'ทวี'แจงทักษิณรับอานิสงส์รัฐบาลเก่า-'จุรินทร์'ฟาดตรรกะวิบัติปมคุกทิพย์
ที่รัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 32 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส. บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายรัฐบาลว่า ขอตั้งคำถามว่า นายกฯมีนโยบายนำคุกทิพย์โมเดลที่ทำลายหลักนิติธรรมยับเยินมาใช้ซ้ำสองหรือไม่
คำถามที่สองคือ ระเบียบใหม่ที่กระทรวงยุติธรรมจะออกเรื่องการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิคุมขังนอกเรือนจำ ขอถามว่าระเบียบดังกล่าวรวมคดีทุจริต คดี 157 ได้ด้วยหรือไม่และรวมหรือไม่ ถ้าให้นักโทษ 157 ติดคุกที่บ้านได้ เท่ากับรัฐบาลส่งเสริมการทุจริตมุมกลับ ระบบนิติธรรมจะเกิดวิกฤติอีกครั้งเพราะเกิดจากนักโทษเทวดาตัวใหม่
คำถามที่สามเรื่องนิรโทษกรรม ขอถามนายกฯในฐานะผู้คุมเสียงข้างมากและนั่งหัวโต๊ะในคณะรัฐมนตรี เพราะนิรโทษกรรมเป็นดาบสองคมใช่ถูกสร้างปรองดอง ถ้าผิดทางสร้างความแตกแยกครั้งใหม่ ขอถามว่ารัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะนิรโทษ คดีทุจริตและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ด้วยหรือไม่ ที่ถามเพื่อส่งสัญญาณเตือนนายกฯและพวกพ้องว่าอย่าได้คืบเอาศอก เพราะในอดีตเคยมีคนพังเพราะไม่รู้จักพอมาแล้ว เพราะวันนี้มีคนร้ององค์กรต่างๆเรื่องนักโทษเทวดาทั้งหมด 24 เรื่อง พูดเพื่อเตือนนายกฯและรัฐบาล ว่าสิ่งที่นายกฯและพวกทำกับหลักนิติธรรมประเทศไว้จะเป็นระเบิดเวลาระเบิดใส่ตัวเองในอนาคต ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์บรรดาลให้ทุกท่านดวงตาเห็นธรรมด้วย
ขณะที่พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ลุกขึ้นชี้แจงถึงกระบวนการยุติธรรม โดย ยืนยันว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เข้าสู่กระบวนการยุติธรร ก่อนที่รัฐบาลนายกฯเศรษฐาจะเข้ามาบริหารประเทศ ขณะนั้นนายจุรินทร์ ยังเป็นรัฐบาลในการบริหารประเทศร่วมกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกฯ ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้น เพียง 1 วันก็อนุญาตให้นายทักษิณไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ชั้น 14 เมื่อเป็นยุคของท่าน ท่านใช้คำพูดอีกแบบหนึ่ง แต่พอเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องมา กลับกล่าวว่าเป็นการทำลายกระบวนการยุติธรรม
การที่นายจุรินทร์ระบุว่า “คุกทิพย์” เป็นเรื่องที่เลวร้ายมาก เพราะกฎกระทรวงที่ออกในปี 2563-2564 นายจุรินทร์เป็นหนึ่งคนที่นั่งอยู่ในคณะรัฐมนตรี และหากไปดูตามความในพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ระบุไว้ชัดเจนว่านักโทษที่ป่วย ต้องให้เข้ารับการรักษาโดยไม่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือกรมราชทัณฑ์เข้าไปเกี่ยวข้องแต่ให้เป็นความเห็นของแพทย์ ซึ่งนายทักษิณก็ไปอยู่ในกฎหมายและกฎกระทรวงที่นายจุรินทร์เป็นผู้เห็นชอบเพราะในมติครม.ไม่ได้มีการเห็นค้าน
ประมาณหนึ่งปีมีนักโทษประมาณ 50,000 กว่าคนใช้สถานที่จำคุกอื่นคือโรงพยาบาล ก็มีการหักโทษเท่ากันไม่มีการหักวันรักษาตัว แล้วต้องมาติดคุกเพิ่ม แต่เข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของความรู้สึกถ้าเป็นคนฝ่ายเดียวกับท่านท่านจะคิดอีกแบบหนึ่ง ซึ่งตนไม่อยากให้สังคมเกิดความสับสน
จากนั้นนายจุรินทร์ได้ลุกขึ้นอภิปรายหลังจากที่ได้ฟังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมชี้แจงมาแล้วหลายเวที ก็ชี้แจงในแบบเดียวกัน หลักใหญ่บอกว่ากฎหมายเกิดสมัยของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งหากกฎหมายเกิดขึ้นในสมัยนั้น สืบเนื่องมาจากรัฐบาลนี้ จะทำถูกทำผิดอย่างไรก็ได้หรือหากมีตรรกะแบบนี้คือ“ตรรกะวิบัติ”
เรื่องที่ได้อภิปรายคือเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลนี้แบบเต็ม 100คือระเบียบที่จะกำหนด คุณสมบัติให้คนที่จะไปติดคุกที่บ้านได้ว่าจะรวมคดีคอรัปชั่นหรือไม่ เรื่องนี้มันอยู่ที่ท่าน ท่านจะโทษคนอื่นไม่ได้ถ้าท่านรวม นั่นแปลว่าท่านจะส่งเสริมการคอรัปชั่นในมุมกลับขึ้น โดยฝีมือรัฐบาลโดยตรง รวมถึงได้ตั้งคำถามเรื่องนี้นิรโทษกรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดหรือไม่เกิดก็อยู่ที่รัฐบาลนี้ ตนจึงถามว่านิรโทษกรรมหากเกิดขึ้นจะรวมคดีทุจริตและ 157 ด้วยหรือไม่
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.