ชี้ไทยวิกฤตพลังงาน แนะหาแหล่งก๊าซใหม่ เร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา
ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมและพลังงานแห่งประเทศไทย กล่าวในสัมมนา พลังงานราคาถูก.. ทางรอดเศรษฐกิจไทย ที่จัดขึ้นโดย “ฐานเศรษฐกิจ” ช่วง Panel Discussion: ทางรอด พลังงานไทย ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ว่าการใช้กรอบบันทึกความเข้าใจ (MoU) ปี 2544 ในการเจรจาเขตพื้นที่ทับซ้อนไหล่ทวีประหว่างไทยและกัมพูชา หรือพื้นที่ OCA มีความสำคัญที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสถานการณ์พลังงานของไทยอยู่ในภาวะวิกฤตพลังงาน เพราะปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีการค้นพบแหล่งก๊าซใหม่มาตั้งแต่ปี 2548
ขณะที่ปริมาณก๊าซจากแหล่งในประเทศและแหล่งนำเข้าจากพม่าและเขตพัฒนาร่วม (JDA) ก็ลดลงอย่างน่ากังวล ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มากขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟฟ้าของประชาชนและภาระงบประมาณของรัฐ
นอกจากนี้ รายได้จากการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมยังลดลง กระทบต่อเศรษฐกิจจริง (real sector) และบริษัทผู้รับสัมปทานหลายแห่งเริ่มชะลอการลงทุนหรือลดการจ้างงาน
บทสรุปความจำเป็นในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อจัดหาแหล่งก๊าซฯในไทย
- ปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเข้าขั้นวิกฤติ
- ไม่มีการพบหรือผลิตแหล่งก๊าซใหม่มาตั้งแต่ปี2548 ก๊าซจากพม่าและ JDA ส่งมาได้น้อยลง
- ต้องนำเข้าก๊าซ LNG จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทบค่าไฟ
- การจัดเก็บรายได้จากการผลิตปิโตรเลียมในประเทศลดน้อยลง กระทบงบประมาณแผ่นดิน
- บริษัทผู้รับสัมปทานเริ่มชะลอการลงทุน ลดการจ้างงาน ถอนตัวไปลงทุนที่อื่น กระทบ Real Sector
ดร.คุรุจิต กล่าวต่อไปว่า การเจรจาพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาภายใต้กรอบ MOU ปี 2544 เป็นทางออกที่สำคัญ โดยไทยควรสนับสนุนกรอบการเจรจาดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของชาติ และการดำเนินการภายใต้ MOU จะไม่กระทบต่ออธิปไตยของประเทศ
นอกจากนี้ดร.คุรุจิตยังได้เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างการนำเข้า LNG กับราคาก๊าซที่ผลิตจากอ่าวไทย โดยชี้ให้เห็นว่าก๊าซจากท่อในอ่าวไทยมีราคาถูกกว่าก๊าซ LNG ที่นำเข้า ทั้งยังเน้นว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม เช่น ท่อส่งก๊าซในอ่าวไทยที่มีความสามารถในการส่งก๊าซถึง 3,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ปัจจุบันใช้งานเพียง 65% หากเพิ่มปริมาณการใช้ก๊าซผ่านท่อ จะช่วยลดค่าบริการผ่านท่อและทำให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับขั้นตอนที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชา (TC-OCA) นั้นต้องเจรจากำหนดเส้นแบ่งเขตทางทะเล ระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่ OCA ส่วนบน (เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ)
นอกจากนี้ยังกำหนดขอบเขตพื้นที่พัฒนาร่วม: และวางหลักการแบ่งปันค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมที่อาจพบในพื้นที่ OCA ส่วนล่าง เพื่อนำไปสู่ข้อตกลง JDA (Joint Development Area)
ก่อนหน้านี้ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน “คุรุจิต นาครทรรพ“ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในนโยบายด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เคยแนะนำให้รัฐบาลเร่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางด้านเทคนิค หรือ Thai-Cambodia joint technical committee (JTC) เพื่อเดินหน้าเจรจากับรัฐบาลกัมพูชา ภายใต้กรอบ MOU 2544 ชี้ประเทศรอไม่ได้ เหตุปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะลดลงภายใน 15 ปี ระบุการพึ่งพา LNG นำเข้า จะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น และประเทศจะสูญเสียการเก็บรายได้จากค่าภาคหลวงและภาษีจากการเปิดสำรวจปิโตรเลียมแหล่ง OCA ประเมินเร็วสุด ทั้งการเจรจาและการสำรวจและผลิตจะต้องใช้เวลากว่า 8 ปี จึงจะนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้
Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.