มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566
วันที่ 3 ตุลาคม 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลคัดเลือกจากผลงานของคณาจารย์ นักวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการ และประชาชน โดยผู้ได้รับคัดเลือกจะเข้ารับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดลปีการศึกษา 2566 จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 8 ตุลาคม 2567 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 136 ปี ซึ่งได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องไม่เพียงจะทำหน้าที่ด้านการศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีพันธกิจสำคัญในการต่อยอดการศึกษาและการวิจัยไปสู่ผลสำเร็จใน Real World Impact ด้วยการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม (Holistic Well Being) ในระดับโลก โดยนำความเชี่ยวชาญสหสาขาวิชา มาเป็นกลไกในการเชื่อมโยงเพื่อมุ่งผลประโยชน์ต่อสังคม ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งเป็นปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า ‘ประโยชน์ที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่การเรียนรู้เท่านั้น แต่อยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับมวลมนุษยชาติได้อย่างไร’ ดังนั้น บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นส่วนสำคัญและมีค่าที่สุดที่จะสานต่อพลังและผลักดันให้ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรที่มีความวิริยะอุตสาหะและปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพจนมีผลงานดีเด่นในสาขาต่างๆ ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และมีการพิจารณามอบรางวัลมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปีการศึกษา 2566 มีผู้ได้รับรางวัลประเภทดีเด่น เฉพาะทางสาขาต่างๆ จำนวน 9 ราย จาก 4 สาขา ได้แก่ สาขาการวิจัย สาขาการแต่งตำรา สาขาการบริการ และสาขาความเป็นครู ดังนี้
1. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย เป็นรางวัลที่มหาวิทยาลัยมหิดลมอบให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่มีความคิดริเริ่มในการวิจัย เพื่อสนองความต้องการ แก้ปัญหา พัฒนา หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้แก่สังคม โดยเป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่และอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ในปีนี้ มีผู้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณี ธิติธัญญานนท์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานวิจัยเรื่อง “Empowering the Fight Against SARS-CoV-2: Exploring Herb Antiviral Activities and Addressing Vaccine Limitations Through Robust Antiviral Assays” อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ผู้ปรับปรุงห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (BSL3) ของภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อรองรับงานวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ โดยช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้นำความเชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา และศักยภาพของห้อง BSL3 ในการร่วมหาวิธีควบคุมโรค พัฒนาแพลตฟอร์มการตรวจคัดกรองยาต้านเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ทดสอบสมุนไพรกว่า 100 ชนิด พบว่าสารสกัดจากกระชายและฟ้าทลายโจร มีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งนำไปสู่การตีพิมพ์งานวิจัยที่มีการนำผลการศึกษาไปใช้อ้างอิง ในการอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการน้อย หรือปานกลาง ในช่วงที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก นำไปสู่การวิจัยพัฒนาสารสกัดกระชายขาว เพื่อนำไปใช้เป็นยาสำหรับโรค COVID-19 การพัฒนาวิธีทดสอบ neutralizing antibody : nAb (ตรวจวัดระดับภูมิต้านทานการติดเชื้อ) ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการระบาด ร่วมกับติดตามแยกเพาะเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่เข้ามาในประเทศไทย โดยตรวจและเก็บข้อมูลระดับ nAb ในผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 ศึกษาผลการตอบสนองต่อวัคซีน และความสามารถในการหลบหลีกวัคซีน โดยได้ตีพิมพ์งานวิจัย “CoronaVac induces lower neutralising activity against variants of concern than natural infection” ที่เป็นข้อบ่งชี้ในการเปลี่ยนสูตรวัคซีนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถรับมือในการควบคุมการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (VOCs) ในระยะที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธ์ุเดลตา ซึ่งช่วยในการลดความสูญเสียจากการระบาด และสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ในที่สุด
รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงอุษา ฉายเกล็ดแก้ว ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานวิจัยเรื่อง “ชุดงานวิจัยด้านการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายในการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage, UHC) และพัฒนานโยบายบัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicines, NLEM) ในระดับชาติและนานาชาติ” ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเทคนิคทางอณูชีววิทยา ด้วยวิธีต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-Utility Analysis) ในการตรวจวินิจฉัยวัณโรคโดยใช้แบบจำลอง พบว่าการคัดกรองและวินิจฉัยวัณโรคด้วยวิธีเอกซเรย์ และเทคนิคทางอณูวิทยา (Xpert MTB/RIF และ TB-LAMP) เพิ่มอัตราการตรวจพบผู้ป่วยวัณโรคได้มากขึ้น ทำให้การตรวจวินิจฉัยวัณโรคด้วยวิธีดังกล่าว ได้รับการอนุมัติให้เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ และเพิ่มการเข้าถึงบริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของยา terlipressin ร่วมกับ albumin (T+A) เพื่อใช้ในการรักษาภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยตับแข็ง ศึกษาความต้องการของ Health Technology Assessment Unit, Department of Health (DOH) หน่วยงานการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายของการรักษาเสริมด้วยยา trastuzumab ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และวางมาตรการเพื่อลดราคายาดังกล่าว ซึ่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศฟิลิปินส์สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทั้งหมด
2. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการแต่งตำรา เป็นรางวัลที่มอบให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีผลงานการแต่งตำราที่มีความโดดเด่นครบทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ เนื้อเรื่อง รูปแบบ ความชัดเจนและถูกต้องของภาษา การสนองความขาดแคลนของตำราในสาขานั้น ๆ และการเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการในสาขาวิชานั้น ๆ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชนิกา ศรีธรา ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการแต่งตำรา เรื่อง “หลักการและการประยุกต์ใช้เครื่องรังสีเอกซ์สองพลังงาน (Principles and Clinical Applications of Dual-Energy X-Ray Absorptiometry)” ตำราภาษาไทยเล่มแรกที่รวบรวมองค์ความรู้ของเครื่อง DXA (เครื่องตรวจวิเคราะห์ความหนาแน่นของกระดูก) ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เหมาะสำหรับรังสีแพทย์ และแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก การติดตามความหนาแน่นของกระดูก การตรวจองค์ประกอบของร่างกาย การเตรียมผู้ป่วย การวิเคราะห์ค่า โดยมีการนำภาพประกอบแสดงวิธีการตรวจ การแปลผลภาพสแกนของผู้ป่วย การควบคุมคุณภาพของเครื่อง และภาพประกอบกรณีศึกษา รวมทั้งมีแนวทางการแก้ไข ดำเนินการตรวจและแปลผลการตรวจได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตรวจทางรังสีอื่นได้
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการแต่งตำรา เรื่อง “Carotid and Peripheral Vascular Interventions Textbook: Step-by-step Technique” ปัจจุบันแพทย์ที่มีความชำนาญทางด้านการขยายหลอดเลือดคาโรติดและหลอดเลือดส่วนปลายมีไม่มากนัก และไม่มีการฝึกอบรมที่เป็นมาตรฐานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จึงได้รวบรวมองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการดูแลและรักษาผู้ป่วย ตลอดระยะเวลา 20 ปี ถ่ายทอดไปยังบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านตำราในรูปแบบ E-book ภาษาอังกฤษ สามารถสืบค้นได้ทางสื่อออนไลน์ และลงทะเบียนเข้าอ่านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้อายุรแพทย์อนุสาขาการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด (Interventional Cardiologists) ศัลยแพทย์หลอดเลือด (Vascular Surgeons) และรังสีแพทย์รักษา (Intenventional Radiologists) ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศได้เรียนรู้ มีความเข้าใจ และสามารถให้การดูแลรักษาและขยายหลอดเลือดแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง นอกจากนี้ยังพิมพ์เป็นแบบรูปเล่มจำนวน 100 เล่ม มอบให้แก่ห้องสวนหัวใจและหลอดเลือดทั่วประเทศ ห้องสมุดโรงเรียนแพทย์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด สาขาวิชารังสีรักษาต่าง ๆ เพื่อเป็นการกระจายความรู้ และนำไปใช้ในรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดคาโรติดและโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
3. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ ที่มอบให้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลผู้มีผลงานการให้บริการ มุ่งมั่นอุทิศตนให้แก่งาน มีความสามารถครบพร้อม ทั้งในด้านครองงาน ครองตน และครองใจ สำหรับในปีนี้ มีผู้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ มีผู้ได้รับรางวัล จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
รองศาสตราจารย์ ดร.นาวิน ห่อทองคำ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการบริการ “การบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลศิริราช และการบริการทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลศิริราช” อาจารย์ที่ปรึกษาหน่วยงานบริการอณูจุลชีววิทยา ทำการตรวจวินิจฉัย จำแนกสายพันธุ์ของไวรัส การเกิดโรคระบาดของไวรัสต่าง ๆ ในประเทศไทย บริหารจัดการห้องปฏิบัติการทางอณูจุลชีววิทยาให้มีความทันสมัย และตอบสนองต่อแพทย์ และรองรับการรระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ผู้ทุ่มเทเสียสละงานบริการวิชาการ ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รองศาสตราจารย์ ดร.นาวิน วางแผนจัดทำชุดทดสอบสำหรับการตรวจวินิจฉัยหาเชื้อไวรัสในห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลศิริราช ตรวจคัดกรอง แยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้อย่างทันท่วงที บริหารจัดการเปิดให้บริการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 แบบ 24 ชั่วโมง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์ในการวางแผนรักษาผู้ป่วย และเพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้เข้ารับการรักษา ลดความแออัดของผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ร่วมกับสถาบันวิทยสิริเมธี พัฒนาชุดตรวจสารพันธุกรรมแบบรวดเร็ว ถือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับห้องปฏิบัติการที่อยู่ห่างไกล เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ความต้องการชุดน้ำยาทดสอบมีการแข่งขันสูง ป้องกันการขาดแคลนน้ำยาของวิธีมาตรฐาน (real time PCR) โดยชุดทดสอบดังกล่าวได้ทำการประเมินทางคลินิก (Clinical validation) ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ และได้ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564
ดร.ณพล อนุตตรังกูร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการบริการ “การรับใช้สังคมในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์” จัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด (ชื่อปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ) ประสานงานระหว่างภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่บึงบอระเพ็ด ลดความขัดแย้งบนฐานข้อมูลวิชาการ โดยดำเนินการจัดการที่ดิน จัดทำแผนการจัดการบึงบอระเพ็ดเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อช่วยในการแก้ปัญหา เกิดการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน กำหนดเขตให้ เขตหวง และเขตห้ามให้แก่ชาวบ้าน ลดปัญหาการบุกรุกบึงบอระเพ็ด นำไปสู่การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย ทำให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดอย่างแท้จ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.