
- ขาบวม : เมื่อการสูบฉีดเลือดของหัวใจทำได้ไม่ดี ก็อาจทำให้เกิดอาการขาบวมผิดปกติ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ
- เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก : อาการเจ็บหน้าอก หรือแน่หน้าอกนี้ หลายคนอาจจำสับสนกับโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากบางครั้งก็อาจจะรู้สึกเจ็บ หรือแน่นร้าวไปถึงแขนได้ ลักษณะของการจุกจะเหมือนกับโดนกดทับที่หน้าอก ต้องลองสังเกตและแยกอาการให้ถูกต้อง
- หน้ามืด วูบ เป็นลมบ่อย : เนื่องจากหัวใจมีการหยุดเต้น จึงทำให้หมดสติไปชั่วคราวได้ หากเกิดอาการเช่นนี้บ่อยๆ ไม่ควรปล่อยไว้ ต้องรีบเดินทางไปพบแพทย์ในทันที
- ตื่นกลางดึกเพราะหายใจลำบาก : บางครั้งเราก็ต้องการอากาศหายใจที่มากกว่าปกติ จึงทำให้นอนไม่ได้ เป็นเหตุให้ต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อหายใจ หรือไอให้รู้สึกโล่ง
- เมื่อนอนหงายแล้วหายใจลำบาก : ทุกครั้งที่ลงนอบราบ หรือนอนหงาย มักจะหายใจลำบาก หรือรู้สึกแน่นจนหายใจไม่เป็นปกติ
- ชอบเข้าห้องน้ำกลางดึก : หากตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกที่ไม่ใช่แค่ไปปัสสาวะ แต่ยังมีอาการอื่นเกิดร่วมด้วย ก็ต้องรีบเดินทางไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแล้วล่ะ
วิธีช่วยเหลือผู้ที่อาจอยู่ในภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
เมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ “ความเร็ว” จึงเป็นสิ่งสำคัญ เบื้องต้นคุณควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่เบอร์ 1669 หรือหากสะดวก และโรงพยาบาลอยู่ไม่ไกล สามารถขับรถพาผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลเองได้ (แต่ก็ต้องโทรไปแจ้งทีมแพทย์เพื่อเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเมื่อผู้ป่วยไปถึงทันทีเช่นกัน) ระหว่างที่กำลังรอการช่วยเหลือควรให้ผู้ป่วยนอนหงาย เอียงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และสังเกตอาการเป็นระยะๆ หากเริ่มมีอาการหัวใจหยุดเต้น ควรรีบทำ CPR โดยด่วน
- CPR ปั๊มหัวใจ ทำตอนไหน? ทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง?
วิธีป้องกันภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
หลายคนมีความประมาทในชีวิต ไม่เข้ารับการตรวจร่างกายประจำปี ด้วยเข้าใจว่าร่างกายแข็งแรงดีไม่มีโรคภัยไข้เจ็บอะไร และยังออกกำลังกายเป็นประจำอีกด้วย แต่โรคนี้ก็ใช่ว่าจะไม่เคยส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้ามาก่อน เพราะหากคุณเคยรู้สึกเจ็บ หรือแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกาย เดินหรือวิ่งขึ้นบันไดหลายชั้น เต้น หรือเริ่มทำกิจกรรมอะไรหนักๆ นั่นหมายความว่าคุณเริ่มมีสุขภาพหัวใจที่ไม่แข็งแรง ดังนั้นควรรีบเข้ารับการตรวจหัวใจโดยด่วน
- โรคหัวใจวายเฉียบพลัน ตรวจร่างกายปกติอาจไม่พบ ต้องใช้วิธี EST
นอกจากนี้ เรื่องของอาหารการกินก็สำคัญ เพราะหากทานอาหารที่ก่อให้เกิดไขมันอุดตันเส้นเลือดมากเกินไป เช่น เนื้อติดมัน อาหารปิ้งย่าง รวมไปถึงเบเกอรี่ ขนมหวานน้ำตาลสูงต่างๆ ก็เป็นสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจวายได้เช่นกัน
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.