5 เช็กลิสต์ คุณเข้าข่ายพฤติกรรมการกินผิดปกติหรือไม่
เริ่มกันเลยกับสำรวจตัวเอง เช็คลิสต์ 5 ข้อนี้ว่าเข้าข่ายโรค Eating Disorder พฤติกรรมการกินผิดปกติหรือไม่
1.คุณเคยทำให้ตัวเองอาเจียน ใช่หรือไม่
2.คุณมีความกังวลว่าตัวเองไม่สามารถควบคุมปริมาณอาหารที่ตัวเองกินได้ ใช่หรือไม่
3.คุณน้ำหนักลดไปมากกว่า 6 กิโลกรัม ใน 3 เดือน ใช่หรือไม่
4.คุณเชื่อว่าตัวเองอ้วน ทั้ง ๆ ที่คนอื่นบอกว่าคุณผอมเกินไป ใช่หรือไม่
5.คุณคิดว่าอาหารมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของคุณมากหรือมีความหมกมุ่นจนกระทั่งวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเพราะอาหาร ใช่หรือไม่
หากคำตอบตรงกับลิสต์ข้างต้นตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไปและหากมีอาการเหล่านี้ เช่น ไม่สามารถควบคุมปริมาณอาหารที่กินได้ หรือกินเท่าไหร่ก็อิ่ม บางทีหลังกินอาหารเสร็จแล้วมีอาการคลื่นไส้และวิ่งไปอาเจียน หรือ มีความกังวลว่าตนเองอ้วนจนออกกำลังกายอย่างหนักและมีความรู้สึกอยากผอมลงอาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่า อาจจะเข้าข่ายโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ หรือ Eating Disorder
กินมากกว่าปกติ กินน้อยกว่าปกติ
สัญญาณของโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ
โรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ (Eating Disorders) เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะจิตใจ เช่น ในกลุ่มที่กินน้อยกว่าปกติอาจมีค่านิยมเกี่ยวกับรูปร่างที่ผอมบาง และมีการอดอาหารที่ผิดวิธี ขณะเดียวกันในกลุ่มที่กินเยอะกว่าปกติอาจมีพฤติกรรมที่กินเยอะจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จึงส่งผลให้บางคนเกิดความกังวลมาก กลายเป็นโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ โรคนี้พบได้บ่อยแต่มักจะถูกมองข้าม ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
มาทำความรู้จัก 4 กลุ่มโรค พฤติกรรมการกินผิดปกติ หรือ Eating Disorder
- Anorexia nervosa เป็นกลุ่มที่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างมาก จนส่งผลต่อพฤติกรรมการกิน ทำให้กินน้อยลง นำไปสู่น้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
- Bulimia nervosa เป็นกลุ่มที่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างมาก แต่ก็ควบคุมให้ตัวเองหยุดกินไม่ได้ จึงมีช่วงเวลาที่กินอาหารปริมาณมากแบบควบคุมไม่อยู่ หลังจากนั้นก็เกิดความรู้สึกผิด และพยายามชดเชยในสิ่งที่กินเข้าไป โดยการทำให้ตัวเองอาเจียน หรือ ออกกำลังกายมากจนเกินไป
- Binge eating disorders เป็นกลุ่มที่ควบคุมให้ตัวเองหยุดกินไม่ได้ จึงมีช่วงเวลาที่กินอาหารปริมาณมากแบบควบคุมไม่อยู่
- Other eating disorders คือ โรคทางการกินซึ่งอยู่นอกเหนือโรคที่พบบ่อยข้างต้น
ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ ไม่ได้วิเคราะห์จากการกินมาก กินน้อย หรือ น้ำหนักตัว เพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ลึกถึงความคิด ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการกิน, รูปร่าง, ระยะเวลาที่เป็น, และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากสงสัยว่าตนเองเริ่มมีอาการที่มีลักษณะพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ ควรรีบมาพบจิตแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษา หากได้รับการรักษาเร็วก็จะมีโอกาสหายขาดได้ เพียงแค่สังเกตอาการของตัวเอง หรือ คนรอบข้าง ว่ามีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น มีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างมากจนส่งผลให้มีพฤติกรรมการกินน้อย รวมไปถึงการอดอาหารที่ผิดวิธี, ขณะที่บางคนมีพฤติกรรมหยุดกินไม่ได้ หรือ อยากอาหารมากผิดปกติและล้วงคออาเจียน
สำหรับการรักษาโรคพฤติกรรมการกินผิดปกติ จะเริ่มรักษาด้วยการบำบัดความคิด และพฤติกรรมการกิน โดยจะมี นักโภชนาการที่สามารถให้คำปรึกษาการกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ได้น้ำหนักที่เหมาะสม และการใช้ยาในบางกรณี อย่างไรก็ตามครอบครัว และเพื่อน มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาสูงขึ้น
นายแพทย์ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์
โรงพยาบาล BMHH - Bangkok Mental Health Hospital
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.