Top 5 อาหารเกิด "เชื้อรา" ง่าย เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
เชื้อราบนอาหาร ฝันร้ายของคนรักการกิน ไม่มีอะไรทำลายความอยากอาหารได้รวดเร็วเท่ากับการเห็นเชื้อราบนอาหารที่เราหยิบขึ้นมากำลังจะกัด มันเป็นสีเข้ม ขนฟู ดูคล้ายแมลงแปลกประหลาดกำลังยึดครองมื้ออาหารของเรา ชวนขยะแขยงสุดๆ แม้มันจะไม่ใช่แมลง แต่เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกรา
“หัวใจสำคัญในการจัดการกับเชื้อราในครัวคือการระบายอากาศ” นาตาลี อลิบรันดี นักวิทยาศาสตร์อาหารที่ปรึกษาจาก Nali Consulting กล่าวเสริมว่า ความชื้น แสง และสภาพแวดล้อมที่อับอากาศ ล้วนส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบนอาหาร นอกจากนี้ เธอยังบอกอีกว่ามีอาหารบางชนิดที่เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราได้ง่าย อาหารเหล่านี้จำเป็นต้องเก็บรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นขยะหรือเศษอาหาร
5 อาหารที่เกิดเชื้อราได้ง่าย
1.ผลไม้และผักที่มีความชื้นสูง
“อาหารสดที่มีความชื้นสูง มักเกิดเชื้อราได้ง่าย” นาตาลี อธิบาย เนื่องจากผลไม้และผักหลายชนิดมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำ ทำให้พวกมันเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราเป็นพิเศษ ตัวอย่างของผู้ร้ายตัวฉกาจ ได้แก่ เบอร์รี่ มะเขือเทศ พีช พลัม และเห็ด
“เวลาเก็บผลไม้หรือผักประเภทนี้ สิ่งสำคัญคือต้องป้องกันไม่ให้อากาศไปสัมผัสกับความชื้น” นาตาลีแนะนำ ตัวอย่างเช่น สำหรับเบอร์รี่และเห็ด เธอแนะนำให้แกะออกจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกและกล่องกระดาษ แล้วใช้กระดาษทิชชูซับความชื้นออก จากนั้นให้ห่อด้วยกระดาษทิชช๔แห้งอีกที ก่อนใส่ภาชนะปิดสนิทเพื่อแช่เย็น กระดาษทิชชูจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันความชื้นไม่ให้เข้าไป ผลไม้และผักประเภทอื่นๆ ควรเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิทเช่นกัน เพื่อป้องกันทั้งอากาศและความชื้น
2.ขนมปัง
นาตาลีแนะนำว่าหากคุณต้องการปกป้องขนมปังจากเชื้อราจริงๆ ควรลงทุนซื้อกล่องใส่ขนมปัง เธออธิบายว่ากล่องจะช่วยป้องกันขนมปังจากแสงแดดและกระแสลมมากเกินไป ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดเชื้อรา “นอกจากนี้ กล่องยังช่วยรักษาเนื้อสัมผัสของขนมปัง ในขณะที่การเก็บขนมปังไว้ในตู้เย็นจะทำให้ขนมปังแห้ง”
นาตาลีบอกว่า “ถ้าขนมปังของคุณมีเชื้อราขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องทิ้งทั้งก้อน ตัดเฉพาะส่วนที่มีเชื้อราออก ส่วนที่เหลือยังสามารถรับประทานได้” แต่ทว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเผลอรับประทานขนมปังราเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ? โชคดีที่โอกาสเกิดอันตรายนั้นน้อยมากค่ะ
3.ชีส
เรื่องราของราบนชีสนั้นชวนสับสน “มีราบางชนิดที่ขึ้นบนชีส ถ้ากินเข้าไปอาจทำให้ปวดท้อง แต่ก็มีราอีกหลายชนิดที่ปลอดภัยต่อการบริโภค” นาตาลีกล่าว หากคุณเห็นราขึ้นบนชีสเนื้อแข็ง หรือชีสที่ถูกสับหรือหั่น ไม่ควรรับประทานส่วนนั้น “เหมือนกับขนมปัง ถึงแม้จะมีราขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องทิ้งทั้งก้อน” นาตาลีแนะนำ “ตัดเฉพาะส่วนที่มีเชื้อราออก ส่วนที่เหลือยังปลอดภัยต่อการกิน”
เช่นเดียวกับอาหารประเภทอื่นๆ นาตาลีบอกว่า เคล็ดลับในการป้องกันการเกิดราบนชีส คือการป้องกันจากทั้งอากาศและความชื้น ก่อนเก็บรักษาชีสไว้ในตู้เย็น ให้ห่อด้วยพลาสติก เพื่อยืดอายุการใช้งาน
4.อาหารเหลือ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เศษอาหารเหลือเริ่มมีเชื้อราขึ้น เนื่องจากอาหารยังไม่เย็นสนิทก่อนนำเข้าตู้เย็น หากอาหารยังคงมีไอระเหยออกมาขณะปิดฝาภาชนะ ไอน้ำที่ติดอยู่ภายในสามารถนำไปสู่การเกิดเชื้อราได้ “อาหารเหลือควรเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิทและแช่เย็น โดยตั้งอุณหภูมิของตู้เย็นไม่เกิน 4°C ” ซาแมนธา เคสเซ็ตตี้ นักโภชนศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวกับเวลล์แอนด์กู๊ด หากคุณไม่ได้วางแผนจะรับประทานอาหารเหลือภายในหนึ่งสัปดาห์ ควรเก็บไว้ในช่องแช็งแทน ซึ่งจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานเป็นเดือน แทนที่จะเป็นเพียงไม่กี่วัน
5.เครื่องปรุงรส
เครื่องปรุงรสหลายชนิดมักถูกเก็บไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานาน แต่นาตาลีเตือนว่าควรตรวจสอบว่ามีเชื้อราขึ้นหรือไม่ด้วยเช่นกัน “หลายคนมักมีนิสัยจุ่มซ้ำ ใช้มีดคันเดียวตักทั้งแยมและเนยถั่ว” เธอกล่าว อธิบายว่า พฤติกรรมนี้ไม่เพียงส่งผลต่อการปนเปื้อนไขว้ แต่ยังอาจทำให้แบคทีเรียแพร่กระจาย กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อราได้
เพื่อป้องกันปัญหานี้ ควรหลีกเลี่ยงการจุ่มซ้ำ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าปิดฝาขวดให้สนิทเมื่อไม่ได้ใช้งานเครื่องปรุงรส
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.