‘AIS’ ดันวางโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่เมือง

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิค AIS กล่าวถึงนโยบายผลักดันไทยสู่ Smart City ในงาน  PostToday Thailand Smart City 2024 จัดขึ้น ณ โรงแรม Grand Hyatt Erawan กรุงเทพฯ ว่า

‘ การทำให้เมืองมีความสมาร์ทขึ้น วัตถุประสงค์ต้องมุ่งไปที่การทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยการปรับปรุงความเป็นอยู่ของเมือง เพื่อตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และคนในชุมชน’

โดยการพัฒนาเมืองให้เข้าสู่ Smart City มีพัฒนาการขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ Smart City 1.0 ซึ่งเป็นการนำเซนเซอร์ และ IoT ไปติดตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ดาต้ามาประกอบการตัดสินใจอย่างแม่นยำมากขึ้น ต่อจากนั้นจึงการพัฒนาขึ้นไปอีกโดยเอาระบบทั้ง 2 ไปผนวกกับผู้คนอย่างเช่น การติดตั้งในระบบมือถือ ต่อมาจึงเข้าสู่การสร้างข้อมูลของเมืองโดยเมืองเป็นเจ้าของข้อมูลและเปิดให้เอกชนเข้าไปใช้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเมือง

 

ในปัจจุบัน เอไอเอสมองว่าทิศทางการสร้าง Smart City ในปัจจุบันคือการสร้าง Smart City Platform โดยดูว่าข้อมูลที่เก็บมานั้นสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้

‘เมืองมีปัญหาอะไรบ้าง? ก็ทำโครงการเป็นเรื่องๆ ไป เช่น ปัญหาจราจร ปัญหาขยะ’

แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นการแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องๆ ไป ซึ่งเป็นการสร้างผลกระทบในระดับกลางไปจนถึงเล็กเท่านั้น

‘ เมื่อต้นปีผมได้ไปที่สภาเมืองที่นิวยอร์ก ก็พบว่าสภาเมืองพบปัญหาเรื่อง โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล (Digital Infrastructure) แม้จะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่เมืองแมนฮัดตัน แต่ทันทีที่โควิดมา มีความต้องการเข้าถึงพื้นที่ดิจิทัลมากขึ้นในส่วนอื่น เมืองจึงออกกติกาว่าหากเอกชนจะติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลในบริเวณเศรษฐกิจ จำเป็นต้องไปติดตั้งที่บริเวณอื่นซึ่งต้องการด้วย’

 

ตัวแทนเอไอเอสย้ำว่า วิสัยทัศน์ของเอไอเอสคือการทำ Best Digital Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ดีที่สุด) โดยมองว่าเหมือนการสร้างสาธารณูปโภค เช่น น้ำและไฟ โดยเอไอเอสเริ่มต้นจากการวางสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ภูเขาของจังหวัดเชียงราย โดยพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นที่นั่นอย่างชัดเจน เมื่อผู้คนเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทั้งการเรียนของเด็ก ทำให้เด็กสามารถพัฒนาตัวเอง รวมไปถึงทำให้ครอบครัวสามารถติดต่อกันได้แม้จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ฯลฯ

‘ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ และเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น’

นอกจากนี้แม้การวางโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณมาก แต่เมื่อมองนโยบายของภาครัฐในปัจจุบันก็คิดว่าดำเนินไปในทิศทางเดียวกันและสามารถช่วยกันทำสิ่งนี้ได้ และองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

 

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ ย้ำว่าการที่จะสร้าง Smart City ให้สำเร็จได้ ต้องมีภาพว่าในอนาคตอยากให้เมืองพัฒนาและมีรูปร่างอย่างไร และควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ ส่วนที่สำคัญคือต้องให้ความต้องการของประชาชนเป็นส่วนสำคัญ แล้วจึงนำเอาเทคโนโลยีทั้งระบบ IoT หรือเซ็นเซอร์ เข้าไปแก้ไขปัญหาและสร้างเมืองตามความต้องการดังกล่าว

‘เมืองไม่ได้สมาร์ทเพราะเทคโนโลยี แต่เมืองจะสมาร์ทถ้าการใช้เทคโนโลยีนั้นทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น’

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.