เปิด "วิธียื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์" ง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง
ใกล้ถึงกำหนดทุกปีที่มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้ ทั้งมือใหม่ และเก่า ต้อง "ยื่นภาษีเงินได้" หรือ ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี เพื่อแสดงรายได้และที่มาของรายได้ ซึ่งวิธีการยื่นภาษีสามารถทำได้ ทั้งการยื่นภาษีด้วยตนเองผ่านสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์(ออนไลน์) ตามที่กรมสรรพ กำหนดเริ่มให้ยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.-เม.ย.2568 โดยการยื่นผ่านระบบออนไลน์ถือเป็นอีกวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด ผ่านเว็บไซต์ของกรมกรรพากร
ซึ่ง วิธีการยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ทำได้ง่ายๆดังนี้
เอกสารที่ต้องเตรียม ก่อนยื่นภาษีเงินได้ปี 2567
- เอกสารแสดงรายได้ ได้แก่ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ
- รายการลดหย่อนภาษี ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา บุตร หรืออุปการะคนพิการ เป็นต้น
- เอกสารประกอบกรลดหย่อนภาษี เพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ และสิทธิลดหย่อนจากโครงการรัฐบาล เป็นต้น
ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์
1. เข้า web site ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th
2. เลือกรายการ e-FILING
3. เข้าใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการสมัครใช้บริการ
4. หลังจากนั้น เข้าระบบตามขั้นตอน โดยกำหนดยื่นไว้ดังนี้
5. ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ
แล้ว คลิก "ตกลง" เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ
6. เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบ "คำนวณภาษีแล้ว"
6.1 กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ
- โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ
- กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทันที
6.2 กรณีมีภาษีต้องชำระ
(1) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของ ธนาคารนั้น
(2) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระภาษีจะถูกส่งจากกรมสรรพากรไปยังธนาคารโดยตรง เมื่อผู้เสียภาษียืนยันการทำรายการของระบบชำระเงินของธนาคารแล้ว ธนาคารจะแจ้งผลการทำรายการ เช่น ผลการโอนเงิน การยกเลิกการทำรายการ เป็นต้น ส่งให้กรมสรรพากรแบบทันทีทันใด (Real Time)
(3) หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับ (2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก
ขั้นตอนการชำระภาษี
เมื่อได้ทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว และเป็นกรณีที่มีภาษีต้องชำระ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระภาษีทั้งจำนวนในวันใดก็ได้ภายในกำหนดเวลายื่นแบบ โดยมีทางเลือกในการชำระภาษีวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
1. การชำระภาษีผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์
1.1 การชำระภาษีผ่าน e-payment เป็นระบบการชำระเงินพร้อมกับการยื่นรายการข้อมูลตามแบบ
- ผู้ใช้บริการต้องทำความตกลงกับธนาคารไว้แล้ว
- เลือกธนาคารที่ต้องการสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระภาษี
- ทำรายการโอนเงินตามขั้นตอนของธนาคาร
- เมื่อทำรายการโดยครบถ้วนแล้วโปรแกรมจะแจ้ง หมายเลขอ้างอิง การยื่นแบบฯ และชำระภาษีให้
- กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่แสดงในแบบให้โดยเร็ว
1.2 การชำระวิธีอื่น
- เลือกบริการชำระภาษี
- ป้อนข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รหัสควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องชำระที่ได้จากโปรแกรมการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต
- หากข้อมูลตามข้อ (2) ถูกต้องธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเข้าบัญชีกรมสรรพากรเพื่อชำระภาษี
- กรมสรรพากร จะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ในแบบฯให้โดยเร็ว
*หมายเหตุ กรณีชำระผ่านเครื่อง ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้น
2. การชำระเงินทางไปรษณีย์ Pay at Post ให้นำรายการข้อมูลที่ได้รับจากระบบได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัสควบคุม จำนวนเงินภาษี ไปชำระเงินภาษีอากรได้ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ปณ.ชุมแสงสงคราม จ. พิษณุโลก) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ให้โดยเร็ว
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.