8 อันตราย-ผลข้างเคียงจากการกินใบกระท่อม ที่ควรรู้ก่อนกิน
นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ระบุว่า ใน ใบกระท่อม พบว่ามีสารสำคัญ คือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง คล้ายฝิ่น แต่มีฤทธิ์น้อยกว่าประมาณ 10 เท่า และ 7-hydroxymitragynine พบน้อยมากในใบกระท่อมสด แต่มีฤทธิ์รุนแรงกว่ากว่ามอร์ฟีน 100 เท่า
ใบกระท่อม
ใบกระท่อม (Kratom) หรือ Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. เป็นพืชสมุนไพรพื้นถิ่นของภาคใต้ ที่ได้รับการปลดล็อกจากกฎหมายไทยเมื่อปี 2564 มีคุณสมบัติช่วยบำบัดและรักษาโรคต่างๆ เช่น ความเจ็บปวดและอาการเหนื่อยล้า ปัจจุบันกระท่อมมี 3 สายพันธุ์หลัก คือ ก้านเขียว, ก้านแดง, และก้านแดงหางกั้ง ซึ่งสายพันธุ์ก้านแดงและก้านแดงหางกั้งเป็นที่ต้องการในตลาดอุตสาหกรรมแปรรูป เนื่องจากมีสารสำคัญที่เหมาะกับการผลิตเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
แพทย์เตือน “กระท่อม” กินให้พอดีมีประโยชน์ทางยา กินเกินขนาดระวังผลเสียต่อร่างกาย
กรมการแพทย์โดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ให้ความรู้ “กระท่อม” ถึงแม้ออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ทางยา แต่หากใช้ในปริมาณที่มากและติดต่อกันเป็นเวลานาน ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ พร้อมแนะการนำกระท่อมไปผสมกับสิ่งเสพติดชนิดอื่น รวมถึงจำหน่ายอาหารที่มีส่วนผสมของใบกระท่อมแก่สตรีมีครรภ์และผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีความผิดตามกฎหมาย
นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า แต่เดิมประเทศไทยจัดให้กระท่อมเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แต่ในปัจจุบันได้มีการพิจารณาผ่านรัฐสภาและมีมติปลดล็อกกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถปลูก หรือซื้อ ขาย ใบสด ที่ไม่ได้ปรุงหรือทำเป็นอาหารได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
ทำไมคนถึงรับประทาน ใบกระท่อม
กระท่อมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลางเป็นสมุนไพรท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยใช้ใบสดหรือใบแห้งนำมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา เพื่อให้มีแรงทำงานได้นานขึ้น รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ไม่อยากอาหาร ทนแดดมากขึ้น แต่จะเกิดอาการหนาวสั่นเวลาครึ้มฟ้าครึ้มฝน
ใบกระท่อม มีกี่สายพันธุ์
พืชกระท่อมมีอยู่ 3 สายพันธุ์ ที่พบในประเทศไทย ได้แก่
- กระท่อมก้านเขียว – นิยมใช้เพื่อบริโภคหรือเป็นสมุนไพรรักษาโรคในครัวเรือน
- กระท่อมก้านแดง – เป็นสายพันธุ์ที่ตลาดอุตสาหกรรมแปรรูปมีความต้องการสูง เหมาะสำหรับการปลูกเชิงพาณิชย์
- กระท่อมก้านแดงหางกั้ง – มีใบใหญ่และโตไว นิยมปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูปในอุตสาหกรรมต่างๆ
สรรพคุณและโทษของใบกระท่อม
สรรพคุณ
- ใบกระท่อมมีฤทธิ์ทางยา ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด แก้ท้องร่วง และช่วยให้มีแรงทำงานท่ามกลางแสงแดดได้
- ช่วยลดอาการเหนื่อยล้า บางพื้นที่เชื่อว่าสามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้
- ใช้เป็นยาทดแทนฝิ่นในการบำบัดการติดฝิ่นและมอร์ฟีน เพราะไม่มีการกดระบบทางเดินหายใจหรืออาการคลื่นไส้แบบมอร์ฟีน
- มีสารแอลคาลอยด์ "Mitragynine" ที่ช่วยระงับอาการปวดคล้ายมอร์ฟีน แต่มีฤทธิ์อ่อนกว่า
โทษ
- การใช้ใบกระท่อมในปริมาณมากหรือใช้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเสพติด เช่น เบื่ออาหาร ท้องผูก นอนไม่หลับ ผิวคล้ำ และอาจเกิดปัญหาในระบบลำไส้ (ถุงท่อม)
- ผู้เสพติดกระท่อมมากๆ จะมีอาการขาดยา เช่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย และซึมเศร้า
- มีโทษต่อร่างกายและจิตใจ หากใช้อย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่นำไปผสมกับสารอื่น เช่น ยาแก้ไอ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพมาก
อาการข้างเคียงจากการกินใบกระท่อม
- ในคนที่รับประทานใบกระท่อมเป็นครั้งแรก อาจจะมีอาการมึนงง คอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน
- หากใช้ในปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดอาการเมา เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อทรงตัว ระบบประสาทรับสัมผัสตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ลดลง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
- ในรายที่ใช้มากๆ หรือใช้มาเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้มีผิวสีคล้ำและเข้มขึ้น
- การรับประทานใบกระท่อมไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ใบโดยรูดก้านใบออกแล้วเคี้ยวเหมือนการเคี้ยวหมาก
- เมื่อรับประทานใบกระท่อม บางรายอาจทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน โดยทำให้ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ชัก ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ประสาทหลอน สับสน กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ เหงื่อออก ความดันโลหิตสูง
- อาจพบอาการซึมมากในผู้ที่รับประทานใบกระท่อมปริมาณมาก (มากกว่า 15 กรัมของใบกระท่อม หรือประมาณใบ 10 ใบ)
- ไม่ควรกลืนกากเพราะกากใบเป็นเส้นใยที่ย่อยยาก เมื่อรับประทานบ่อยๆ อาจทำให้เกิด “ถุงท่อม” ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ในท้องและทำให้ปวดท้องได้
- เมื่อหยุดใช้ใบกระท่อมจะทำให้เกิดอาการอยากรุนแรง (Craving) และมีอาการถอน เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ หงุดหงิด อ่อนเพลีย ท้องเสีย น้ำมูกไหล แขนขากระตุก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันกระท่อมจะไม่ใช่ยาเสพติด และมีการออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ทางยา แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปและติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน
ทั้งนี้ยังมีข้อควรระมัดระวังทางกฎหมายที่ควรคำนึงถึง โดยเฉพาะการนำใบกระท่อมไปใช้ผสมกับสิ่งเสพติดอื่น เช่น “สี่คูณร้อย” การขายน้ำต้มกระท่อมในหอพัก สถานศึกษา รวมถึงจำหน่ายอาหารที่มีส่วนผสมของใบกระท่อมแก่สตรีมีครรภ์และผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีความผิดตามกฎหมาย นอกจากนี้น้ำต้มกระท่อม ชากระท่อม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้องขออนุญาตผลิตตามพรบ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562
- ประโยชน์ของใบกระท่อม และวิธีกินที่ถูกต้อง
- 6 อันตราย หากกิน “ใบกระท่อม” เกินขนาด
- ใช้ "พืชกระท่อม" ในการรักษาโรคอย่างไรให้ถูกวิธี
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.