ดร.สวนิตย์ย้ำควรเปิดให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมให้มุมมองและหนุนSmart city
ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ คณะทำงาน BCG สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) กล่าวในงาน PostToday Smart City ถึงการผลักดันไทยสู่ Smart City ว่า ส.อ.ท. ที่เป็นกลุ่มตัวแทนภาคเอกชนที่มีถึง 10,000 รายนั้น มองภาพรวมประโยชน์ของ Smart City ใน 3 มิติ คือ ESG (Environment Social Corporate Governance) ทางด้านความยั่งยืน โดยเฉพาะการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการลด PM 2.5 และ Climate Change อีกทั้งผลักดันเรื่องการมีส่วนร่วมในการเข้าถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม ตลอดจนเป็นการบริหารอย่างโปร่งใส
"ในส่วนของสภาอุตสาหกรรมฯ เองเราก็พร้อมเป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่จะตอบโจทย์ Smart City ในแง่มุมของทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งหมด เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างประโยชน์มูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศด้วย"
สำหรับบทบาทของส.อ.ท. ซึ่งเป็นภาคเอกชนก็พร้อมส่งเสริมนโยบาย Smart City ในฐานะการนำเสนอทั้งบริการและผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ในหลายแง่มุมไม่เพียงแต่เฉพาะเรื่องอัจฉริยะอย่างเดียว แต่ต้องตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนด้วย เช่น สินค้าสีเขียว สินค้าที่ดูแลสังคมสิ่งแวดล้อม สินค้าที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อน Future Mobility เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเป็น ecosystem ทั้งหมด เพราะส.อ.ท.คงไม่สามารถทำเรื่องดังกล่าวสำเร็จได้เพียงลำพัง
สำหรับประเด็นในแง่การประเมินผลนั้น ดร.สวนิตย์ให้มุมมองว่า Smart City Index มีหลายด้านและมีขอบข่ายกว้างมาก แต่มองว่าการมีความพร้อมเรื่องบ้าน เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องผลักดัน เพราะมองว่าควรต้องเริ่มจากมีบ้านเป็นหลักแหล่งก่อน ที่จะใส่โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ด้าน Smart City เข้าไป
นอกจากนี้คือเครื่องขนส่งมวลชนสาธารณะหรือ Public Transportation ที่อยากให้เกิดการบูรณาการมากว่านี้ เช่น บัตรเดียวใช้โดยสารได้ทุกระบบ ก็เป็นอีกจุดที่ควรทำให้เกิดขึ้น เช่นเดียวกับด้านการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาอาจประเมินศักยภาพของเด็กรุ่นใหม่ต่อเกินไป แต่มองว่าน่าจะผลักดันให้เด็กรุ่นใหม่ได้แสดงความเห็นและความคิดสร่างสรรค์ เพราะจะเป็นผู้ใช้จริงในอนาคต จึงอยากให้เป็นการเสนอแนะและการออกแบบโดยให้คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น
"ขออนุญาตฝากในเรื่องการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยก็ทำด้าน Smart City ได้ดีระดับหนึ่งแล้วก็ตาม"
รวมถึงมองว่า Mindset ของคนที่เกี่ยวของ Smart City เป็นจุดสำคัญ ที่ต้องพึ่งพาเรื่องการสื่อสารแบบสองทางที่เข้มข้น แต่ภาครัฐก็ได้ผลักดันไปมากแล้วในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามมองว่ายังมีจุดที่สามารถเติมเต็มด้าน Smart City ได้มากกว่านี้ คือ ต้องเร่งสร้างบุคลากรตั้งแต่วันนี้ ดังนั้นการศึกษาในโรงเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ทั้งนี้มองว่าถ้าไม่ใส่หลักสูตรเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปในโรงเรียนด้วย เพราะทุกวันนี้เยาวชนหรือคนรุ่นใหม่ต้องไปหาความรู้และไปสร้างโปรแกรมต่าง ๆ นอกโรงเรียน ซึ่งสุดท้ายแล้วไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นหากเราใส่ความรู้เรื่อง Smart City ในหลักสูตรการศึกษาก็จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมที่เกิดจากคนไม่ใช่เป็นแค่โรงสร้างพื้นฐาน จึงหวังว่าในปี 2050 น่าจะได้เห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงได้
นอกจากนี้ดร.สวนิตย์ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากกรุงเทพมหานครแล้วยังมีจังหวัดอื่น ๆ ที่เป็นเมืองรองน่าจะมีศักยภาพผลักดันให้เป็น Smart City ได้ด้วย โดยเฉพาะหลังจากช่วงโควิดระบาดแล้วเริ่มมีผู้คนกลับไปอยู่บ้านเกิดของตัวเอง ซึ่งเป็นเมืองรองต่าง ๆ น่าจะได้มีส่วนในการให้ความเห็นและช่วยออกแบบจังหวัดหรือบ้านเกิดของตัวเองให้เป็น Smart City ได้ เช่น แม่ฮ่องสอน
ดร.สวนิตย์ยังเล่าถึงบทบาทของส.อ.ท.ในส่งเสริมคุณภาพชีวิตและพัฒนาเมืองว่า จะเน้นในแง่นำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ทั้งในแง่ ESG และ BCG เพื่อตอบโจทย์ประเทศในแง่ความยั่งยืน ทั้งนี้มองว่าในอนาคตน่าจะได้เห็น Thai Green Directory (TGD) เพื่อที่จะไปตอบโจทย์ด้าน Smart City เพิ่มขึ้นด้วย
"อยากให้รัฐบาลผลักดันและรับฟังประเด็นต่าง ๆ ไปด้วย เพื่อจะได้ทำงานร่วมกัน เดินไปด้วยกัน เพื่อให้ไปได้ไกลมากขึ้น"
พร้อมทิ้งท้ายถึงการพัฒนาให้กรุงเทพมหานครเป็น Smart City โดยรวมถือว่าทำได้ดี แต่ยังมีจุดที่ต้องหักคะแนนอยู่คือเรื่องชุมชนแออัด เรื่องพื้นที่สีเขียว และการเชื่อมโยงระบบ Mobility
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.