BURNOUT SYNDROME ภาวะหมดไฟในหญิงวัยทำงาน ที่สาวๆ ยุคใหม่ต้องรู้
ความเครียดเรื้อรังในที่ทำงาน ปริมาณงานหนัก และการใช้ชีวิตที่กดดัน รวมถึงงานที่ซับซ้อนที่ต้องทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะ Burnout Syndrome ในคนทำงาน หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ตรวจสอบและปล่อยให้สะสมเมื่อเวลาผ่านไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้
รู้จักภาวะ BURNOUT SYNDROME อาการหมดไฟ
สำหรับคนที่ทำงานมานาน ย่อมต้องเผชิญกับปัญหาภาวะหมดไฟได้เช่นกัน แต่รู้หรือไม่ว่าที่มากกว่านั้น คือ ภาวะ BURNOUT SYNDROME เป็นปัญหาทางจิตใจโดยตรง เพราะเป็นความหมดไฟที่พาให้เกิดความสิ้นหวังไปด้วย ซึ่งมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัยทำงานมากพอสมควร ยิ่งถ้ามีความเครียดสูง ไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างถูกต้อง มีความเหนื่อยล้าจนกลายเป็นสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จะยิ่งมีความอันตรายพอสมควร เพราะเมื่อป่วยเป็นภาวะนี้แล้ว จะทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไรก็รู้สึกไม่สบายใจ มีอารมณ์ที่ไม่คงที่ เหนื่อยล้า สูญเสียพลังงาน ไม่ชอบงานที่ทำอยู่ เป็นเรื่องที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เป็นเชิงลบ ขาดความสุขในการทำงาน เรียกได้ว่าหมดทุกแรงจูงใจที่จะทำงานให้ดีมากขึ้น ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟ
การทำงานหนักหรือทำงานที่ไม่ได้ชอบ รวมไปถึงการทำงานที่รักแต่ต้องอยู่ในสภาพสังคมที่กดดันสูง มีเพื่อนร่วมงานไม่ดี ถูกตำหนิบ่อยครั้ง รวมไปถึงการมีปัญหาด้านการตัดสินใจ จะทำให้เสี่ยงต่ออาการ BURNOUT SYNDROME ได้มากเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยโดยรวม ที่ผู้ต้องประสบปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ ไม่มีผู้ให้คำปรึกษา จำเป็นต้องแก้ไขด้วยตัวคนเดียว จึงเกิดเป็นความรู้สึกไร้ตัวตน ไม่มีคุณค่า ไม่ได้รับการตอบรับหรือตอบแทนใด ๆ ที่เหมาะสม จึงส่งผลไปสู่ การใช้ชีวิตที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย รู้สึกเบื่อหน่ายและอาจเสี่ยงกลายเป็นภาวะซึมเศร้าที่จะฆ่าตัวตายได้ง่ายเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะนี้มากที่สุด คือ ผู้หญิงวัยทำงานที่ต้องอยู่ในตำแหน่งหน้าที่กดดันสูง มีความรับผิดชอบหนักหน่วง หรือแม้แต่กลุ่มของคนทำงานเป็นแม่บ้าน พนักงานรักษาความปลอดภัย และอาชีพอื่น ๆ ก็สามารถเผชิญต่อสภาวะนี้ได้เช่นกัน
วิธีดูแลตัวเอง พร้อมแนวทางป้องกันภาวะ BURNOUT SYNDROME
- เมื่อถึงบ้านควรพักผ่อนอย่างเต็มที่ หยุดการใช้งานโซเชียลต่าง ๆ และหยุดการทำงาน ควรทิ้งไว้ที่ทำงานเท่านั้นไม่ควรนำงานกลับมาบ้าน
- หยุดความวิตกกังวลและความกังวลใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน พัฒนาทักษะการทำงานของตัวเองและพัฒนาด้านจัดการปัญหา เพื่อรับมือเรื่องต่าง ๆ ในอนาคต
- เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเป็นอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเปล่าสะอาดตลอดทั้งวัน โดยเป็นการจิบเรื่อย ๆ ปริมาณ 8 แก้ว เพื่อทำให้ระบบภายในมีการทำงานอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
- ทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เมื่อถึงวันหยุดควรต้องหยุดจริง ๆ แล้วหาการทำกิจกรรมที่คุณชอบ เพื่อเป็นการฟื้นฟูจิตใจ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกาย กระตุ้นสมองให้ผลิตสารเอ็นโดรฟิน และทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- เริ่มการพัฒนางานและปรับทัศนคติใหม่ ทำความเข้าใจต่อเนื้องานและองค์กรรวม ไปถึงเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น ลองเปิดใจเพื่อรับฟังคนในครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง หรือมีการปรึกษาปัญหากับทีมงานที่ทำอยู่
- ปรึกษากับจิตแพทย์เพิ่มเติม เพื่อทำให้คุณได้ระบายและได้รับฟังความคิดเห็น ที่จะนำมาสู่การปรับปรุงตัวของคุณได้มากขึ้น
แม้ว่าการขาดแรงจูงใจในการทำงาน อาจดูไม่รุนแรงพอที่จะจัดเป็นภาวะซึมเศร้า แต่การรู้จักสัญญาณและอาการต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญนะคะ การรู้สึกหมดแรงบันดาลใจ ขาดพลังงาน และรู้สึกสิ้นหวัง ล้วนเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่ไม่ควรละเลย หากความรู้สึกเหล่านี้ยังคงอยู่ และเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาจถึงเวลาต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาความเป็นไปได้ของภาวะซึมเศร้า และปรึกษาจิตแพทย์ทันที เพื่อการประเมินและการรักษาที่เหมาะสม
- 5 วิธีง่ายๆ เลี่ยงภาวะ “หมดไฟ” ในการทำงาน
- "เครียด" เกินไป หรือกำลัง "หมดไฟในการทำงาน" (Burnout Syndrome)
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.