มติศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากฟันศักดิ์สยามพ้นตำแหน่งรัฐมนตรี


ศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย เรื่องพิจารณาที่ 8/2566 กรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 187 หรือไม่ ด้วยการลงมติด้วยคะแนนเป็นเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า

นายศักดิ์สยาม ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและยังคงเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) บุรีเจริญคอนสตัคชั่น เป็นการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 187 ประกอบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 มาตรา 4 (1) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยามสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2566 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มติเสียงข้างมากของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (7ต่อ1เสียง) วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยามสิ้นสุดลงเฉพาะตัวนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้นายศักดิ์สยามหยุดปฏิบัติหน้าที่รมว.คมนาคม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสอง โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย1 คน คือ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5)

คลิ๊กอ่านรายละเอียด ที่มา สำนักข่าวศาลรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศักดิ์สยาม ถูกตั้งข้อสังเกตจากสื่อมวลชน เมื่อปี2564 ในฐานะผู้ก่อตั้ง หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ซึ่งเป็นธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ได้โอนหุ้นกว่า 119 ล้านบาท ไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งรมว.คมนาคม ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาหรือไม่ ซึ่งบุคคลสำคัญคือเรื่องนี้คือ คือนายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์หนึ่งในพนักงานหจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่นและมีการเปลี่ยนที่ตั้งหจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่นก่อนที่นายศักดิ์สยามจะเข้ารับตำแหน่งฝ่ายบริหารได้เพียงไม่นาน 

หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่นเป็นคู่สัญญากับรัฐอย่างน้อย 60 รายการ รวมเป็นวงเงินกว่า 1,261 ล้านบาทในช่วงระหว่างปี 2558-2562 ซึ่งในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อปี 2565 นายศักดิ์สยามถูกฝ่ายค้านซักฟอกอย่างดุเดือดโดยนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.พรรคก้าวไกล ได้ตั้งคำถามว่านายศักดิ์สยามตั้ง“นอมินี”หรือตัวแทนเพื่อปกปิดทรัพย์สินของตัวเองหรือไม่

เหตุการณ์สำคัญก่อนมาเดินทางมาถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ นายศักดิ์สยามสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี คือวันที่ 26 ม.ค. 2561 โดยนายปกรณ์วุฒิ สส.ฝ่ายค้าน อ้างในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่า นายศักดิ์สยามได้โอนหุ้นของหจก.แห่งหนี้ออกไปจำนวนกว่า 119 ล้านบาทโดยไม่ปรากฎหลักฐานการชำระเงินใดๆและตั้งคำถามว่า การโอนหุ้นเป็นการขายกิจการออกไปหรือเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนชื่อเพื่อหลีกเลี่ยงทางกฎหมาย” เพราะผู้รับโอนหุ้นได้แจ้งต่อกรมสรรพากรว่ามีรายได้ระหว่างปี 2558-63 เดือนละ9,000 บาท หรือคิดเป็นปีละประมาณ 100,000 บาท 

ในการยื่นรายการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนายศักดิ์สยาม ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จากการเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. เมื่อปี 2562 ระบุว่า นายศักดิ์สยามมีทรัพย์สินร่วม 115 ล้านบาท มีเงินสดและเงินฝากราว 76.3 ล้านบาท ไม่มีหนี้สินและเงินจากการโอนหุ้นกว่า 120 ล้านบาท ที่เกิดขึ้นก่อนนายศักดิ์สยามจะเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีหายไปที่ใด
 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.