คลัง จ่อออกพันธบัตรออมทรัพย์ วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ช่วงไตรมาส 1 ปี68

นายพชร อนันตศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.มีแผนจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond) กระทรวงการคลังในไตรมาส 1 ปี 2568 วงเงินรวม 3-5 หมื่นล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา คาดว่าจะมีอายุประมาณ 3 ปี และ 5 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการออกพันธบัตร 1 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ

สิ่งที่สบน.จะต้องพิจารณาถึงสถานะเงินคลัง รวมถึงสถานการณ์ตลาดในช่วงเวลานั้นด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมนวัตกรรมเพื่อมีความน่าตื่นเต้น และน่าสนใจสำหรับประชาชน นักลงทุน 

       สำหรับการออพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาถึงข้อดีและข้อเสีย ต้องพิจารณาความเหมาะสมรอบด้าน ภายใต้เงื่อนไข ต้องคุ้มค่า ต้นทุน และความเสี่ยงหากออกไป รวมถึงจังหวะที่เหมาะสมในการออกจำหน่ายที่ชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนของส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศจะต้องไม่ห่างกันมาก ดังนั้นสบน.ยังไม่รีบออกเพราะต้นทุนค่อนข้างสูง จากส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังห่างกันถึงเท่าตัว และตามกฎหมายระบุว่า หากจะดำเนินการออกพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศ จะต้องมีการระบุชัดเจนว่าจะนำเงินไปใช้ในโครงการอะไร ไม่สามารถนำมาใส่ไว้ในงบชดเชยขาดดุลได้

สบน.จะต้องพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มค่าว่าทำแล้วได้ใช้ประโยชน์อะไร นำเงินมาทำอะไร จะใส่ไปงบประมาณเพื่อชดเชยการขาดดุลก็คงไม่ได้ รวมทั้งดูถึงอัตราดอกเบี้ยตลาด ซึ่งในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ยังสูงอยู่ที่ 4% ขณะที่ดอกเบี้ยของไทยอยู่ที่ 2.5% ถือว่ายังห่างกันมาก ซึ่งเป็นส่วนต่างที่ห่างกันถึงเท่าตัว ทำให้สบนง.ยังไม่รีบออก แม้นักลงทุนต่างชาติแสดงความสนใจสอบถามเข้ามาจำนนวนมากก็ตาม

 

      นายพชร ยังระบุถึงการสำรวจความต้องการลงทุน (Book Build) ในพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond: SLB) เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2567 ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างล้นหลาม โดยนักลงทุนมีการเสนอวงเงินซื้อพันธบัตรรวมทั้งสิ้น 55,285 ล้านบาท คิดเป็น 2.76 เท่าของวงเงินการออก 20,000 ล้านบาท ที่ประกาศไว้และทำให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถออก SLB ได้ในวงเงิน 30,000 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 2.70% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ 2.73% ต่อปี
 

      โดยมีนักลงทุนหลากหลายกลุ่มเข้าร่วม อาทิ กลุ่มบริษัทประกันชีวิต กลุ่มกองทุน กลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ กลุ่มบริษัทจัดการสินทรัพย์ และกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งการออก SLB ในครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลไทยเป็นรัฐบาลประเทศแรกในเอเชีย และรัฐบาลที่สามของโลกที่ประสบความสำเร็จในการออก SLB ต่อจากรัฐบาลของประเทศชิลีและอุรุกวัย

 

      ทั้งนี้ SLB ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน โดยผู้ออกพันธบัตรจะต้องปฏิบัติตามตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์  และเป้าหมายด้านความยั่งยืน ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยในครั้งนี้ KPIs ประกอบด้วย 1. ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ไม่รวมการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้) โดยมี SPTs ไม่เกิน 388,500 ktCO2e ในปี พ.ศ. 2573 (คิดเป็นปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก 30% จากค่า Business As Usual (BAU)) และ 2. ปริมาณการจดทะเบียนใหม่ของรถที่ปลดปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicles : ZEVs) ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ (Passenger Car and Pick-Up Trucks) โดยมี SPTs ไม่ต่ำกว่า 440,000 คัน ในปี พ.ศ. 2573
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.