มวลกล้ามเนื้อ ตัวบ่งชี้สุขภาพดี เช็คได้แล้วผ่านช่องทางออนไลน์
มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรง .. ตัวบ่งชี้สุขภาพที่สำคัญ
จากงานวิจัยเผยว่า มวลกล้ามเนื้อถือเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพโดยรวมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, และพบว่าผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อยจะได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากกว่าผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมากขึ้น การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายถดถอยลง และอัตราการรอดชีวิตต่ำกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่ามวลกล้ามเนื้อที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ที่มากขึ้น
เพราะอะไร? เมื่อมีอายุมากขึ้นการดูแลกล้ามเนื้อให้แข็งแรงจึงทำได้ยากขึ้นไปด้วย
รู้หรือไม่ กว่า 35% ของผู้สูงอายุไทย หรือประมาณ 4 ล้านคน จาก 12.7 ล้านคนของผู้สูงอายุไทย เสี่ยงต่อการหกล้มในแต่ละปี1 จากผลวิจัยพบว่าเราจะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 40 ปี และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และอัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเข้าสู่วัย 70 ปีขึ้นไป
นอกจากนั้น 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ที่มีอายุกว่า 50 ปีขึ้นไป มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) คือสภาวะที่มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การเดิน การลุกจากเก้าอี้ การยกข้าวของ หรือการเดินขึ้นบันได้ เป็นต้น11,,
แอ็บบอต หนึ่งในผู้นำด้านการดูแลสุขภาพแถวหน้าระดับโลก ได้มุ่งมั่นในการส่งเสริมการดูแลกล้ามเนื้อแก่คนไทย ผ่านกิจกรรม #Sit2Stand ณ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2566 โดยมีผู้สูงอายุเข้าร่วมการทดสอบอายุมวลกล้ามเนื้อกว่า 700 คน โดยกว่า 50% ของผู้เข้าร่วมมีอายุกล้ามเนื้อสูงกว่าอายุจริงของตัวเอง!
หากใครที่กังวลเรามีขั้นตอนที่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
หมั่นทดสอบอายุกล้ามเนื้อของคุณ
สำหรับใครที่กังวลเกี่ยวกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สามารถทดสอบความแข็งแรงของอายุกล้ามเนื้อของตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วยการทดสอบลุกนั่ง 5 ครั้ง และใช้เครื่องคำนวณอายุกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่ช่วยประเมินอายุกล้ามเนื้อและทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้ แค่ 3 ขั้นตอน ผ่านเว็บไซต์ https://bit.ly/470Llvj
ขั้นตอนที่ 1: เลือกเก้าอี้ที่มีความมั่งคง โดยมีความสูงจากพื้นถึงที่นั่งราว 43-47 ซม.
ขั้นตอนที่ 2: เปิดกล้อง และหันหน้าเข้าหากล้อง
ขั้นตอนที่ 3: กอดอก และทำท่าลุกนั่งให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้จำนวน 5 ครั้ง
รับโภชนาการที่ดี ช่วยให้มวลกล้ามเนื้อแข็งแรง
โดยสารอาหารที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่
โปรตีน เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของเราก็ต้องการโปรตีนที่เพิ่มขึ้นไปด้วยเพื่อช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อรวมไปถึงการเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำว่าปริมาณโปรตีนที่ผู้สูงอายุควรได้รับ คือ 0.8 ถึง 1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 48 – 60 กรัม ต่อวัน เพื่อกล้ามเนื้อและร่างกายที่แข็งแรง โดยเนื้อสัตว์ ปลา ถั่วและธัญพืช รวมถึงโยเกิร์ต ก็เป็นตัวเลือกที่ดีในการเพิ่มโปรตีนให้กับร่างกาย
HMB เป็นสารอาหารสำคัญที่มาจากกรดอะมิโนลิวซีน พบได้ในกล้ามเนื้อและพบได้ในปริมาณเล็กน้อยในอาหาร เช่น ไข่ไก่ อกไก่ เนื้อวัว อะโวคาโด และกะหล่ำดอกปรุงสุก ซึ่ง HMB ได้รับการพิสูจน์ผ่านงานวิจัยแล้วว่ามีส่วนช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ
จากงานวิจัยพบว่าปริมาณ HMB ที่เหมาะสมที่เราควรได้รับคือ 1.5 กรัมต่อวัน ขณะที่งานวิจัยที่ศึกษาผลของการเสริมโภชนาการแก่ผู้สูงอายุในชุมชนประเทศสิงคโปร์ หรือ SHIELD Study โดยแอ๊บบอต ร่วมกับโรงพยาบาลชางงี เจเนอรัล (Changi General Hospital) และ ซิงเฮลท์โพลีคลินิค (Singhealth Polyclinic) พบว่า อาหารเสริมทางการแพทย์ที่มี HMB เป็นส่วนประกอบ มีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการที่ดี ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ช่วยให้แรงบีบมือเพิ่มขึ้น เส้นรอบวงน่องเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารได้ถึงเกือบสามเท่า และยังส่งเสริมสมรรถภาพทางกายภาพและสุขภาพโดยรวมอีกด้วย
หากแต่การที่จะได้รับ HMB 1.5 กรัม จากอาหารเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากเราอาจต้องบริโภคไข่ไก่มากถึง 50 ฟอง เนื้ออกไก่ 7 ชิ้น อะโวคาโดถึง 3,000 ลูก หรือกะหล่ำดอกปรุงสุกถึง 6,500 ถ้วย ดังนั้น นอกจากการรับประทานอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว เราควรเสริมมื้ออาหารด้วยอาหารสูตรครบถ้วนที่มี HMB
วิตามินซี สารอาหารที่มีประโยชน์ในการช่วยส่งเสริมการทำงานตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในการสร้างเส้นเอ็นที่ใช้ในการเชื่อมต่อกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก โดยพริกหยวกสีแดงและสีเขียว น้ำส้ม สตรอเบอร์รี่ และกะหล่ำดอกเป็นอาหารที่มีปริมาณวิตามินซีสูง
ซิงค์ หรือสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างเซลล์ใหม่ ซึ่งรวมถึงเซลล์ภูมิคุ้มกันและเซลล์กล้ามเนื้อ โดยร่างกายของคนเราจะสร้างเซลล์ใหม่ที่พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเสริมสร้างการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อด้วย โดยอาหารที่เป็นแหล่งแร่ธาตุดังกล่าว ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู อาหารทะเล อย่าง กุ้ง ปู หอยนางรม และเมล็ดฟักทอง เป็นต้น
เกี่ยวกับแอ๊บบอต
แอ๊บบอต เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการดูแลสุขภาพแถวหน้าระดับโลก ที่มีส่วนช่วยให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ในทุกช่วงอายุ ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ครอบคลุมทุกด้านเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมาใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของผู้คน โดยมีบริษัทชั้นนำในเครือและผลิตภัณฑ์มากมายในการวินิจฉัย อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ สารอาหารและยารักษาโรคที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เรามีผู้ร่วมทีมงานถึง 115,000 คน คอยให้บริการประชาชนในกว่า 160 ประเทศทั่วโลก
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.