"ข้าวกล้อง" กับ "ข้าวไรซ์เบอร์รี่" กินข้าวแบบไหนดีกว่ากัน
ข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยก็เช่นกัน ถึงแม้จะเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญ แต่ด้วยความคุ้นเคย หลายคนจึงขาดข้าวไม่ได้ การเลือกข้าวที่ส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย ระหว่างข้าวกล้องและข้าวไรซ์เบอร์รี่ แบบไหนดีกว่ากัน เรามาหาคำตอบกัน
"ข้าวกล้อง" กับ "ข้าวไรซ์เบอร์รี่" แบบไหนดีกว่ากัน
ข้าวกล้อง คือขุมสมบัติแห่งสารอาหารที่ซ่อนอยู่ภายในเมล็ดข้าว ด้วยกระบวนการผลิตที่เพียงแค่กะเทาะเปลือกออก ทำให้ข้าวกล้องยังคงอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ อาทิ วิตามินบีรวม ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก โปรตีน และใยอาหารสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ขาดหายไปในข้าวขาวทั่วไป การบริโภคข้าวกล้องจึงเป็นการเติมเต็มสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายให้ครบถ้วน นอกจากนี้ใยอาหารในข้าวกล้องยังช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ช่วยควบคุมน้ำหนัก และส่งเสริมสุขภาพระบบขับถ่ายอีกด้วย
ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาจากข้าวเจ้าหอมนิล ม. เกษตรศาสตร์ (พันธุ์พ่อ) กับข้าวขาวดอกมะลิ 105 สถาบันวิจัยข้าว (พันธุ์แม่) ลักษณะประจาพันธุ์ ความสูงประมาณ 106 ซม. อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน เมล็ดเรียวยาว สีม่วงดำ ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีธาตุเหล็กและสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีใยอาหารที่อยู่ในราข้าวสูงจึงช่วยชะลอการดูดซึมน้ำ ทาให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้ากว่าการบริโภคข้าวกล้องและข้าวขาวขัดทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน มีสรรพคุณช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยทาให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คุณค่าทางโภชนาการ ในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีแอนโทไซยานิน(Anthocyanin) ในระดับความเข้มข้น 15.7 มก./100กรัม รำข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีค่า ORAC ถึง 400 Trolox eq./g งานวิจัยล่าสุดพบว่าในรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีสารออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง Lupeol และสารอื่นๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการสกัด นับเป็นครั้งแรกที่มีรายงานการค้นพบ Lupeol ในข้าว ในส่วนของน้ำมันรำข้าวบีบเย็น เมื่อเทียบกับน้ำมันงาแบบหีบเย็น มี beta-carotene อยู่ถึง 23 µg/g และ lutein 14-15µg/g (ไม่มีในน้ำมันงา) พร้อมทั้ง gamma-oryzanol 135 µg/g โดยมีค่า ORAC อยู่ที่ 215 µmol Trolox/
จากการทดสอบคุณสมบัติของสารสกัดจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ ในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง 3 ชนิด คือเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Caco-2) เซลล์มะเร็งเต้านม (MCF-7) และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (HL-60) พบว่าสารสกัดทั้งชนิดไม่สกัดน้ำมันออก (DCM fraction) และชนิดที่สกัดน้ำมันออกไปบ้าง (MeOH fraction) ให้ผลยับยั้งเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะสารสกัดจาก DCM fraction ให้ผลที่ดีกว่าสารสกัดจาก MeOH fraction และเซลล์มะเร็งในเม็ดเลือดขาว มีความไวต่อการถูกชักนำให้เกิดการตาย ภายหลังการได้รับสารสกัดได้เร็วที่สุด ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รำข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง
สรุปคือทั้งข้าวกล้อง และข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่างมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สำหรับข้าวกล้องนั้นจะโดดเด่นเรื่องการทำให้รู้สึกอิ่มนาน ช่วยควบคุมน้ำหนัก ส่งเสริมสุขภาพระบบขับถ่าย ส่วนข้าวไรซ์เบอร์รี่นั้นยังช่วยต่อต้านมะเร็งอีกด้วย
- ง่ายนิดเดียวเคล็ดลับหุงข้าวกล้องให้นิ่ม อร่อย น่าทาน
- ประโยชน์ดีๆ และวิธีการเลือกซื้อข้าวกล้อง
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.