5 วิธีรับมือโรคอาหารเป็นพิษช่วงน้ำท่วม รู้ไว้ก่อนสุขภาพพัง

สถานการณ์ภัยพิบัติจากน้ำท่วม สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยอาหารที่ซื้อเก็บหรือได้รับในช่วงน้ำท่วม ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารกระป๋อง อาหารกล่องเสียง่าย อาหารแห้ง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทำให้มีทางเลือกในการรับประทานอาหารจำกัด ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของอาหาร และการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษที่มากขึ้น ดังนั้นเราจึงขอแนะนำวิธีรับมือต่อโรคอาหารเป็นพิษในช่วงน้ำท่วม 5 ข้อต่อไปนี้ค่ะ

5 วิธีรับมือต่อโรคอาหารเป็นพิษ

1.เลี่ยงอาหารเสียง่าย

อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบอย่างแกงต่าง ๆ อาหารตามสั่ง อาหารสด และขนมหวานที่มีกะทิ ถือเป็นอาหารยอดนิยมที่ทำง่ายแต่ก็เสียง่ายเช่นกัน บางร้านอาจใช้วัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ นอกจากนี้ เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ทำจากแป้งคุณภาพต่ำจะเสียได้ง่าย ผักสดที่เสิร์ฟพร้อมกับอาหารเหล่านี้ก็อาจไม่ได้ล้างสะอาด ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในการรับประทานอาหารเหล่านี้ให้มาก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อโรคอาหารเป็นพิษ

2.เลือกอาหารสดที่มีความปลอดภัย

เมื่อเป็นเรื่องของอาหารทะเล สิ่งสำคัญคือต้องเลือกวัตถุดิบที่สดใหม่และปรุงสุกให้ทั่วถึง หากคุณสังเกตว่าได้กลิ่นแปลก ๆ  หรือสีที่ผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน ในทำนองเดียวกัน เมื่อรับประทานผักสลัด สิ่งสำคัญคือต้องล้างผักให้สะอาดเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำและจัดเก็บ ขั้นตอนง่าย ๆ นี้สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคจากอาหาร และทำให้มั่นใจได้ว่าคุณจะรับประทานอาหารได้อย่างปลอดภัย

3.ใช้วิธีการแก้พิษเบื้องต้นด้วยตัวเอง

การฟื้นตัวจากอาการอาหารเป็นพิษ อาจใช้เวลา 2-3 วัน แต่การดูแลตนเองจะช่วยให้คุณรู้สึกดีได้เร็วขึ้นค่ะ และป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของสาว ๆ ได้ ต่อไปนี้จึงเป็นแนวทางที่ควรปฏิบัติตาม เมื่อรู้แล้วว่าอาหารเป็นพิษ คือ

  • งดรับประทานอาหารในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก หลังจากมีอาการ
  • พักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำเปล่าสะอาด หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อทดแทนของเหลวและแร่ธาตุที่สูญเสียไป หลังจากอาเจียนหรือท้องเสีย
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน เครื่องดื่มอัดลม อาหารปรุงรสจัด และอาหารทอด
  • เมื่อเริ่มรู้สึกดีขึ้น ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและไขมันต่ำ เช่น ข้าวต้ม กล้วย ขนมปังปิ้ง เป็นต้น

4.ใช้ยาคาร์บอน

ยาคาร์บอน (Activated Charcoal) หรือที่เรียกว่าถ่านกัมมันต์ เป็นผงสีดำที่บรรจุอยู่ในรูปแบบผง เม็ดยา หรือแคปซูล ยานี้ออกฤทธิ์โดยการดูดซึมสารพิษหรือสารเคมีในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ เช่น อาหารเป็นพิษ ท้องเสีย ท้องอืด และเป็นไข้ ถ่านคาร์ยอบถือว่าปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่ายาปฏิชีวนะอีกด้วยนะคะ

5.เลี่ยงน้ำแข็ง

กระบวนการผลิตน้ำแข็งก้อน บางครั้งอาจมีสิ่งเจือปน เช่น ผงหรือเศษต่าง ๆ ที่ติดอยู่ในน้ำแข็ง อาจเป็นอันตรายต่อระบบย่อยอาหาร และทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าน้ำแข็งและน้ำที่ใช้ในเครื่องดื่ม สะอาดและปราศจากสิ่งปนเปื้อน เพื่อรักษาความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่ถ้ากังวลแนะนำให้เลิกใช้น้ำแข็งไปก่อนค่ะ

สำหรับอาหารกล่อง ควรบริโภคให้หมดภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังจากปรุง ควรเก็บอาหารในภาชนะที่สะอาด ปราศจากแมลงวัน ควรตรวจสอบอาหารก่อนรับประทานทุกครั้ง และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหลือจากมื้อก่อน นอกจากนี้ น้ำดื่มควรสะอาดและผ่านการกรองมาอย่างดี ถ้าไม่มั่นใจก็ควรต้มก่อนรับประทานเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย การล้างมือเป็นสิ่งสำคัญเชนกัน ควรล้างทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร รวมถึงหลังใช้ห้องน้ำ สิ่งสำคัญคือต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงการขับถ่ายลงในแหล่งน้ำ และหากไม่สามารถใช้ห้องน้ำได้ ให้ถ่ายในถุงพลาสติกที่ปิดสนิทก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

  • อาหารเป็นพิษ ควรกินอะไร และไม่ควรกินอะไร
  • 5 วิธีบรรเทาอาการท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรียและอาหารเป็นพิษ

 

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.