Social Addiction โรคติดสื่อสังคมออนไลน์ เสี่ยงก่อภาวะ ซึมเศร้า
ในปัจจุบันเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้น ในบางครั้งสมาร์ทโฟเปรียบเสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์เลยก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะ สมาร์ทโฟนสามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งนี้รวมถึงการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เช่น Facebook Twitter Instagram และ Instant messaging อื่น ๆ ด้วย
ร.อ.หญิง พญ.กานติ์ชนิต ผลประไพ จิตแพทย์ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า เดิมทีมนุษย์เป็นสัตว์สังคมซึ่งต้องการการยอมรับจากผู้คนรอบข้าง ดังนั้นการที่เราสามารถเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้ง่ายขึ้นมากในปัจจุบัน ทำให้มีความเสี่ยงในการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ได้ง่ายขึ้นมากตามไปด้วย โดยเราสามารถสังเกตตนเองว่ามีอาการของโรคติดสื่อสังคมออนไลน์นี้ได้จากลักษณะอาการหลายประการที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะพบ
ปัญหาการติด Social media และอาจก่อให้เกิดภาวะของโรคซึมเศร้า โรคเครียด วิตกกังวล สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้เนื่องจากการจดจ่ออยู่กับสมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียเป็นเวลานานตลอดวันจะทำให้มีเวลาในการพักผ่อนน้อยลง และเกิดการฝั่งตัวเองในโลกออนไลน์มากเกินไปจนตัดขาดจากผู้คนรอบข้าง ผู้ป่วยบางรายใช้ชีวิตในโลกสมมติมากกว่าโลกแห่งความเป็นจริงเสียอีก เริ่มต้นเช็กอาการกันได้ดังนี้
- อยู่กับโซเชียลมีเดีย มากกว่าที่ตั้งใจไว้
- ช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดีย มักจะมีอาการกระวนกระวายใจหรือหงุดหงิด
- หากเราพยายามที่จะควบคุมการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของตัวเองแต่ไม่สามารถควบคุมได้
- คิดถึงโซเชียลมีเดีย อยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม
- เวลาที่เครียดมักจะใช้โซเชียลมีเดียเพื่อคลายเครียด
- มีการโกหกหรือปิดบัง เพื่อที่จะได้เล่นโซเชียลมีเดีย
- โซเชียลมีเดียเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการทำงานหรือเกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด
ลักษณะอาการเหล่านี้ เป็นตัวชี้บอกได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์เริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ซึ่งตัวเราเองสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดสื่อสังคมออนไลน์ได้ในเบื้องต้น ได้แก่ พยายามจำกัดเวลาการใช้โซเชียลมีเดียให้ลดลงหรือกำหนดเวลาให้แน่ชัด โดยสามารถใช้การตั้งเตือนก่อนที่จะครบเวลาที่กำหนดช่วยด้วย และพยายามหากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น งานอดิเรกที่สนใจ การออกกำลังกาย การพบปะเพื่อนหรือญาติ การไปท่องเที่ยว การหากิจกรรมคลายความเครียด
ดังนั้นหากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการของ Social Addiction ดังกล่าวข้างต้น แล้วไม่สามารถจัดการกับตัวเองด้วยวิธีเบื้องต้นได้ ก็ควรนัดหมายเข้าพบจิตแพทย์เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาปัญหา Social addiction และโรคร่วมอื่น ๆ ทางจิตเวชต่อไป
- รู้จัก "โรคซึมเศร้า" มีอาการอย่างไร และวิธีการดูแล ฟื้นฟู จิตใจ
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.