คำราชาศัพท์ คืออะไร รวมคำราชาศัพท์ที่เห็นและใช้บ่อย ทุกหมวดพร้อมคำแปล

คำราชาศัพท์ หมายถึง ภาษาหรือถ้อยคำที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนทั่วไป เพื่อแสดงความเคารพ และความสุภาพ เหมาะสมกับสถานะของบุคคล

คำราชาศัพท์ คืออะไร รวมคำราชาศัพท์ที่เห็นและใช้บ่อย ทุกหมวดพร้อมคำแปล

หมวดสรรพนาม

  • แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1) คำราชาศัพท์ ข้าพระพุทธเจ้า กระผม, ดิฉัน ใช้กับ พระมหากษัตริย์ ผู้ใหญ่, พระสงฆ์
  • แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2) คำราชาศัพท์ ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท ใช้กับ พระมหากษัตริย์, พระบรมราชินี, พระบรม
    ราชนนี, พระบรมโอสรสาธิราช, พระบรมราชกุมารี
  • แทนชื่อที่พูดด้วย คำราชาศัพท์ ฝ่าพระบาท ใช้กับ เจ้านายชั้นสูง
  • แทนชื่อที่พูดด้วย คำราชาศัพท์ พระคุณเจ้า ใช้กับ พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์
  • แทนชื่อที่พูดด้วย คำราชาศัพท์ พระคุณท่าน ใช้กับ พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
  • แทนชื่อที่พูดด้วย คำราชาศัพท์ พระเดชพระคุณ ใช้กับ เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ
  • แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) คำราชาศัพท์ พระองค์ ใช้กับ พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่
  • แทนผู้ที่พูดถึง คำราชาศัพท์ ท่าน ใช้กับ เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ

หมวดกริยา

  • พระราชดำรัส ความหมาย คำพูด
  • ตรัส ความหมาย พูดด้วย
  • เสด็จพระราชดำเนิน ความหมาย เดินทางไปที่ไกล ๆ
  • เสด็จลง ความหมาย เดินทางไปที่ใกล้ ๆ
  • ทรงพระราชนิพนธ์ ความหมาย แต่งหนังสือ
  • ทรงพระกาสะ ความหมาย ไอ
  • ทรงพระสรวล ความหมาย หัวเราะ
  • ทรงพระปรมาภิไธย ความหมาย ลงลายมือชื่อ
  • ทรงสัมผัสมือ ความหมาย จับมือ
  • ทรงพระเกษมสำราญ ความหมาย สุขสบาย
  • ทรงพระปินาสะ ความหมาย จาม
  • พระราชโองการ ความหมาย คำสั่ง
  • พระราโชวาท ความหมาย คำสั่งสอน
  • พระราชปฏิสันถาร ความหมาย ทักทาย
  • มีพระราชประสงค์ ความหมาย อยากได้
  • สรงพระพักตร์ ความหมาย ล้างหน้า
  • ชำระพระหัตถ์ ความหมาย ล้างมือ
  • พระราชปฏิสันถาร ความหมาย ทักทายปราศรัย
  • เสด็จประพาส ความหมาย ไปเที่ยว
  • พระราชปุจฉา ความหมาย ถาม
  • ถวายบังคม ความหมาย ไหว้
  • พระบรมราชวินิจฉัย ความหมาย ตัดสิน
  • ทอดพระเนตร ความหมาย ดู
  • พระราชทาน ความหมาย ให้
  • พระราชหัตถเลขา ความหมาย เขียนจดหมาย
  • ทรงเครื่อง ความหมาย แต่งตัว
  • ทรงพระอักษร ความหมาย เรียน เขียน อ่าน
  • ประทับ ความหมาย นั่ง
  • ทรงยืน ความหมาย ยืน
  • บรรทม ความหมาย นอน

หมวดร่างกาย

  • พระอุระ ความหมาย หน้าอก
  • พระทรวง ความหมาย หน้าอก
  • พระหทัย ความหมาย หัวใจ
  • พระกมล ความหมาย หัวใจ
  • พระอุทร ความหมาย ท้อง
  • พระนาภี ความหมาย สะดือ
  • พระกฤษฎี ความหมาย สะเอว
  • บั้นพระองค์ ความหมาย สะเอว
  • พระปรัศว์ ความหมาย สีข้าง
  • พระผาสุกะ ความหมาย ซี่โครง
  • พระเศียร ความหมาย ศีรษะ
  • พระนลาฏ ความหมาย หน้าผาก
  • พระขนง ความหมาย คิ้ว
  • พระภมู ความหมาย คิ้ว
  • พระเนตร ความหมาย ดวงตา
  • พระจักษุ ความหมาย ดวงตา
  • พระนาสิก ความหมาย จมูก
  • พระนาสา ความหมาย จมูก
  • พระปราง ความหมาย แก้ม
  • พระโอษฐ์ ความหมาย ปากริมฝีปาก
  • ต้นพระหนุ ความหมาย ขากรรไกร
  • พระกรรณ ความหมาย หูหรือใบหู
  • พระพักตร์ ความหมาย ดวงหน้า
  • พระศอ ความหมาย คอ
  • พระรากขวัญ ความหมาย ไหปลาร้า
  • พระอังสกุฏ ความหมาย จะงอยบ่า
  • พระกร ความหมาย แขน
  • พระกัประ ความหมาย ข้อศอก
  • พระกะโประ ความหมาย ข้อศอก
  • พระกัจฉะ ความหมาย รักแร้
  • พระหัตถ์ ความหมาย มือ
  • ข้อพระกร ความหมาย ข้อมือ
  • ข้อพระหัตถ์ ความหมาย ข้อมือ
  • พระปฤษฏางค์ ความหมาย หลัง
  • พระขนอง ความหมาย หลัง
  • พระโสณี ความหมาย ตะโพก
  • พระที่นั่ง ความหมาย ก้น
  • พระอูรุ ความหมาย ต้นขา
  • พระเพลา ความหมาย ขาหรือตัก
  • พระชานุ ความหมาย เข่า
  • พระชงฆ์ ความหมาย แข้ง
  • หลังพระชงฆ์ ความหมาย น่อง
  • พระบาท ความหมาย เท้า
  • ข้อพระบาท ความหมาย ข้อเท้า
  • พระปราษณี ความหมาย ส้นเท้า
  • ส้นพระบาท ความหมาย ส้นเท้า
  • พระฉวี ความหมาย ผิวหนัง
  • พระโลมา ความหมาย ขน
  • พระพักตร์ ความหมาย ใบหน้า
  • พระมังสา ความหมาย เนื้อ

หมวดเครื่องแต่งกาย

  • ฉลองพระองค์ ความหมาย เสื้อ, เสื้อผ้า
  • ฉลองพระองค์ เครื่องต้น ความหมาย เครื่องทรงในพระราชพิธี
  • พระสนับเพลา ความหมาย กางเกง
  • พระภูษา ความหมาย ผ้านุ่ง
  • ผ้าวงพระศอ, ผ้าพันพระศอ ความหมาย ผ้าพันคอ
  • พระภูษาไหม ความหมาย ผ้านุ่งไหม
  • พระภูษาโสร่ง ความหมาย ผ้าโสร่ง
  • พระภูษาสนับเพลา ความหมาย ผ้านุ่งทับกางเกง
  • พระโกโสยพัสตร์ ความหมาย ผ้าไหม
  • พระกัปปาสิกพัสตร์ ความหมาย ผ้าฝ้าย
  • พระอุทุมพรพัสตร์ ความหมาย ผ้าใยมะเดื่อ
  • พระรัตกัมพล ความหมาย ผ้าส่านแดง (ผ้าขนสัตว์สีแดง)
  • พระกัมพล ความหมาย ผ้าส่าน (ผ้าขนสัตว์)
  • ผ้าทรงสะพัก, ทรงสะพัก ความหมาย ผ้าห่ม, ผ้าสไบ
  • พระภูษาชุบสรง ความหมาย ผ้าอาบน้ำ, ผ้านุ่งอาบน้ำ
  • พระเวฐนะ ความหมาย ผ้าโพก, ผ้าพันหัว
  • ผ้าคลุมพระองค์ ความหมาย ผ้าห่ม
  • คลุมบรรทม ความหมาย ผ้าห่มนอน
  • ผ้าซับพระองค์ ความหมาย ผ้าเช็ดตัว
  • ผ้าซับพระพักตร์ ความหมาย ผ้าเช็ดหน้า
  • ถุงพระหัตถ์ ความหมาย ถุงมือ
  • ถุงพระบาท ความหมาย ถุงเท้า
  • ฉลองพระบาท ความหมาย รองเท้า
  • ผ้าเช็ดพระบาท ความหมาย ผ้าเช็ดเท้า
  • ลาดพระบาท ความหมาย พรมทางเดิน
  • สนับพระชงฆ์ ความหมาย สนับเข่า, สนับแข้ง
  • พระดุม ความหมาย กระดุม, ลูกดุม

หมวดเครื่องใช้

  • พระวิสูตร ความหมาย ม่านหรือมุ้ง
  • พระสูตร ความหมาย ม่านหรือมุ้ง
  • พระเขนย ความหมาย หมอน
  • พระทวาร ความหมาย ประตู
  • พระบัญชร ความหมาย หน้าต่าง
  • พระสุวรรณภิงคาร ความหมาย คนโทน้ำ
  • ฉลองพระหัตถ์ช้อน ความหมาย ช้อน
  • ฉลองพระหัตถ์ส้อม ความหมาย ส้อม
  • ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ความหมาย ตะเกียบ
  • แก้วน้ำเสวย ความหมาย แก้วน้ำ
  • พระสาง ความหมาย หวี
  • พระแสงกรรบิด ความหมาย มีดโกน
  • ซับพระองค์ ความหมาย ผ้าเช็ดตัว
  • ซับพระพักตร์ ความหมาย ผ้าเช็ดหน้า
  • ผ้าพันพระศอ ความหมาย ผ้าพันคอ
  • พระภูษา ความหมาย ผ้านุ่ง
  • นาฬิกาข้อพระหัตถ์ ความหมาย นาฬิกาข้อมือ
  • พระฉาย ความหมาย กระจกส่อง
  • ธารพระกร ความหมาย ไม้เท้า
  • พระแท่นบรรทม ความหมาย เตียงนอน
  • พระราชอาสน์ ความหมาย ที่นั่ง
  • โต๊ะทรงพระอักษร ความหมาย โต๊ะเขียนหนังสือ
  • พระราชหัตถเลขา ความหมาย จดหมาย
  • ฉลองพระเนตร ความหมาย แว่นตา
  • พระที่นั่งเก้าอี้ ความหมาย เก้าอี้นั่ง
  • เก้าอี้ประทับ ความหมาย เก้าอี้นั่ง
  • พระเขนย ความหมาย หมอนหนุน
  • เครื่องพระสุคนธ์ ความหมาย เครื่องหอม เช่น น้ำหอม แป้งผัดหน้า
  • เครื่องพระสำอาง ความหมาย เครื่องประทินผิวหรือเครื่องสำอาง
  • อ่างสรง ความหมาย อ่างอาบน้ำ
  • กระเป๋าทรง ความหมาย กระเป๋าถือ
  • พระแสงปนาค ความหมาย กรรไกร

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.