55 ปี กฟผ. ย้อนภารกิจต่อสู้วิกฤตราคาพลังงาน นำความเชี่ยวชาญเสริมแกร่งเอกชน

ย้อนไปเมื่อ 55 ปี ที่ผ่านมา ภารกิจอันสำคัญยิ่งนับตั้งแต่การไฟฟ้ายันฮี การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ และการลิกไนท์ รวมกันเป็น “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 คือ บทบาท “ผู้ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ” โดยเร่งรัดพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาค ผสมผสานทั้งไฟฟ้าพลังน้ำ และพลังความร้อน ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยกำลังการผลิตติดตั้งเริ่มต้นเพียง 908 เมกะวัตต์ จวบจนปัจจุบัน กฟผ. มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 16,261 เมกะวัตต์ คิดเป็น 32.75% ของกำลังผลิตตามสัญญาทั้งหมดของประเทศ 

และพัฒนาโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าเชื่อมโยงทั่วถึงทั้งประเทศกว่า 39,000 วงจร-กิโลเมตร และสถานีไฟฟ้าแรงสูงรวม 237 สถานี พร้อมปูทางมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคตและรองรับการพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

สู้วิกฤตพลังงาน รับภาระค่าเชื้อเพลิงบางส่วนแทนประชาชน

ทุกครั้งที่ประเทศไทยต้องเผชิญวิกฤตนับตั้งแต่หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กฟผ. ถือเป็นหนึ่งกลไกสำคัญของรัฐที่ช่วยบรรเทาวิกฤตและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่วิกฤตราคาน้ำมันในปี 2516 และ 2522 กฟผ. จึงเสาะแสวงหาแหล่งพลังงานอื่น ๆ และเป็นผู้นำในการเจรจาขอรับซื้อก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบในอ่าวไทยเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในยุคต่อมา

เช่นเดียวกับในช่วงปี 2565 ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตราคาพลังงานจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน กฟผ. ได้ร่วมฝ่าฟันวิกฤตพลังงานนำเชื้อเพลิงต้นทุนต่ำมาผลิตไฟฟ้า โดยปรับปรุงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4 ที่ปลดออกจากระบบเมื่อปี 2562 ให้กลับมาเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้อีกครั้ง รวมทั้งเลื่อนการปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 ออกไป เพื่อลดการนำเข้าเชื้อเพลิง LNG ราคาแพงจากต่างประเทศ และรับภาระค่าเชื้อเพลิงบางส่วนแทนประชาชนไปก่อนตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน

นอกจากนี้ กฟผ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เป็นกลไกดำเนินธุรกิจแทนรัฐ โดยนำส่งกำไรเป็นรายได้ของรัฐเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ และรักษาเสถียรภาพด้านการเงินการคลังของประเทศ รวมถึงสนองนโยบายต่าง ๆ ของรัฐ อาทิ การเป็นผู้นำเข้า LNG รายที่ 2 ของประเทศ เพื่อลดต้นทุนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าตามนโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนการร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงทุนโครงการ LNG Receiving Terminal หนองแฟบ จ.ระยอง เพื่อช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงาน และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย LNG ในภูมิภาคอาเซียน 

เส้นทางแห่งความเชี่ยวชาญ สู่การเสริมแกร่งธุรกิจพลังงาน 

เมื่อโครงสร้างระบบไฟฟ้าของประเทศปรับเปลี่ยน ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเข้ามามีบทบาทในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ กฟผ. จะนำความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน ทั้งงานเดินเครื่องและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) โรงไฟฟ้าหลากหลายประเภทมาช่วยพัฒนาและเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับโรงไฟฟ้าพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าเอกชนในประเทศและต่างประเทศ ผ่านงานบริการ O&M เพื่อให้ทุก ๆ โรงไฟฟ้าผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเดินเครื่องได้ต่อเนื่อง ทำให้ระบบไฟฟ้าของประเทศมีความมั่นคง เพียงพอ และมีเสถียรภาพมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กับภาคธุรกิจ ทำให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นับจากนี้ กฟผ.ยังคงยึดมั่นทำหน้าที่ “ผู้ดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ” อย่างต่อเนื่อง 

Tuyên bố từ chối trách nhiệm: Bản quyền của bài viết này thuộc về tác giả gốc. Việc đăng lại bài viết này chỉ nhằm mục đích truyền tải thông tin và không cấu thành bất kỳ lời khuyên đầu tư nào. Nếu có bất kỳ hành vi vi phạm nào, vui lòng liên hệ với chúng tôi ngay lập tức. Chúng tôi sẽ sửa đổi hoặc xóa bài viết. Cảm ơn bạn.