วัยทองสตรองได้ เพียงเช็กสัญญาณเตือน พร้อมเข้าโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ห้ามพลาด
ช่วงวัยทองของผู้หญิง การทำงานของฮอร์โมนจะลดต่ำลง ส่งผลให้การผลิตเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลงตามไปด้วย การลดลงนี้อาจทำให้บางคนมีประจำเดือนน้อยลงหรือไม่มีประจำเดือนเลยก็ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนดังกล่าว ล้วนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการมีประจำเดือน การเจริญพันธุ์ ความแข็งแรงของกระดูก และระดับคอเลสเตอรอลเราจึงจำเป็นต้องดูแลให้ครบทุกด้าน มาดูกันว่าจะมีวิธีตรวจเช็คสัญญาณก่อนเข้าวัยทองอย่างไรบ้าง?
สัญญาณเตือนของผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะวัยทอง
- การมีประจำเดือนอาจแตกต่างกันไป ทั้งในแง่ของเวลาและความรุนแรง เช่น ประจำเดือนมาเร็ว ประจำเดือนมาช้า ประจำเดือนมามาก หรือประจำเดือนมาน้อย
- อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการที่พบบ่อย โดยจะรู้สึกร้อนบริเวณส่วนบนของร่างกายเป็นหลัก ส่งผลให้แก้ม คอ และหลังแดง ตามมาด้วยอาการเหงื่อออกและตัวสั่นในตอนกลางคืน โดยจะกินเวลาประมาณ 1-5 นาที
- ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์และกระเพาะปัสสาวะ อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ส่งผลให้เนื้อเยื่อช่องคลอดแห้งและบางลง
- ผู้หญิงวัยทองอาจรู้สึกแสบบริเวณช่องคลอด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อาจมีปัญหาปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจาม
- ปัญหาการนอนหลับก็พบได้บ่อยเช่นกัน โดยผู้ป่วยจะนอนหลับยาก ตื่นเช้า และบางทีอาจตื่นกลางดึก พร้อมกับเหงื่อออก ผู้ป่วยอาจบ่นว่าเหนื่อยล้าและอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และขาดสมาธิ
- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ไขมันเคลื่อนตัวจากต้นขาไปที่หน้าท้อง มวลกล้ามเนื้อลดลง ไขมันสะสมมากขึ้น และผิวหนังเสื่อมสภาพลง
- อาจมีปัญหาอื่น ๆ เช่น อาการปวดหัว สูญเสียความทรงจำ และปวดเมื่อยตามตัวด้วย
7 โปรแกรมการตรวจสุขภาพผู้หญิงวัยทอง มีอะไรบ้าง?
การตรวจสุขภาพเบื้องต้น มีความจำเป็นเช่นเดียวกับการตรวจคัดกรองในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 30-40 ปี นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองที่ละเอียดมากขึ้นก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยผู้หญิงวัยทองควรตรวจสุขภาพตาม 7 โปรแกรมต่อไปนี้
- การตรวจคัดกรองมะเร็ง
- การตรวจฮอร์โมน
- การตรวจการทำงานของปอด
- การตรวจคัดกรองโรคไขมันพอกตับ ที่นำไปสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับ
- การตรวจการทำงานของหัวใจที่ละเอียดมากขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงหรืออันตรายต่อสุขภาพที่ซ่อนเร้นนั้น เพิ่มขึ้นในช่วงอายุนี้
- ภาวะทั่วไปที่ควรเฝ้าระวัง คือ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
- โรคหลอดเลือดหัวใจ และจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
ดังนั้น จึงแนะนำให้ประเมินการทำงานของหัวใจด้วยการทดสอบความเครียดขณะออกกำลังกาย หรือ EST และการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ หรือ Echocardiogram นอกจากนี้ ผู้หญิงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเมื่ออายุครบ 40 ปี แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยใช้เครื่องแมมโมแกรม อย่างไรก็ตาม อาจจำเป็นต้องตรวจคัดกรองก่อนอายุ 40 ปี หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุน้อย
การตรวจสุขภาพจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย ทั้งในด้านความเหมือนและความแตกต่าง หากคุณไม่แน่ใจว่าควรตรวจอะไรบ้าง ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หรือเลือกแพ็คเกจตรวจสุขภาพที่เหมาะกับช่วงวัยของคุณตามโรงพยาบาล จากนั้นจึงเลือกการตรวจเพิ่มเติมตามปัจจัยเสี่ยงส่วนตัวของคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณผู้หญิงวัยทองเข้าใจสุขภาพของตัวเองดีขึ้น ทำให้คุณสามารถดูแลตัวเองได้ดีขึ้นแน่นอน
- "วัยทอง" อยู่กับเรานานกี่ปี ทำอย่างไรให้อาการวัยทองลดน้อยลง
- 6 กลุ่มอาหารที่ "วัยทอง" ต้องบอกลา
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.