กฤษฎีกาตีความปม"บิ๊กโจ๊ก"นายกฯต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติก่อน
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ลงนามในความเห็น เรื่องเสร็จที่ 637/2567 บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤฎีกา เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชไว้ก่อน กรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัย
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ที่มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน ความเห็นว่า กรณีตามข้อหาดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน พล.ต.อ.สุรเชษฐ์แล้ว ตามมาตรา 105 มาตรา 108 มาตรา119 และมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ในวันเดียวกันกับที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าวออกจากราชการไว้ก่อน นอกจากนี้ยังปรากฎข้อเท็จจริงว่า พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนต่อคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมข้าราชการตำรวจแล้ว
เมื่อพิจารณาข้อหารือและข้อเท็จจริงเพิ่มเติมดังกล่าว เห็นว่า มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า เมื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งให้พล.อ.สุรเชษฐ์ ออกจากราชการไว้ก่อน นายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อนหรือไม่ และจะต้องดำเนินการเมื่อใด
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่2) เห็นว่า มาตรา 131 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 บัญญัติให้การสั่งให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร. ซึ่งปัจจุบัน ก.ตร. ยังไม่ได้ออกกฎ ก.ตร.
จึงเห็นว่า ข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนฯ มิได้ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2565 ดังนั้น ในการสั่งให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ นายกรัฐมนตรีจะต้องนำความกราบบังคับทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน
สำหรับกรอบระยะเวลาที่จะต้องนำความกราบบังคมทูลฯ เมื่อพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ไม่ได้บัญญัติระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการในกรณีนี้ไว้ จึงเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีที่จะต้องพิจารณาดำเนินการด้วยความรอบคอบภายในระยะเวลาอันเหมาะสมตามควรแก่กรณีต่อไป
อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) มีข้อสังเกตว่า ในการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายใดพ้นจากตำแหน่งนั้น โดยที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของการสั่งให้ข้าราชการรายดังกล่าวออกจากราชการไว้ก่อนอย่างรอบคอบให้เป็นที่ยุติเสียก่อน
ดังนั้น กรณีจึงเห็นได้ว่าการสั่งให้พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ออกจากราชการไว้ก่อน หากเป็นการปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นย่อมจะทำให้การพิจารณาเหตุแห่งการกระทบสิทธิของผู้นั้นและความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนชอบด้วยกระบวนการตามกฎหมายและเป็นธรรมแก่ผู้ถูกสอบสวน และการนำความกราบบังคมทูลตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นไปด้วยความชอบธรรม
คลิ๊กอ่านรายละเอียดฉบับเต็ม
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.