โฆษกรัฐบาล เผย แนวทางทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญปี 60 คืบหน้ากว่าครึ่ง

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ใน 4 ภาคของไทย โดยการรับฟังความคิดเห็นประชาชนคืบหน้าไปกว่าครึ่งทางแล้ว เหลืออีก 2 ขั้นตอน คือการรับฟังความคิดเห็นกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือ และกลุ่มชาวมุสลิมในภาคใต้

“รัฐบาลตั้งใจรับฟังเสียงของประชาชนทุกคน อยากให้หาจุดร่วมและเป็นที่ยอมรับให้มากที่สุด จึงได้ลงพื้นที่และเปิดรับฟังความคิดเห็นให้ทั่วถึง เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความเห็นที่เหมือนและแตกต่าง และยืนยันว่ารัฐบาลมีเจตจำนงที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย เกิดเป็นรัฐธรรมนูญที่ทุกคนสามารถยอมรับได้” นายชัยกล่าว

โดยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 คณะทำงานฯ ได้เลือกให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็นตัวแทนกลุ่มสังคมชนบท และสังคมเกษตรกร ในการแสดงความคิดเห็น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในขณะที่ภาคกลาง คณะทำงานฯ ได้ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 โดยเป็นตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม และสังคมเมือง ในการแสดงความคิดเห็น

ส่วนภาคเหนือ จะได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นตัวแทนกลุ่มประชาชนในพื้นที่ท่องเที่ยว ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ ในการแสดงความคิดเห็น 

และภาคใต้ คณะทำงานฯ ได้เลือกให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา เป็นตัวแทนกลุ่มประชาชนในพื้นที่ชายแดน กลุ่มชาวมุสลิม ในการแสดงความคิดเห็น โดยจะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 7 ธันวาคม 2566 นี้

สำหรับการประชุมของคณะกรรมการเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายนิกร จำนง ประธานอนุกรรมการฯ เผยว่าการลงพื้นที่มาแล้ว 2 ครั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทำให้พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวและสนใจเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของตนเองเป็นอย่างมาก ประชาชนเกือบทั้งหมดเห็นสมควรให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และเกือบทั้งหมดมีความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.