“ครีมกันแดด” จำเป็นแค่ไหนแม้ไม่ได้ออกจากบ้าน
โดยปกติแล้ว การทาครีมกันแดดนั้นเป็นกิจวัตรประจำวันที่บรรจุอยู่ใน Skincare Routine ของหลายๆ คนที่ทำก่อนออกจากบ้านไปทำงาน แต่เมื่อเกิดการระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด-19 ขึ้น ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ต้องทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home (WFH) จึงมีคำถามตามมาว่า จริงๆ แล้ว หากต้องทำงานอยู่ที่บ้าน ไม่ได้ออกไปโดนแดดที่ไหน เรายังมีความจำเป็นต้องทาครีมกันแดดอยู่อีกหรือไม่?
ครีมกันแดดสำคัญอย่างไร
-
รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet: UV) ชนิดUVA และ UVB เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดผลเสียกับผิว เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ ความเหี่ยวย่นหย่อนคล้อย และผิวเกรียมแดด รวมไปถึงมะเร็งผิวหนัง
-
รังสี UVA สามารถส่องผ่านทะลุกระจกเข้าไปยังอาคารบ้านเรือนได้ อีกทั้งยังมีแสงสีฟ้าจากมือถือและจอคอมพิวเตอร์ ดังนั้น แม้จะอยู่ในบ้านก็ควรทาครีมกันแดดที่เหมาะสมเช่นกัน
-
ควรเลือกครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติปกป้องได้ทั้งแสง UVA และ UVB โดยสามารถสังเกตจากค่า SPF และ PA ตามลำดับ โดยควรเลือกระดับ SPF ตั้งแต่ 30 และค่า PA 3+ ขึ้นไป
แสงแดดและรังสียูวี ส่งผลเสียต่อผิวอย่างไร
พญ. พีรธิดา รัตตกุล แพทย์ชำนาญการด้านโรคผิวหนัง การใช้เลเซอร์รักษาโรคผิวหนัง ศัลยกรรมเพื่อความงาม และปรับรูปหน้าด้วยสารเติมเต็มโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ระบุว่า แสงแดด หรือ แสงอาทิตย์เป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายกับเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ผิวอักเสบ สูญเสียคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ผิวคล้ำเสีย เกิดฝ้ากระ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ในแสงแดดจะประกอบไปด้วย แสงอินฟราเรด (infrared) แสงที่มองเห็น (visible light) และแสงที่มองไม่เห็น (invisible light) นั่นก็คือรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet: UV) หรือยูวีที่เราคุ้นหูกัน
รังสียูวีในแสงอาทิตย์ มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ UVA UVB และ UVC ซึ่งรังสี UVC นั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกชั้นโอโซนของโลกดูดซับ สะท้อนกลับ หรือทำลายได้ทั้งหมด เลยไม่มีผลกระทบต่อผิวหนังเท่าใดนัก ดังนั้น ในที่นี้จึงจะขอพูดถึงรังสี 2 ชนิดแรก คือ UVA และ UVB ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาผิวต่างๆ มากมาย
- รังสี Ultraviolet A หรือ UVA สามารถแบ่งได้เป็น UVA-I และ UVA-II ในแสงแดดนั้นมี UVA มากถึง 95% รังสี UVA นั้นส่งผลร้ายต่อผิวหนัง ทำให้ผิวเหี่ยวย่น หย่อนคล้อย เกิดริ้วรอย ผิวคล้ำเข้ม เกิดจุดด่างดำ และเกิดการสร้างของอนุมูลอิสระ ส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อดีเอ็นเอ การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม และสามารถทำให้เกิดเป็นมะเร็งผิวหนังบางชนิดได้
- รังสี Ultraviolet B หรือ UVB เป็นรังสีที่ทำให้เกิดการ Burn หรือผิวหนังไหม้เกรียมแดด ผิวอักเสบ ผิวแก่ก่อนวัย และยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็วผิวหนังได้ หากปล่อยให้ผิวสัมผัสแสงแดดบ่อยๆ โดยเฉพาะแดดช่วงเที่ยงหรือบ่าย หรือเมื่อฟ้าใส มีเมฆน้อย และปราศจากการป้องกันที่ดี
การทาครีมกันแดด จำเป็นไหมเมื่ออยู่แต่ในบ้าน
หากจะต้องทำงานอยู่ในบ้าน ไม่ได้ออกไปไหน หลายคนอาจมีความสงสัยว่า ยังต้องทาครีมกันแดดอยู่หรือไม่ บางคนอาจคิดว่าเมื่อไม่โดนแดดจึงไม่มีความจำเป็นต้องทา แต่บางคนอาจยังมีความกังวลเรื่องแสง UV จากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ โทรทัศน์ หรือจอคอมพิวเตอร์
ในความเป็นจริงแล้วอุปกรณ์เหล่านี้แทบไม่มีรังสี UV ปล่อยออกมาเลย หรือหากมีก็อยู่ในระดับที่ต่ำมาก ไม่มีผลเสียต่อผิวหนังแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องกังวลน่าจะเป็นรังสี UVA จากแสงที่เล็ดลอดเข้ามาทางหน้าต่างหรือกระจกมากกว่า ซึ่งหากเป็นกระจกใสแล้ว แสง UVA จะสามารถทะลุผ่านได้ถึง 75% ในขณะที่กระจกสีหรือกระจกสะท้อนแสง รังสี UVA จะทะลุผ่านได้ถึง 25-50% (ส่วนรังสี UVB ไม่สามารถทะลุผ่านกระจกได้)
ดังนั้น ถึงแม้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจะแทบไม่ปล่อยรังสี UV ออกมาเลย แต่หากต้องการปกป้องผิวจากแสงแดดที่อาจทะลุมาตามหน้าต่างหรือกระจกขณะอยู่ในบ้าน ก็แนะนำว่าควรทาครีมกันแดดอยู่เสมอ โดยใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF และ PA ที่เหมาะสม (SPF 30 และ PA 3+ ขึ้นไป) พร้อมกับปิดม่าน พยายามนั่งให้ห่างจากหน้าต่างมากที่สุด หรือเปลี่ยนไปใช้กระจกลามิเนตแทนกระจกใส และติดฟิล์มกรองแสงเพื่อกรองรังสี UVA ที่ผ่านทะลุกระจกเข้ามา รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการอยู่ในจุดที่แสงแดดส่องถึง ก็จะช่วยป้องกันรังสี UVA ที่จะเข้ามาทำร้ายผิวได้
การเลือกครีมกันแดด
- เลือกครีมกันแดดที่ปกป้องได้ทั้งแสง UVB และ UVA โดยสามารถสังเกตจากค่า SPF และ PA ตามลำดับโดย ควรเลือกระดับ SPF 30 ขึ้นไป และระดับ PA 3+ ขึ้นไป (ตามมาตรฐานของ EU ในส่วนของหลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์กันแดด)
- เลือกเนื้อผลิตภัณฑ์และคุณสมบัติให้เหมาะกับกิจกรรมที่ทำ หากทำงานที่บ้าน แนะนำให้เลือกเนื้อสัมผัสที่สบายผิว ไม่หนักผิวจนเกินไป และไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน อาจไม่จำเป็นต้องเลือกแบบกันน้ำ กันเหงื่อ เนื่องจากไม่ได้ทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออกมาก
- ควรเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิว เช่น หากมีสภาพผิวมันก็เลือกใช้แบบเจลหรือแบบโลชั่น หรือเนื้อสัมผัสที่เราชอบ
- เลือกครีมกันแดดที่สามารถป้องกันรังสีอินฟราเรด (IR) หรือรังสีความร้อนที่เราสัมผัสได้โดยตรง และแสงสีฟ้า (BL) ที่มาจากจอคอมพิวเตอร์ มือถือ และแท็บเล็ตได้
- เลือกครีมกันแดดที่ไม่มีสารก่อการอุดตัน (Occlusive Agents) เช่น ลาโนลิน (Lanolin) พีจี หรือโพรพิลิน ไกลคอล (Propylene Glycol) ที่ทำให้เกิดสิวอุดตัค่ะ อยากให้ช่วยนได้ง่าย แนะนำให้เลือกใช้ครีมกันแดดประเภท Physical Sunscreen ซึ่งมีสารประกอบ เช่น Zinc Oxide และ Titanium Dioxide เพราะอุดตันรูขุมขนน้อย และไม่ดูดซึมเข้าสู่ชั้นผิว
- หากใช้แล้วเกิดผลเสีย หรือแพ้ มีผื่นขึ้น ให้หยุดใช้ทันที
- เลือกครีมกันแดดที่ไม่ก่อให้เกิดสิว ไม่มีสารกันบูด ไม่มีน้ำหอม
- เลือกครีมกันแดดที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ผิวแห้ง
การทาครีมกันแดดที่เหมาะสม
- หากทำงานที่บ้าน อยู่ในที่ร่มตลอด เหงื่อไม่ออก ก็อาจไม่มีความจำเป็นต้องทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง แต่หากต้องออกไปข้างนอก อยู่กลางแดด ควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าครีมกันแดดนั้นจะมี SPF หรือ PA เท่าไหร่ก็ตาม
- ปริมาณครีมกันแดดที่เหมาะสมต่อการทาผิวหน้า 1 ครั้ง ควรบีบครีมกันแดดไม่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม หรือประมาณ 2 ข้อนิ้วมือ/เหรียญ 10 บาท หากเป็นรูปแบบน้ำหรือสเปรย์ ควรใช้ในปริมาณที่มากกว่าแบบครีม
- นอกจากใบหน้าแล้ว อย่าลืมทาครีมกันแดดบริเวณคอ ใบหู และลำตัวด้วย
- หากใช้ครีมกันแดดแบบ Chemical ควรทาก่อนออกไปเจอแดดอย่างน้อย 30 นาที แต่หากเป็นแบบ Physical ก็สามารถทาแล้วเจอแดดได้เลย
จะเห็นได้ว่า ครีมกันแดดนั้นทำหน้าที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันผิวไม่ให้ผิวโดนทำร้ายจากรังสียูวีในแสงอาทิตย์ ดังนั้น จึงแนะนำว่าควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF และ PA ที่เหมาะสมทุกวัน ถึงแม้ว่าวันนั้นเราจะต้องทำงานหรืออยู่ในบ้านตลอดก็ตาม ร่วมกับการป้องกันในส่วนอื่นๆ เช่น การติดฟิล์มกรองแสงที่กระจก ทั้งนี้ ก็เพื่อปกป้องผิวไม่ให้เกิดริ้วรอย จุดด่างดำ และผิวแก่ก่อนวัยอันควร
- "ครีมกันแดด" จำเป็นแค่ไหนช่วงหน้าร้อน
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.