อาการไข้หวัดใหญ่ อาจเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้ หากไม่ได้รักษากับหมอ

นพ.ตุลย์ สุนาถวนิชย์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ ระบุว่า ไข้หวัดใหญ่ ดูเผินๆ แล้ว เหมือนจะมีอาการที่มากกว่าไข้หวัดทั่วๆ ไปเพียงเล็กน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไข้หวัดใหญ่สามารถทำให้เกิดอาการรุนแรง เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือทำให้ผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตได้  ดังนั้นไข้หวัดใหญ่จึงไม่ใช่แค่อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ทุกคนจะรอให้หายเองได้ หากแต่ผู้ป่วยต้องสังเกตอาการของตนเองและควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องอย่างเร็วที่สุด เพื่อหยุดยั้งความรุนแรงของโรค และลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน หรือเสียชีวิตได้ บุคคลที่ต้องระวังอย่างมาก คือ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ แม่หลังคลอด 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม และผู้พิการทางสมอง กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสเป็นไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า และมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่มีโรคปอดหรือถุงลมโป่งพองจะเสี่ยงเพิ่มขึ้น 100 เท่าเทียบกับคนปกติ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเสี่ยงเพิ่มขึ้น 50 เท่า และผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงเพิ่มขึ้น 5-10 เท่า

7 กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่

กลุ่มที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายที่สูงกว่าคนทั่วไป เรียกว่า กลุ่มเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย

  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ
  • ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงคุณแม่หลังคลอด 2 สัปดาห์
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่ได้รับยากดภูมิหรือยาเคมีบำบัด
  • ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม
  • ผู้มีความพิการทางสมอง


ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่

โดยภาวะแทรกซ้อนทั่วๆ ไปของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ส่วนภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พบได้มาก ได้แก่ โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม ซึ่งโรคนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงและเสี่ยงเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคปอดหรือถุงลมโป่งพองอยู่แล้ว จะเสี่ยงเพิ่มขึ้น 100 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ จะเสี่ยงเพิ่มขึ้น 50 เท่า และเสี่ยงเพิ่มขึ้น 5-10 เท่าในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากคนที่มีโรคประจำตัว มักมีภูมิคุ้มกันแปรปรวนทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีเท่ากับคนปกติ ส่วนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสเกิดไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า ซึ่งมักมีอาการรุนแรง และสามารถส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด การแท้ง รวมทั้งอาจรุนแรงจนเสียชีวิตทั้งแม่และลูกได้

ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ้าง ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปลายประสาทอักเสบ และสมองอักเสบ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยทุกคนไม่เฉพาะแต่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา อย่ารอให้อาการหนัก เพราะยิ่งรอก็ยิ่งทำให้เสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อนที่มากขึ้นทุกวินาที


ควรรักษาไข้หวัดใหญ่ ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาไข้หวัดใหญ่ได้รวดเร็วและทันท่วงทีขึ้น ก็คือ ที่ให้บริการผ่านวิดีโอคอลคุยออนไลน์กับแพทย์ ทำให้การพบแพทย์เป็นเรื่องง่ายขึ้น และสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา

การเข้ารับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่รวดเร็วนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง แต่ยังช่วยให้ผู้ป่วยทุกคนไม่ต้องทนทรมานกับอาการไข้หวัดใหญ่ ทั้งอาการปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน รวมทั้งลดโอกาสแพร่เชื้อสู่คนรอบข้าง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วมากขึ้นด้วย

อาการไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้สูง

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

  • คัดจมูก

  • น้ำมูกใส

  • ไอแห้ง

วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่

  1. ล้างมือให้สะอาด

  2. สวมหน้ากากอนามัย

  3. หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด

  4. ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ (ฉีดวัคซีน 1 เข็ม ทุกปี)

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.