นายกฯ มั่นใจ กรอบความตกลงศก.ดิจิทัลอาเซียน สร้างมูลค่ากว่า 2ล้านล้านเหรียญ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์การเดินทางมาร่วมการประชุมอาเซียน-ออสเตรเลียระหว่างวันที่ 4-6มี.ค.ว่า การเดินทางมาครั้งนี้ได้เพิ่มโอกาส สร้างประโยชน์ให้ประเทศ และประชาชนไทยอย่างมาก การเดินทางครั้งนี้เพื่อส่งเสริมถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย ภายใต้ 3 สามเสาหลักของอาเซียน คือ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยถือเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ 50 ปีอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน 

ในฐานะตัวแทนประเทศไทย ได้กล่าวถึงสิ่งที่ประเทศไทยพร้อมผลักดันในสองด้านหลักได้แก่ 1.ความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ ได้แก่ ด้านแรก การค้าการลงทุน เพิ่มมูลค่าทางการค้าผ่านกรอบความร่วมมือต่างๆ ด้านที่สอง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไร้รอย Seamless ด้านที่สาม ด้านดิจิทัลโดยได้เริ่มพัฒนาเจรจาความตกลง DEFA (Digital Economy Framework Agreement) ซึ่งจะสร้างมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ด้านสุดท้ายที่มีความสำคัญมากคือ ด้านประชาชน การติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างประชาชนผ่านการส่งเสริม Soft Power และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลือด้านการเชื่อมโยงด้านการตรวจลงตราระหว่างกัน 

2. การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งไทยสามารถร่วมกับ ออสเตรเลีย ทำให้เกิดระบบนิเวศน์ EV ครบวงจร รวมถึงการออก Sustainability bonds

เชื่อมั่นว่า จะเกิดความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคผ่านการมีเป้าหมายร่วมกัน และจะเกิดความร่วมมือเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ เกิดการพัฒนา จะต้องไม่ลืมที่จะต้องรับมือกับ Climate Charge ร่วมกันด้วย โดยประเทศไทยได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะร่วมมืออย่างเต็มที่ในกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของภูมิภาค
 

นายเศรษฐากล่าวว่า ได้พบหารือกับผู้นำ 4 ประเทศ ในการพบหารือกับผู้นำลาว พูดถึงการค้าชายแดน หารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้พูดคุยถึงสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นโอกาสให้พูดคุยเรื่องโอกาส เห็นด้วยว่า ควรเริ่มพูดคุยแนวทางการแก้ปัญหาจากการเพิ่มโอกาส ส่วนการพบกับผู้นำออสเตรเลียนั้น ได้พูดคุยเรื่องการสนับสนุนการนำเข้าแรงงานไทยมาทำงานด้านการเกษตรที่ออสเตรเลีย ขอบคุณที่ออสเตรเลียที่ดูแลนักเรียนไทยอย่างต่อเนื่องมาตลอด ขณะที่การพบหากับนิวซีแลนด์ ได้พูดคุยกันอย่างเป็นกันเองครับทั้งในเรื่องของ Visa Free และในปีนี้ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์มีกำหนดการเดินทางไทยในช่วงเดือนเมษายน 2567

สำหรับการพบหารือกับฝ่ายเอกชน ได้หารือกับผู้นำเอกชน 6 บริษัทใหญ่ซึ่งเป็นบริษัทสำคัญทั้งในด้านอุตสาหกรรม พลังงานสะอาด และด้านกองทุน เชื่อมั่นมากว่าประเทศไทยคนไทยจะได้ประโยชน์จากการเดินทางครั้งนี้

นอกจากนี้ตน พร้อมด้วยผู้นำอาเซียนและนายแอนโทนี แอลบาเนซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ยังได้เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลีย ภายใต้หัวข้อ ASEAN-Australia Cooperation under ASEAN’s Three Community Pillarsยินดีที่อาเซียนและออสเตรเลียได้ร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลีย โดยออสเตรเลียนับเป็นประเทศแรกที่ได้รับสถานะประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ทั้งสองฝ่ายต่างมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือให้ใกล้ชิดมากขึ้น จนนำไปสู่การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน เสนอให้ที่ประชุมฯ ใช้โอกาสที่สถานการณ์โลกปัจจุบันได้แบ่งเป็นหลายขั้ว กระชับความร่วมมือทั้งภายในภูมิภาคและระดับโลก เพื่อนำมาซึ่งสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองของอาเซียนและออสเตรเลีย ผ่านการผลักดันความร่วมมือระดับโลก นำมาซึ่งสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองของอาเซียนและออสเตรเลีย ผ่านการผลักดันความร่วมมือ ได้ระบุ 2 ประเด็นเร่งด่วนซึ่งจะทำให้เกิดสันติสุข และความมั่นคง 

ประการแรก การส่งเสริมความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อในทุกมิติซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาเซียนและออสเตรเลียได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพอย่างเต็มที่ ผ่านการสนับสนุนความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ ประกอบด้วย 1.ความเชื่อมโยงการค้าและด้านการลงทุน ซึ่งจะส่งเสริมมูลค่าทางการค้าระหว่างกัน ผ่านการเชื่อมโยงตลาดการค้าและใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งกรอบ RCEP และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area: AANZFTA)

2.ความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการขนส่งอย่างไร้รอยต่อ โดยเสนอให้ออสเตรเลียซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านระบบการจัดการท่าเรือ กระชับความร่วมมือกับอาเซียน ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาเอกสารแนวทางสำหรับท่าเรืออัจฉริยะ รวมทั้งเชิญชวนออสเตรเลียเข้ามาร่วมลงทุนใน โครงการ Landbridge EEC ระบบขนส่งทางราง และสนามบินด้วย

3.ความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล ผ่านการลงทุนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันอาเซียนกำลังพัฒนากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (ASEAN Digital Economy Framework Agreement: DEFA) ที่ถือเป็นกรอบข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลฉบับแรกของโลก คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนได้ 2 เท่า เป็น 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หวังว่าออสเตรเลียจะใช้ข้อริเริ่มออสเตรเลียสำหรับอาเซียน (Aus4ASEAN) เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของอาเซียนในอนาคตด้วย

4.ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนด้วย Soft power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ต้องการการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่กับการส่งเสริมการไปมาหาสู่ระหว่างกันของประชาชน ซึ่งไทยหวังว่าทุนจากออสเตรเลียที่มอบให้นักเรียนในอาเซียน รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ ASEAN – Australia จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม และการอบรมเพิ่มพูนทักษะ ระหว่างกันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งหวังว่าออสเตรเลียจะอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าให้กับประเทศในอาเซียน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการดำเนินธุรกิจระหว่างกันให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ประการที่สอง การส่งเสริมวาระสีเขียวในภูมิภาค โดยสนับสนุนการลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียว และการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ซึ่งออสเตรเลียสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับอาเซียน ในการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า การลงทุนในพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน การเงินสีเขียวผ่านพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หวังว่าออสเตรเลียจะร่วมแบ่งปันเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการจัดการคาร์บอน และตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อรองรับยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (The ASEAN Strategy for Carbon Neutrality)
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.