“เอเวอร์แกรนด์” ล้มละลาย ไม่กระทบอสังหาฯ ไทย

บริษัท ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของประเทศจีน ประสบปัญหาหนี้สินอย่างหนักถึงขั้นผิดนัดชำระหนี้ในปี 2564 จนกลายเป็นวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ในจีน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 ส.ค.2566 เอเวอร์แกรนด์ ยื่นคำร้องขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลายในสหรัฐ หมวดที่ 15 เพื่อเปิดโอกาสให้ศาลล้มละลายของสหรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องในคดีล้มละลายที่ข้องเกี่ยวกับประเทศอื่นได้ โดยหมวดที่ 15 จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศาลสหรัฐ, ลูกหนี้ กับศาลของประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการล้มละลายข้ามประเทศ

โดย เอเวอร์แกรนด์ ประสบปัญหาอย่างหนักในการจ่ายหนี้เงินกู้ ที่พุ่งขึ้นแตะ 2.437 ล้านล้านหยวน ( ราว 11.69 ล้านล้านบาท) เมื่อสิ้นปี 2565 หรือคิดเป็น 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ประเทศจีน

ทำความรู้จัก “เอเวอร์แกรนด์” 

เอเวอร์แกรนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2539 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงในปี 2562 โครงสร้างธุรกิจหลักๆคือ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่มีการขยายไปในหลายธุรกิจ อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า, ธุรกิจอินเทอร์เน็ต, สื่อ, สโมสรฟุตบอล, ธุรกิจน้ำแร่ อาหาร

สำหรับที่มาของปัญหา เกิดจากการเร่งลงทุนเกินตัว (Over Investment) ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ D/E พุ่งสูง 205 เท่า

ลามอสังหาฯ จีน ไม่กระทบอสังหาฯ ไทย

บล.กรุงศรี พัฒนสิน ระบุว่า ปัญหา Evergrande เป็นปัญหาเฉพาะตัว การชำระหนี้เฉพาะ 93% ของทั้งหมด เจาะจงไปที่เจ้าหนี้หุ้นกู้และกองทรัสต์ ส่วนสัดส่วนเงินกู้จากธนาคารต่อหนี้สินรวมต่ำราว 7% 

ผลกระทบหลักอยู่ที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน โดยทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอนับตั้งแต่เกิดการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ในช่วง ธ.ค.2564 จนมาถึงช่วงปัจจุบัน

ฝ่ายวิจัย บล.กรุงศรี พัฒนสิน มองปัญหานี้จะไม่กระทบ Property ในไทย ประเมินบริษัท Property ในไทยไม่ได้ Aggressive  เร่งลงทุนตั้งแต่ปี 2561 หลังจากมีมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงสงครามการค้า และ Covid-19  ขณะที่ในด้านฐานะการเงิน บริษัท Property แข็งแกร่ง เห็นได้จาก Net Gearing งวดไตรมาส2/2566 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1 เท่า เทียบกับปี 2540 สูงถึง 10 เท่า

อย่างไรก็ตาม คาดมาตรการจากรัฐบาลจีนที่ได้คุมเข้มบริษัท Property มาถึงปลายทางแล้ว และจะเริ่มผ่อนคลายลงโดยเริ่มเห็น Stimulus จากส่วนปกครองแต่ละท้องถิ่นเหมือนเขตฉงชิ่งที่ได้เริ่มดำเนินการไปในช่วงก่อนหน้าตามแนวนโยบายของรัฐบาลจีน คือ ยกเลิกการซื้อบ้านใหม่และต้องถือครอง 3 ปีก่อนขาย และสนับสนุนเงินให้กับครอบครัวใหญ่ (ลูกมากกว่า 2 คนขึ้นไป) ซื้ออสังหาฯ และลดภาษีที่เกี่ยวข้อง โดยหลังจากนี้คาดจะเริ่มมาตรการดังกล่าวทยอยปรับใช้ในเมืองอื่นๆ

สำหรับมุมมองต่อภาคอสังหาจีน ฝ่ายวิจัยมองภาพรวม Downside จำกัด แต่หากจะฟื้นตัวจนถึงระดับที่มีผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจเอเชียได้จะต้องมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาโดยตรงมากกว่านี้ ซึ่งยังไม่เห็นสัญญานดังกล่าว 

ในขณะที่ภาพรวมบริษัท เชื่อว่าบริษัทส่วนใหญ่ยังมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยจากการประเมินความเสี่ยงของ Bloomberg Credit Risk Model พบว่าเป็นระดับ Investment Grade และ High Yield ไม่เกิน (HY4) เกือบทั้งหมด (เลขยิ่งสูงยิ่งสะท้อนความเสี่ยงสูง) มีเป็นระดับ Default เพียงแค่ Country Garden เท่านั้น

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.