กฟผ.ลุยหานวัตกรรมใหม่ รับเทรนด์พลังงานอนาคต

นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการ วิจัยนวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยในงานสัมมนา PostToday Smart City ภายใต้หัวข้อ Smart Life : ยกระดับชีวิตคนไทยในเมืองต้นแบบ Smart City ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ว่า บทบาทของ กฟผ.กับการรักษาความมั่นคงทางด้านพลังานของไทย ถือเป็นหน้าที่และเป็นพันธกิจขององค์กร 

ทั้งนี้ กฟผ.ถือเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน เมื่อเทรนด์พลังงานมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กฟผ.ได้เดินหน้าการใช้นวัตกรรมเพื่อช่วยให้การใช้ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงในทุกพื้นที่ของประเทศไทย

โดยปัจจุบันในยุคพลังงานหมุนเวียน สิ่งที่ กฟผ.ทำจะต้องปรับเปลี่ยนแหล่งผลิต และทำระบบส่งไฟฟ้าให้พร้อมที่จะรับพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ที่จะผันผวนเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานแดด เนื่องจากไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งที่ผ่านมา กฟผ.ได้ร่วมกับทบวงพลังงานโลก (IEA) ในการพัฒนา Renewable Forecast Center เป็นเฟสแรก ส่วนเฟส 2 จะพัฒนา Energy Storage โดย กฟผ. อยู่ระหว่างเสนอรัฐบาลในการทำ Energy Storage ขนาดใหญ่  

อย่างไรก็ตาม ในระยะถัดไปอาจจะไม่เพียงพอที่จะรองรับ เพราะฉะนั้น กฟผ.จะต้องเริ่มหานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ เทคโนโลยีไฮโดรเจน, เทคโนโลยีการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (CCS) และพลังงานฟิวชัน เป็นต้น 

สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมพลังงานของไทยกับแนวทาง Net Zero เพื่อลดผลกระทบของ Climate change โดยในเรื่องนี้ กฟผ.ได้ดำเนินการในทุกมิติ ผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.เปลี่ยนแปลงแหล่งผลิต 2.ทำสมาร์ทกริด และ 3.ทำซัพพอร์ท ร่วมกับ Regulator และอีกหลายหน่วยงานในการสร้างกรีน ทารีฟ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุน รวมไปถึงการทำเรื่องของการโปรโมทอีวีอีโคซิสเต็มส์ และการโรมมิ่งแอพพลิเคชั่นอีวี 

ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กฟผ.ได้ดำเนินการตาม 7 สมาร์ทด้านเทคโนโลยี ได้แก่ Smart Energy, Smart Environment, Smart Mobility, Smart Living, Smart economy, Smart people และ Smart Governance ในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น แม่ฮ่องสอน เพื่อแก้ปัญหาไฟดับบ่อย เพราะเป็นจังหวัดเดียวที่สายส่งไปไม่ถึง กฟผ. ได้นำระบบสมาร์ทกริดเข้าไปดำเนินการขยายไปยังพื้นที่แม่เมาะ 

"สมัยรัชกาลที่ 7 ต้องการเก็บพื้นที่นี้ไว้เป็นแหล่งพลังานของประเทศ ปัจจุบันเราทำให้สามารถมีส่วนร่วมในการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ถึง 20% ซึ่งเมื่อมีการใช้พื้นที่ผลิตไฟแล้วคนจะอยู่อย่างไร ดังนั้น ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เราเริ่มจากโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ นำสมาร์ทต่างๆ เข้ามาพัฒนาทั้งในสวนสัตว์เชียงใหม่ รวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่สามารถสร้างคน สร้างงาน ให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น รวมถึงคนที่เข้าร่วมชมภายในงานได้เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น” นายวฤต กล่าว 

นอกจากนี้ เพื่อสร้างสังคมให้น่าอยู่และมุ่งสู่เมืองเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ กฟผ. ได้เริ่มพัฒนาพื้นที่แม่เมาะ โดยร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชน นำเทคโนโลยีสร้างให้สังคมมีรายได้ ทำเกษตรแนวตั้ง พัฒนาให้เป็นเกษตรกรที่คุณภาพสูง พัฒนาอาหารเกษตรเพื่อใช้ในการแพทย์ ทำป่าชุมชน เศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมทำท่องเที่ยเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมกิจกรรมที่มีโซลาร์เซลล์ มีการจัดเก็บข้อมูลด้าต้าแพลตฟอร์ม เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ยังช่วยในเรื่องของการบริหารจัดการอากาศ โดยการนำเอาเศษข้าวโพดเหลือทิ้งของชาวเกษตรกรมาบริหารจัดการในโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อลดการเผาและลดการเกิด PM2.5 อีกทั้งยังอยู่ระหว่างศึกษาการบริหารจัดการกากขยะเกษตรกรรมสู่เชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อบริหารจัดการขยะให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้แบบยั่งยืน ซึ่งปัจจุบัน กฟผ. ได้นำร่องใช้รถบัสอีวีรับส่งพนักงานที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะแล้วเกือบ 30 คัน โดยเป็นรถบัสในรูปแบบของแบตเตอรี่ 100%

“วันนี้คุยกับรัฐบาลว่าจะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสีเขียว เมื่อไม่มีการขุดเหมือง หรือทำโรงไฟฟ้าแล้ว เพราะทุกบริษัทเอกชนต่างต้องการผลผลิตที่ไม่ใช่เฉพาะการใช้ไฟสีเขียวอย่างเดียวแล้ว แต่ต่างก็ต้องการสาธารณูปโภคที่เป็นกรีนทั้งหมด” นายวฤต กล่าว 

นายวฤต กล่าวว่า อีกตัวอย่างที่ทำในแม่ฮ่องสอน เพื่อแก้ปัฯญหาไฟดับ เพราะต้องเดินสายไฟไกล ส่วนใหญ่เป็นลุ่มน้ำ โดย กฟผ.ได้ใส่แหล่งผลิตไฟแบบโซลาร์ให้มีระบบบริหารจัดการพลังงานที่ชาญฉลาด โดยนำเอาแบตเตอรี่เข้ามาบริหารจัดการเป็นระบบอัจฉริยะในอาคารราชการต่างๆ รวมถึงสถานีชาร์จรถอีวี ให้เป็นซูเปอร์ชาร์จเจอร์ เพื่อให้คนได้เข้าถึงผ่านแพลตฟอร์ม EleXA ถือเป็นสิ่งที่ กฟผ.พยายามสร้างให้เกิด Smart City 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.