อันตรายของ “ชา” เสี่ยงไตวาย-มะเร็งลำไส้-กระดูกพรุน
ชา ไม่ว่าจะเป็นชาร้อน หรือชาเย็น ล้วนเป็นเครื่องดื่มที่หลายคนดื่มแทบจะทุกวัน และแทบจะขาดไม่ได้เช่นกัน แต่ทราบหรือไม่ว่าหากดื่มชาไม่ถูกวิธี หรือไม่มีความระมัดระวังในการดื่ม อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากมาย เพราะชาไม่ได้มีแค่คาเฟอีนอย่างเดียวเท่านั้น
ชา... ดีมีประโยชน์?
แน่นอนว่าในน้ำชามีสารอาหารดีๆ อยู่มากมายที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การดื่มที่ผิดวิธีทำให้เราไม่ได้รับสารอาหารจากชาอย่างที่ตั้งใจ เช่น
- การดื่มน้ำชาที่ร้อนจัด ความร้อนของน้ำจะทำลายสารคาเทคชินส์ (Catechins) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในการต้านมะเร็ง หรือชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายไปจนหมด
- การดื่มชาเขียวบรรจุขวด ที่ผ่านกระบวนการต้ม และฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ก่อนบรรจุขวด ทำให้สารอาหารสำคัญของชาถูกทำลาย หรือลดน้อยลงไปเช่นกัน
- การดื่มชาใส่นม ไม่ว่าจะเป็นชาร้อน หรือชาเย็น ก็ไม่สามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้เช่นกัน เพราะโปรตีนในนมจะเข้าไปจับกับสารสำคัญในชา และทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เรียกได้ว่าแทบไม่ได้ประโยชน์ใดๆ จากการดื่มชาใส่นมเลย
- ดื่มชาควบคู่ไปกับการทานวิตามินเสริม สาระสำคัญในชาจะตกตะกอนธาตุเหล็ก หรือเกลือแร่ไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
- ดื่มชาควบคู่ไปกับการทานอาหาร แร่ธาตุต่างๆ จากผักใบเขียว และผลไม้จะถูกสาระสำคัญจากชาจับไว้ ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเช่นเดียวกัน
- เด็กที่ดื่มชา จะถูกสาระสำคัญอย่างแทนนิน เข้าไปตกตะกอนโปรตีน และแร่ธาตุจากอาหารที่ทาน ไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงเสี่ยงภาวะขาดสารอาหารได้
- ในชายังมีปริมาณของฟลูออไรด์ที่ค่อนข้างสูง สูงกว่าในน้ำประปา หากดื่มชาเป็นประจำอาจเกิดการสะสมจนทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคไตวาย มะเร็งลำไส้ กระดูกพรุน โรคข้อ และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก รวมไปถึงกรดออกซาลิกที่อาจทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อโรคนิ่วในไตอีกด้วย
อ่านต่อ >> จริงหรือไม่? ชาเย็น ดื่มมากแล้วจะเป็นนิ่วในไต?
- สารออกซาเรทในชา หากมีการสะสมในร่างกายมากๆ อาจส่งผลอันตรายต่อไตได้
ดื่มชาอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ และหลีกเลี่ยงโทษต่างๆ
หากอยากดื่มชาให้ได้ประโยชน์ในเรื่องของวิตามินต่างๆ และสารคาเทคชินส์ที่ช่วยต้านมะเร็ง และลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัดจนเกินไป และควรดื่มในปริมาณที่น้อย แต่เข้มข้น เหมือนเดิมเอสเปรสโซ่ช็อตสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟ การดื่มชาเข้มข้นแบบที่ไม่เจือจาง จะทำให้เราได้รับคุณค่าทางสารอาหารจากชาเต็มๆ ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอื่นๆ ทั้งน้ำตาล และนม ควรชงชาจากใบชาเอง ไม่ดื่มชาไปพร้อมกับอาหาร หรือทานวิตามินเสริม ไม่ให้เด็กดื่มชา หรือให้ดื่มเพียงเล็กน้อย และไม่ควรดื่มชาในปริมาณมาก หรือติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคที่เกี่ยวกับไต และกระดูกได้
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.