ดร.วิโรจน์ กุศลมโนมัย เดินเครื่องรถสามล้อซูโมต้าเร่งยอดขายด้วย R&D

จุดแจ้งเกิดรถสามล้อซูโมต้า (SUMOTA) มาจากแรงบันดาลใจของดร.วิโรจน์ กุศลมโนมัย ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร บริษัท ซูโมต้า มอเตอร์ จำกัด ที่ได้มีโอกาสเห็นการใช้งานรถสามล้อทั้งในญี่ปุ่นและจีน เมื่อครั้งที่ตัวเขาไปติดต่อธุรกิจการค้าเครื่องครัวที่เขาก่อตั้งขึ้นหลังเรียนจบปริญญาตรี การตลาด (BB.A in Marketing) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ด้วยมองว่ารถสามล้อบรรทุก น่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีในการ ใช้งานเพื่อตอบโจทย์ด้านด้านโลจิสติกและขนถ่ายสินค้า 

ต่อมาจึงได้ขอความช่วยเหลือ จากวิศวกรชาวญี่ปุ่นคือ Toshimichi Matsuda  ให้ช่วยออกแบบและพัฒนารถสามล้อให้สามารถบรรทุกได้ถึง 1 ตัน ภายใต้แบรนด์ซูโมต้า ในปี 2545 จากรถต้นแบบฮาร์เล่ (Harley-Davidson) ด้วยเงินทุนตั้งต้น 1 ล้านบาท จนพัฒนามาสู่รถสามล้อพลังช้างและรถสามล้อจอมพลังในปัจจุบัน ที่ล่าสุดวางเป้าหมายว่าจะผลิตให้ได้ถึงปีละ 1,000 คัน และทำยอดขายถึง 100 ล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้า 

ดร.วิโรจน์ย้อนภาพกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ก่อนแจ้งเกิดผลิตภัณฑ์รถสามล้อคันแรก (ที่ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นแบรนด์ซูโมต้า) ว่าใช้ราว 1 ปี โดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นร่างพิมพ์เขียวปรับปรุงใน  5 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย

1) โครงสร้าง คือเพิ่มน้ำหนักของเหล็กและน้ำหนักตัวรถอีก 25% ให้หนาและใหญ่ขึ้น เพื่อให้แข็งแรง 2) เครื่องยนต์ต้นกำลัง ปรับขนาดเครื่องยนต์จากปกติ 150 ซีซี เป็น 250 ซีซี พร้อมติดตั้งหม้อน้ำ ลูกสูบ เกียร์ คลัช และมัดไฟเพิ่ม 3) ระบบรองรับน้ำหนัก ที่ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม ทั้งกะทะล้อ ยางร่องใหญ่  แหนบเสริม และ โช้คอัพก้ามปู 4) ระบบส่งกำลัง ที่เพิ่มเฟืองท้ายและเกียร์สไลด์ทดแรง และ 5) ระบบความปลอดภัย โดยจำกัดวงเลี้ยวและเบรก 3 ล้อพร้อมกัน

นับแต่รถสามล้อคันแรกพร้อมวางขายเราใช้เวลาทดลองตลาดถึง 4 ปี โดยเริ่มทำตลาดกับลูกค้ากลุ่มเกษตรกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมก่อน จนปีที่ 5 จึงเริ่มใช้แบรนด์ซูโมต้า ที่ต้องการเชื่อมโยงกับนักกีฬาซูโม่ (Sumo) เพราะต้องการสื่อถึงการเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพซึ่งมีพื้นฐานจากวัตกรรมญี่ปุ่นและความแข็งแรงสมารถบรรทุกได้มาก

ต่อยอด R&D ตอบโจทย์ลูกค้า

อย่างไรก็ตามหลังจาก R&D ครั้งใหญ่ในระยะเริ่มแรกแล้ว แต่รถสามล้อซูโมต้าก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีมาตรฐานขึ้นอีกในทุก ๆ ปี จนปัจจุบันยังได้รับความร่วมมือเพิ่มเติมทางด้านการผลิตอะไหล่ร่วมถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ จากไต้หวันและจีนอีกด้วย อีกทั้งเริ่มพัฒนารถพลังงานไฟฟ้าเมื่อปี 2561  

รวมถึงยกระดับการออกแบบและดีไซน์ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะสำหรับลูกค้ากลุ่มองค์กรทั้งเอกชนและราชการ จนขณะนี้รถสามล้อซูโมโต้มีทั้งรุ่นที่ใช้พลังงานน้ำมันและพลังงานไฟฟ้ารวมแล้ว 22 รุ่น (ราคาพื้นฐานที่ 100,000 ถึง 500,000 บาท) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ 

1.รถสามล้อบรรทุกไฟฟ้า เพื่อการพาณิชย์ EV TRICYCLE TRUCK: HIGH VOLTAGE EV ได้แก่ รุ่นรถ E-GO4 – 5 , V-STORM, V-THUNDER, V-MAX , V-TITAN

2. รถสามล้อบรรทุกเบนซิน เพื่อการพาณิชย์ ICE TRICYCLE TRUCK : GOLD ENGINE ได้แก่ รุ่นรถ SMARTY130,E-STRONG 130, E-BUMBLE 175, E-MAX200, I-JUMBO250 ,E-TITAN 200

3.รถสามล้อเฉพาะกิจ VIP TRICYCLE ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย

3.1 รถสามล้อเก็บขยะทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันสำหรับงานเทศบาลและกรุงเทพฯ Metro Garbage Tricycle รุ่นรถ V-GREEN/ E-GREEN 250, V-GAP/ E-GAP 250
3.2 รถสามล้อต่อเติมหลังคาตามสั่ง Customized Commerical Tricycle ทั้งน้ำมันและไฟฟ้าเช่น รถอีโก้ต่อเติมหลังแบบประหยัดเพื่อกันแดดกันฝน รถคาร์โก้ ตู้ทึบขนส่งสินค้า รถฟู้ดทรัค ตู้ปีกนกสำหรับขายอาหาร และ รถโมบายช็อป ร้านค้าเคลื่อนที่ รถไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้ในโรงพยาบาล
3.3 รถสามล้อโดยสารตุ๊กตุ๊กสำหรับบริการนักท่องเที่ยวทั้งพลังงานไฟฟ้าและ น้ำมัน Giant Tuk Tuk รุ่นรถ V-TUKKY/ E-TUKKY 200, V-GIANT/ E-GIANT 200 รถสามล้อไฟฟ้าอัจฉริยะ SMART TRICYCLE : MinimaX รุ่นรถ i-Style , i-Style 150 รถตุ๊กตุ๊กยักษ์ใหญ่ทีใช้ออกแบบผสมผสานระหว่างตุ๊กตุ๊กไทยกับรถกอล์ฟไฟฟ้าจนสามารถโดยสารได้ถึง 9 คน และยังมีแร๊กกิ้งบนหลังคาใส่สัมภาระได้อีกด้วย เป็นต้น

4. รถสามล้อไฟฟ้าอัจฉริยะ SMART TRICYCLE : MinimaX รถสามล้อส่วนบุคคล ได้แก่ รุ่นรถ i-Style , i-Style 150 ตอบโจทก์ รถสามล้อไฟฟ้าในเมือง ขนาดเล็ก กะทัดรัด สวย น่ารัก MICROCITY CAR เล็กพริกขี้หนูและอเนกประสงค์ ที่มีกระบะบรทุกสินค้าด้านหลัง

ทั้งนี้ดร.วิโรจน์มองว่าปัจจัยหลักที่ทำให้รถสามล้อของซูโมต้าแจ้งเกิดและมียอดขายเข้ามาเรื่อย ๆ จากการบ่อต่อของลูกค้าเก่านั้น มาจากกลยุทธ์ของบริษัทที่ยึดถือเป้าหมายหลัก 6 ด้านคือ 1. คุณภาพของสินค้า 2. ความปลอดภัย 3. การใช้งานได้ทุกพื้นที่และสภาพถนน 3.สามารถจดทะเบียนได้ 5. ผ่อนดาวน์ได้ 6. มีอะไหล่ทุกชิ้น

จากเดิมที่เคยขายได้ 50-100 คันต่อปี แต่หลังช่วงโควิด ตอนนี้ขายอยู่ประมาณ 300-400 คันต่อปี เพราะได้มีการพัฒนาใหม่ ๆ และยึดกลยุทธ์หนึ่งเดียวคือตามใจลูกค้า  เพื่อตอบโจทย์การใช้งานขององค์กรต่าง ๆ พร้อมขนส่งให้ฟรี จึงมียอดสั่งสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เจาะกลุ่มเฉพาะ-ส่งตลาดเพื่อนบ้าน 
สำหรับแผนธุรกิจของสามล้อซูโมต้าที่ดร.วิโรจน์วางเกมไว้คือเน้นทำตลาดกับลูกค้า 8 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มเกษตรกรรม กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าตามตลาดต่าง ๆ กลุ่มโลจิสติกส์ กลุ่มวัด กลุ่มหน่วยงานราชการหรือเทศบาล กลุ่มโรงพยาบาล และกลุ่มโรงแรม โดยเฉพาะปีหน้าคาดว่าจะมีรายได้จากกลุ่มราชการเพิ่มขึ้นเป็น 50% ของรายได้รวม หลังจากที่มียอดสั่งซื้อรถเก็บขยะอัจฉริยะจากกทม.

ส่วนแผนงานที่จะขยายการเติบโตในต่างประเทศนั้น ดร.วิโรจน์ตั้งเป้าว่าภายในไม่เกิน 2 ปีจะสามารถทำยอดขายได้ราว 500-600 คันต่อปีได้แล้ว  บริษัทก็น่าจะมีกำลังทุนเพียงพอไปเปิดตลาดเพื่อนบ้าน ด้วยการไปตั้งโรงงานผลิตเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ ซึ่งเชื่อว่าหลังบวกตลาดส่งออกไปแล้วสามล้อซูโมต้าจะมียอดขายทะยานขึ้นถึง 10,000 คันต่อปีได้เลย สำหรับประเทศที่น่าจะเริ่มต้นก่อนคือกัมพูชา เวียดนาม และสปป.ลาว  

ตลาดกัมพูชา สปป.ลาว และเวียดนาม หากมีกำลังทุนไปเปิดโรงงานก็พร้อมขายได้เลย เพราะปัจจุบันก็มีลูกค้าจาก 3 ประเทศนี้สั่งสินค้าจากเราอยู่แล้ว แต่รายได้จากการส่งออกอยู่ที่เพียง 5% ของรายได้รวมเท่านั้น

ถอดบทเรียน Smart SME 

ดร.วิโรจน์ แบ่งปันบทเรียนของการเป็นผุ้ประกอบการ SME ทฤษฎีแรกคือ การศึกษาหาความรู้และข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง แต่ขอให้มุ่งเน้นในสิ่งที่ควรรู้และมีประโยชน์กับการทำธุรกิจของเรา ทฤษฎีสองคือต้องรู้ว่าทุกสิ่งต่างมีวัฏจักร นั่นคือธุรกิจส่วนใหญ่จะเริ่มจากขาดทุนก่อนดังนั้นหากจะเริ่มทำต้องมีสายป่าน (ทุน) มากพอที่จะใช้ประคับประคองธุรกิจให้ไปต่อได้จนกว่าจะเริ่มทำกำไรแล้วเติบโตยั่งยืนได้ 

รวมถึงต้องรู้ว่าปัจจัยใดคือกุญแจแห่งความสำเร็จของธุรกิจ เพื่อจะได้ให้น้ำหนักกับการดูแลในจุดนั้น เช่นเดียวกับที่ต้องรู้ว่าปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจประกอบด้วยส่วนไหนบ้าง เพื่อจะได้บริหารจัดการได้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังแบ่งปันสูตรทำธุรกิจที่เรียกว่า 4 กล้า เพื่อการพัฒนาตัวเอง ได้แก่ กล้ารู้ กล้าลุ้น กล้าลอง และกล้าลุย

ท้ายสุดดร.วิโรจน์ย้ำว่าเขาไม่เคยรู้สึกท้อถอยปัญหาหรืออุปสรรคในการทำธุรกิจ โดยให้เหตุผลว่า "ท้อไม่ได้ครับ เราเป็นหนี้เขา เราต้องทำ เพราะว่ามีภาระ เหมือนเราเป็นซูโม่ที่แบกภาระต่าง ๆ อยู่ ทั้งพนักงาน โรงงาน และหนี้สิน"

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.