โผหุ้น "ได้-เสีย" กนง. ขึ้น รึ คงดอกเบี้ย? เช็คสถานะ BANK แกร่ง

เช็คสถานะแบงก์

     ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟินันเซียไซรัส ระบุว่า กลุ่มธนาคาร ยอดสินเชื่อสุทธิ เดือน ส.ค.2566 ที่ 10.84 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.78% m-m แต่ ลดลง -0.74% y-y และเพิ่มขึ้น +0.24% YTD ธนาคารส่วนมากรายงานการเติบโตของสินเชื่อเป็นบวกในเดือน ส.ค. ยกเว้น KBANK ฝ่ายวิเคราะห์คาดกำไรก่อนสำรอง (PPOP) ในไตรมาส 3/66 โตดีต่อเนื่อง จาก NIM ที่จะปรับขึ้น 

     ขณะที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะเกิดขึ้นน่าจะช่วยหนุน NIM อย่างต่อเนื่องในไตรมาส 4/66 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฤดูสินเชื่อกำลังจะมาถึง โดยเฉพาะ BBL คาด PPOP ไตรมาส 3/66 แข็งแกร่ง จาก NIM ที่ปรับขึ้นหลังปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เมื่อสิ้น ไตรมาส 2/66 

     อย่างไรก็ตาม คุณภาพสินทรัพย์ของกลุ่มธนาคารที่ตกต่ำจะขัดขวางการเพิ่มระดับ การประเมินมูลค่าในระยะสั้น ฝ่ายวิเคราะห์คงให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด Top picks คือ หุ้น BBL และ KTB

     โดยแนะนำ "ซื้อ" หุ้น BBL ราคาเป้าหมาย 197 บาท ฝ่ายวิเคราะห์คาดกำไรในไตรมาส 3/66 เติบโตแกร่ง y-y จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างมีเสถียรถภาพ และสินเชื่อที่คาดเร่งตัวขึ้น ขณะที่คุณภาพหนี้ดูแข็งแรงที่สุดในกลุ่ม

     นอกจากนี้คาดว่ายังได้แรงหนุนจากการเติบโตของธุรกิจในต่างประเทศระยะยาว ฝ่ายวิเคราะห์คาดกำไรปี 66-67 เพิ่มขึ้น 29% y-y และ เพิ่มขึ้น 8% y-y หาก กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมสัปดาห์นี้จะเป็นอีกหนึ่ง Sentiment บวก มองแนวรับ 165-164 บาท แนวต้าน 170 , 175 บาท

จับตาประชุม กนง.

     ฝ่ายวิเคราะห์ บล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ระบุว่า สัปดาห์นี้ติดตามการประชุม กนง. หากมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลง โดยเฉพาะระยะเวลา 2 ปี ที่เป็นเครื่องมือสะท้อนอัตราดอกเบี้ยไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 2.57% สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่ 2.25% 

     ทั้งนี้ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินปัจจัยดังกล่าวเป็น sentiment เชิงบวกต่อกลุ่มลีสซิ่ง เช่น MTC, SAWAD, TIDLOR และคาดจะส่งผลให้ค่าเงินบาทอยู่ในโซนอ่อนค่าต่อไป ซึ่งจะเป็นบวกต่อกลุ่มส่งออกและท่องเที่ยว เช่น AH, TU, BH, CPALL, CPN, CRC

ขึ้นดอกเบี้ย ดีต่อ BBL

     ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปัจจุบันยังมีเสถียรภาพ และอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว บวกกับมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนหลักๆ จากภาคการบริโภค และการท่องเที่ยว ทำให้การประชุม กนง. ในวันที่ 27 ก.ย. นี้ Consensus ประเมินว่ามีโอกาสที่จะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ 2.5%

     ล่าสุด Bloomberg Consensus คาดมีโอกาสที่ กนง. จะขยับดอกเบี้ยขึ้น 0.25% โดยล่าสุด Bond Yield 1 ปี ของไทยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.4228% สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย ณ ปัจจุบันที่ 2.25% จากประเด็นดังกล่าวอาจจูงใจให้นักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น อีกทั้งจะกดดันให้ Market Earning Yield Gap (MEYG) ของตลาดหุ้นไทยแคบลง

     ซึ่งหากเป็นไปตามคาดเชื่อว่าจะเป็นอานิสงค์เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่ม Bank  ทั้ง BBL, KTB, KBANK, SCB โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "BBL" ให้ราคาเป้าหมาย 191 บาท ประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 3/66 ขยายตัว QoQ หนุนด้วย NII ตามวัฎจักรดอกเบี้ยและการลดเงินฝากออมทรัพย์ รวมถึง OPEX ต่ำลงตามฤดูกาล (เร่งตัวอีกครั้งในไตรมาส 4 ตามฤดูกาล) และทิศทาง Credit cost ต่ำลง จาก Coverage ratio ที่อยู่ในระดับสูง

 

แทง "ขึ้น" ดบ. อีกเสียง

     ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย) ระบุว่า คาด กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50% ท่ามกลางความเสี่ยงทางด้านเงินเฟ้อ ทั้งจากฝั่งอุปทานตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และฝั่งอุปสงค์ที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งนี้การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนแก่ภาคธุรกิจ รวมถึงการบริโภค

     ในทางกลับกัน การปรับขึ้นดอกเบี้ยคาดช่วยหนุนให้ค่าเงินบาทชะลอการอ่อนค่าและอาจเป็นแรงหนุนต่อ Fund Flow รวมทั้งคาด SET Index ได้แรงหนุนจากการรายงานตัวเลขส่งออกเดือน ส.ค. ที่มีแนวโน้มติดลบน้อยลง สอดรับกับการอ่อนค่าของสกุลเงินท้องถิ่น ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยคาดพักตัวแรง แต่ไม่หลุด Low กรอบ 1505 - 1535 จุด

สินเชื่อกลับมาโต แต่กำไรลด

     ทั้งนี้ฝ่ายวิเคราะห์คาดสินเชื่อในไตรมาส 3/66 ของ "KTB" กลับมาเติบโตและทำให้กำไรยังเพิ่มสูงขึ้นได้ y-y แต่ q-q คาดกำไรจะลดลงจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยค่าใช้จ่ายและการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นสินเชื่อที่เติบโตคาดว่ามาจากสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อภาครัฐเมื่อรวมกับต้นทุนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอาจจะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยหดตัวลงคงประมาณการและราคาพื้นฐาน แนะนำ "ทยอยซื้อ" ราคาพื้นฐาน 20.50 บาท

     ฝ่ายคาดไตรมาส 3/66 กำไรเพิ่มขึ้น 6.1% y-y แต่ลดลง 11.7% q-q คาด KTB จะมีกำไรในไตรมาส 3/66 ที่ 9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.1% y-y จากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้นเงินกู้ถึงแม้จะคาดว่าค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยค่าใช้จ่ายและการตั้งสำรองจะเพิ่มสูงขึ้นก็ตามแต่คาดว่าจะลดลง 11.7% q-q จากค่าใช้จ่ายและการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นถึงแม้จะยังคาดรายได้ดอกเบี้ยจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อก็ตาม

     สินเชื่อกลับมาเติบโตแต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอาจลดลง ในเดือน ส.ค. KTB เป็นธนาคารที่มีสินเชื่อเติบโตสูงที่สุดในกลุ่มโดยเพิ่มขึ้น 1.6% m-m และทำให้สินเชื่อกลับมาเติบโตได้ 0.03% ytd และคาดว่าในไตรมาส 3/66 สินเชื่อจะเติบโตได้ประมาณ 0.7% ytd 

     อย่างไรก็ตามคาดว่าสินเชื่อที่เติบโตขึ้นนี้จะมาจากสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อภาครัฐเป็นหลักซึ่งเมื่อรวมกับต้นทุนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วอาจจะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของ KTB ในไตรมาส 3/66 ลดต่ำลง

 

ชี้เป้า "ขึ้น ดบ." 

     ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า การประชุม กนง. ของไทยในวันที่ 27 ก.ย.66 ฝ่ายฯยังคงให้น้ำหนักว่าคณะกรรมการจะมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องอีกครั้งที่ระดับ 0.25% สู่ระดับ 2.50% แม้ว่าในรอบนี้ กนง.จะมีการปรับลดคาดการณ์ GDP ในส่วนของปีนี้ลงก็ตาม จากสาเหตุสำคัญต่อไปนี้

     1) แรงกดดันเงินเฟ้อที่มีโอกาสวกกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงไตรมาส 4 จากระดับราคาพลังงานที่สูงขึ้น ไม่นับรวมกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่อาจส่งผลมายังต้นทุนของผู้ประกอบการที่สูงขึ้นในช่วงถัดไป

     2) แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงถัดไปที่น่าจะเริ่มเห็นแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคและมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ

     3) ท่าทีของธนาคารกลางขนาดใหญ่อย่าง Fed ที่ล่าสุดส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยยังไม่สิ้นสุด

     4) เงินบาทที่ยังคงอ่อนแรงต่อเนื่อง จากการไหลออกของ Fund flow และการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นของดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด

     ส่วนกลุ่ม BANK เองนั้น มองว่าการส่งผ่านของดอกเบี้ยนโยบายในช่วงหลังเริ่มไม่เป็นที่เด่นชัดแล้ว สะท้อนจากการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายรอบล่าสุดเมื่อต้นเดือนส.ค.ที่ไม่เห็นธนาคารพาณิชย์ต่างๆปรับขึ้นดอกเบี้ยตามมาแล้ว ทำให้เราไม่ได้ประเมินเป็นมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มนี้มากนัก หากต้องการเก็งกำไรจริงมองไปยังกลุ่มประกันในบ้านเรามากกว่า ที่จะได้ประโยชน์อย่างชัดเจนจากโอกาสผลตอบแทนการลงทุนที่สูงขึ้น และการตั้งสำรองเบี้ยที่น้อยลงเป็นต้น อาทิ BLA, TLI

     อย่างไรก็ดี ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินผลกระทบต่อหุ้นไทยเช่นเดิมว่า การขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% จะทำให้เกิดปรากฎการณ์ PE contraction อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ระดับดัชนีที่เหมาะสมของเราในแต่ละกรณีถูกปรับลดทอนลงจากเดิมอีกราว 40 จุด โดยกรณีดีสุดจะได้ระดับดัชนี SET เหมาะสมใหม่ที่ 1515 จุดเท่านั้น

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.