คลัง จ่อปรับลดภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง มุ่งลดภาระประชาชน

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในส่วนของอัตราภาษี และความเหมาะสม ให้เกิดความครอบคลุม รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งจะมีการหารือร่วมกันกับภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นผลในเชิงบวกต่อภาคเอกชนและภาคประชาชนให้มากที่สุด 

 

“ การเปรับปรุงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่มองว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังขยายตัวไม่ดีนัก และยังอ่อนแอดังนั้นอัตราภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีที่ดินฯ หรือภาษีอื่นๆ อะไรที่ปรับก็ต้องปรับ อะไรที่ควรเพิ่มเติมก็ต้องเพิ่ม แต่ภาษีต้องไม่เป็นภาระและซ้ำเติมประชาชน รวมทั้งเศรษฐกิจด้วย” นายเผ่าภูมิกล่าว

 

ส่วนที่ภาคอสังหาฯเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธอปท.ต่ออายุมาตรการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย(LTV) ที่จะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค.2565 นั้น คลังก็ได้มีการหารือในเรื่องหนีกับธปท.อย่างต่อเนื่อง แม้ขณะนี้ธปท.ยังไม่เห็นด้วย แต่คลังก็จะหารือต่อไป รวมถึงมาตรการทางสินเชื่อของสถาบันการเงินด้วย เพราะเรามองว่า ต้องมีมาตรการเพื่อมาสนับสนุนภาคอสังหาฯของไทยให้ขยายตัวต่อไปได้ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนิ้ 

 

“อยากให้มองว่า เราไม่สามารถมองในมิติเดียวว่า การปล่อยสินเชื่อประชาชนจะไปก่อหนี้ หรือจะทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นเพียวงอย่างเดียว แต่เราต้องมองในแง่ผลบวกต่อเศรษฐกิจด้วย ซึ่งเรามีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญต่อการระมัดระวังความเสี่ยง แต่จะต้องไม่ไปกระทบการเติบโต หรือการพัฒนาของเศรษฐกิจ” นายเผ่าภูมิกล่าว 

 

ส่วนสถานการณ์ที่อยู่อาศัยเหลือขายจำนวนมากนั้น รัฐบาลก็เห็นว่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาของประเทศไทย โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิด ที่ซัพพลาย ทั้งในแนวราบ และแนวสูง ที่มีจำนวนเหลือขายค่อยข้างสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ได้ดี ทำให้คนไม่มีกำลังซื้อ ซึ่งตอนนี้เรื่องของซัพพลายก็มีการปรับตัวมากขึ้น เมื่อซัพพลายเดิมยังมีอยู่ ก็ต้องปรับซัพพลายใหม่ให้ลดลงเพื่อเกิดความสมดุลกับกำลังซื้อที่แท้จริงของประชาชน 


 

อย่างไรก็ตามภาครัฐไม่ควรไปแตะ กลไกลตลาด ระหว่างการปรับตัวของซัพพลายกับดีมานเพื่อให้มันขยายตัวเท่ากัน ต้องปล่อให้เป็นไปตามธรรมชาติ รัฐเพียงช่วยอำนวยความสะดวกให้กลไกลเหล่านี้ทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราจึงจำเป็นต้องมีมาตรการทางภาษี เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน และมีมาตรการทางการเงินเพื่อเข้าไปช่วยประชาชน

 

นอกจากนี้ ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ยังเป็นอีกปัญหาวงการอสังหาฯ และเป็นปัญหาภาพรวมของเศรษฐกิจไทยด้วย เพราะสถาบันการเงินไทยค่อนข้างระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ขณะที่แบงก์เองก็มีสถานะการเงินที่มีความแข็งแกร่งมาก แต่ยังทำหน้าที่เป็นกลไกลที่ดีพอในการช่วยผลักดันเศรษฐกิจ ดังนั้นต้องพัฒนา ให้มีการสนับสนุนเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดรับความเสี่ยง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อ ภาคธุรกิจเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น 

 

“ต้องคุยกันเพื่อหาจุดสมดุลระหว่างเสถียรภาพ กับศักยภาพเศรษฐกิจ แม้มีเสถียรภาพแต่ไม่มีศักยภาพก็ไม่เป็นประโยชน์กับประเทศ  หรือศักยภาพโตเร็ว แต่ขาดเสถียรภาพเศรษฐกิจประเทศก็จะเสียหาย ดังนั้นตรงนี้ต้องทำให้สมดุลกัน เพเราะปัจจุบันมองว่า ไม่สมดุลกัน เพราะยังอิงเสถียรภาพมากกว่าศักยภาพมากเกินไป”นายเผ่าภูมิ กล่าว
 

ทั้ง ในปี 2567 รัฐบาลได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นมาตรการด้านภาษี และมาตรการเงิน โดยมาตรการด้านภาษี ประกอบด้วย 5 มาตรการ


1. “ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยกู้ยืม” สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อบรรเทาภาระของผู้มีเงินได้

 

2. “การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ร้อยละ 90 ของภาษีที่ต้องเสียให้แก่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ไม่เกิน 3 ปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ประกอบการระหว่างการก่อสร้าง

 

3. “การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” สำหรับทรัพย์ส่วนกลางที่มีไว้เพื่อใช้ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

4. “การขยายเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ในปี 2567 เป็นการทั่วไปออกไปอีก 2 เดือน

 

5. “มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย” ลดค่าจดทะเบียนการโอนจากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1 และลดค่าจดทะเบียนการจำนองจากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 ที่จดทะเบียนในปี 2567

 

มาตรการทางการเงิน ประกอบด้วย 2 มาตรการ
1. “โครงการบ้านล้านหลัง” สนับสนุนประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาที่ไม่สูง โดย ธอส. สนับสนุนสินเชื่อผ่อนปรน วงเงิน 20,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี

 

2. “โครงการสินเชื่อ Happy Life” สนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง วงเงินกู้ต่อรายตั้งแต่ 2.5 ล้านบาทขึ้นไป ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ร้อยละ 2.98 ต่อปี ดอกเบี้ยต่ำที่สุดในปีแรกที่ร้อยละ 1.95 ต่อปี

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.