"เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข" โชว์ Road map พัฒนาท่าเรือไทย สู่ระดับโลก

3 พ.ย. 2567 เวลา 14.00 น. ที่ งาน Sustainability forum 2025 จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ขึ้นกล่าวบรรยายในหัวข้อ The Green Port: Efficiency of the Future โดย กล่าวว่า ในปี 2593 หรือในอีก 26 ปี การท่าเรือแห่งประเทศไทยวางแผนการเตรียมตัวในแง่ของการที่จะพัฒนาในเรื่องของความยั่งยืนโดยเฉพาะการเป็นท่าเรือสีเขียว

 

 

ซึ่งท่าเรือถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจ การท่าเรือประเทศไทยมีเป้าหมายชัดเจน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเป็นหลัก เนื่องจากท่าเรือแหลมฉบัง คือท่าเรือที่คอยสนับสนุนอุตสาหกรรม ควรค่าแก่การพัฒนาเป็น port city หรือ industry port การขนส่งที่ท่าเรือแหลมฉบังเนี่ยมันจะมี Scale การขนส่งค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นจึงวางการออกแบบเป็นการเชื่อมภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เพื่อที่เชื่อมโยงการขนส่งทั้งหมด ทั้งการทางถนน การขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางชายฝั่ง โดยการสนับสนุนการขนส่งทุกหน่วย จะช่วย support กัน เพื่อที่จะเสริมสร้างให้ประเทศไทยให้มีเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ขึ้น และช่วยให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน

 

 

โดย นายเกรียงไกร ได้ แสดง Road map towards 2050 carbon natural port หรือ แผนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ให้กลายเป็นท่าเรือระดับโลก โดยคาดว่า แผนการพัฒนาดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปี 2593 ภายใต้นโยบายหลัก 3 ข้อ คือ

 

1.green pork initiative

พัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

2.Low carbon transport

เปลี่ยนระบบการขนส่งเป็นยานพาหนะไฟฟ้า

 

3.Zero emission terminal

พัฒนาท่าเรือบางแห่งให้เป็นเขตปลอดการปล่อยคาร์บอน

นายเกรียงไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนการสร้างท่าเรือแหลมฉบัง มีการแบ่งเป็น 3 เฟส ประกอบด้วย

 

เฟส 1 ท่าเรือในกลุ่ม A B โดยท่าเรือ A ทั้งหมดก็จะเป็นตั้งแต่เริ่มต้นเราก็จะมีท่าเรือที่ดั้งเดิมเป็นท่าเรือที่พื้นที่ค่อนข้างมาก สามารถรองรับได้ ทั้งการขนส่งสินค้าที่เป็นเบา การขนส่งตู้สินค้า หรือแม้แต่เป็นท่าเรือท่องเที่ยว ก็สามารถเป็นท่าเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับคนจำนวน 4,000-6,000 คน ขึ้นเรือท่องเที่ยวมาเมืองไทยก็สามารถเดินทางด้วยเรือได้ การขนส่งไม่เพียงแต่ขนส่งเฉพาะตู้สินค้า แต่การขนส่งประเภทรถยนต์ในวันนี้ประเทศไทยถือว่าเป็นhupแห่งหนึ่งของโลกในการขนส่งที่มาเปลี่ยนถ่ายรถยนต์ที่เมืองไทย

 

ท่าเรือ B เนี่ยเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญเรื่องการขนส่งตู้สินค้าที่ดีมากเพราะมีผู้ประกอบการสายเรือทั่วโลกมาอยู่ที่นี่ ไม่ว่าจะกลุ่มของดูไบ DP world กลุ่มของสิงคโปร์ psa กลุ่มของไต้หวัน evergreen รวมทั้งกลุ่มจีนต่างๆที่มาเข้าผ่านทางท่าเรือต่างๆ ซึ่งแปลว่าที้งRoot นำความสำคัญมาให้กับประเทศ

 

เฟส 2 ท่าเรือในกลุ่ม C และ D เป็นกลุ่มของท่าเรือฮัทชิสัน ที่นำเทคโนโลยีใหม่ๆเนี่ยเข้ามาปรับปรุงต่างๆเพื่อเพิ่มกระบวนการในการที่จะขีดความสามารถในประเทศไทยโดยเฉพาะในวันนี้เรือขนาดใหญ่ 20,000 กว่าตู้ความยาวร่วม 400 เมตร มาจอดที่ท่าเรือแหลมฉบังเราได้มีการขนส่งตู้สินค้าเนี่ยจำนวนมากนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เมื่อโครงสร้างพื้นฐานซึ่งท่าเรือ D1 พึ่งเสร็จ D2 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 ส่วน D3 คาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2569 และขีดความสามารถเราจะมีมากยิ่งขึ้น  เชื่อว่าท่าเรือแหลมฉบังที่จะลดตั๋ว ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้ระบบอัตโนมัติ โดยเฉพาะการส่งเสริมท่าเทียบเรือที่เราให้สัญญาสัมปทานให้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาขับเคลื่อนเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล

ส่วน เฟสที่ 3 อยู่ในขั้นตอนการถมทะเลบนพื้นที่ 2,800 ไร่เศษ ซึ่งถือว่าเป็นการถมที่ใหญ่ที่สุดและเป็นการถมที่จะทำให้จากแหลมฉบังสามารถมองเห็นพัทยาอยู่ในระยะใกล้ได้ ซึ่งเดิมเรามีพื้นที่อยู่ 8,800 ไร่เศษ และก็ถมเพิ่มอีก 2,700 ไร่ รวมหลังจากการผมเสร็จ 11,500 ไร่ วันนี้เราดำเนินการถมไปแล้วเกินครึ่งทาง ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เป็นหนึ่งเป็น fash ship ของประเทศไทยซึ่งเมื่อสร้างเสร็จ อัตราความเร่งในการที่ดำเนินการจะมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเมื่อสร้างเสร็จจะมีการขนส่งตู้สินค้าเพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบัน 11 ล้านตู้ เพิ่มมาอีห7 ล้านตู้เป็น 18 ล้านตู้

 

 

 

ต่อมา เรื่องการพัฒนาที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ในส่วนของกรุงเทพฯ ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 2,353 ไร่ การพัฒนาจะแบ่งเป็นกลุ่ม 2 ส่วน คือ

1. คือการที่จะทำให้เป็นmodern port citi เพื่อให้เป็น citi port ของเมืองไทยอย่างสมบูรณ์ โดยมีการสนับสนุนจาก 4 ภาคธุรกิจบริการ รวมถึงอย่าง cruise terminal เพื่อที่จะนำพานักท่องเที่ยวเข้าสู่กรุ่งเทพมหานคร สนับสนุนเรื่องระบบการขนส่งสินค้าและสร้างความเจริญให้เมืองหลวงของกรุงเทพมหานครเรานะครับเราจะมีการพัฒนาเรื่อง terminal 3 ที่จะทำให้เป็นท่าเรือทันสมัยท่าเรือสมัยใหม่นะครับที่จะลดทรายแล้วก็นำมาซึ่ง productivity ที่เพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการที่เราจะทำงานร่วมกับการพัฒนาชุมชนเพราะบุคลากรที่สำคัญต่อการพัฒนาเรื่อง modernfore city และภาคการขนส่งภาคธุรกิจบริการ

 

 

ซึ่งแผนงานที่เราจะพัฒนาให้ถ้าเป็นท่าเรืออัตโนมัติในเรื่องของการวางกรอบเกณฑ์ในเรื่องของการสร้างนะครับกระบวนการในการขนส่งนะครับให้ครบทุกหลากหลายรูปแบบที่พัฒนาท่าเรือที่ทันสมัยเพื่อให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษนะครับของเมืองไทยในการสนับสนุนภาคโลจิสติกส์ภาคธุรกิจบริการควบคู่กัน และบริหารจัดการพื้นที่ทั้งหมดให้มีประสิทธิภาพเลยหวังว่าจะพัฒนาท่าเรือทั้งสองให้เป็นท่าเรือสีเขียว ที่เป็นทั้ง Smart port และGreen port ทั้งระบบและทำงานร่วมกันทั้งภาคนโยบาย และชุมชนสังคมตามหลัก BCG model

 

 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.